ปฏิเสธไม่ได้ว่า หนึ่งในผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ คือ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ทั้งนี้ สุกัญญา ตรีเสน่ห์จิต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร บริหารความสัมพันธ์ลูกค้าเอสเอ็มอี ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) เปิดเผยถึงความสำคัญของเอสเอ็มอีไทยที่มีมากถึง 3 ล้านราย หรือกว่า 99% ของผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศว่า เอสเอ็มอี สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งผลต่อ GDP ของประเทศถึง 42% ทำให้เกิดการจ้างงานในระบบเศรษฐกิจถึง 13 ล้านคน ทว่า ช่วงวิกฤติโควิด-19 เกือบ 2 ปี ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีต่างได้รับผลกระทบอย่างมาก ต้องปรับตัวรับมือกับการเปลี่ยนแปลงในทุกๆ ด้าน โดยเฉพาะการพยายามเข้าถึงการใช้งานด้านเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ให้สอดคล้องกับการดำเนินชีวิตในยุคใหม่ของผู้บริโภค และบริหารธุรกิจของตนเองให้อยู่รอด
"มีเอสเอ็มอีเพียง 10% ที่ไปได้ดี และ 52% ต้องประคองธุรกิจ ขณะที่ 38% ยังน่าเป็นห่วง ดังนั้น ด้วยความมุ่งมั่นของทีเอ็มบีธนชาตที่ต้องการช่วยเหลือและสนับสนุนให้ลูกค้าและผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมีชีวิตทางการเงินที่ดีขึ้น ด้วยเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น สะดวกขึ้นและประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เนื่องจากเอสเอ็มอีส่วนใหญ่ทำธุรกิจผ่านมือถือเป็นหลัก อีกทั้งยังพบปัญหาการทำธุรกรรมทางการเงินบนมือถือ ได้แก่ การทำธุรกรรมหลายประเภทต้องเข้าหลายระบบ, ไม่รู้ว่าเงินโอนรับเข้ามานั้นมาจากคู่ค้ารายใด , ไม่รู้วิธีการจ่ายหรือการโอนเงิน แบบไหนเร็วที่สุด ประหยัดที่สุด หรือแม้กระทั่งโอนจ่ายโดยไม่รู้จำนวนเงินสำรองที่เหลือ
ดังนั้น การพัฒนาดิจิทัลแบงก์กิ้ง หรือโมบายแอปพลิเคชันให้ดีจึงสำคัญมาก เราจึงอยากยกระดับนวัตกรรม และออกแบบโมบายแอปพลิเคชันที่มาจากความคิดเห็นของลูกค้าจริงๆ เพื่อตอบสนองความต้องการ ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด โดยปัจจุบันธนาคารมีลูกค้าธุรกิจและเอสเอ็มอีที่ทำธุรกรรมบนดิจิทัลแบงก์กิ้ง ทั้งโมบายแอปพลิเคชัน และอินเทอร์เน็ต รวมเกือบ 2 แสนราย”
"การพัฒนาเครื่องมือเพื่อช่วยและสนับสนุนลูกค้าของธนาคาร เริ่มต้นจากการทำความเข้าใจถึงความต้องการและปัญหาของลูกค้า โดยโฟกัสการออกแบบผลิตภัณฑ์/บริการที่ประสบการณ์ของลูกค้ามาโดยตลอด ตั้งแต่ปลายปี 2563 ที่ผ่านมา" รัชกร ชยาภิรัต หัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารนวัตกรรมทางดิจิทัลลูกค้าธุรกิจ ทีเอ็มบีธนชาต หรือ ทีทีบี (ttb) กล่าวต่อไปว่า "ทีเอ็มบีธนชาต จึงได้นำเสนอบริการ ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ในรูปแบบอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง เข้ามาเป็นผู้ช่วยทางการเงิน เสริมความแข็งแกร่งให้กับลูกค้าธุรกิจ ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่และเอสเอ็มอี สามารถจัดการทุกอย่างได้ในที่เดียว ด้วยคอนเซ็ปต์ One Platform - One to Control - One to Command
"ttb business one ธนาคารดิจิทัลเพื่อโลกธุรกิจ ได้รับการตอบรับจากลูกค้าของเราเป็นอย่างดี สะท้อนได้จากจำนวนลูกค้าของธนาคาร เมื่อเทียบกับปี 2563 ที่ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีมาใช้ช่องทางดิจิทัลเพิ่มขึ้น 60% และลูกค้าธุรกิจทั้งหมดมีจำนวนรายการที่ทำผ่านช่องทางดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่าตัว หรือเพิ่มขึ้น 160% ขณะที่สัดส่วนการทำธุรกรรมของลูกค้าระหว่างช่องทางดิจิทัลกับช่องทางสาขาเปลี่ยนจาก 40:60 เป็น 80:20 และเมื่อเร็วๆ นี้ ttb business one ก็ได้รับรางวัล Best Digital Transformation Implementation in Thailand จากเวที The Asian Banker Thailand Awards 2021 อีกด้วย
ทั้งนี้ ฟีเจอร์ที่โดดเด่นของ ttb business one ประกอบด้วย
รัชกรกล่าวว่า "เราเชื่อว่าฟีเจอร์ต่างๆ บน ttb business one โมบายแอปพลิเคชัน จะช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้บริหารธุรกิจได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เนื่องจาก
รัชกรกล่าวว่า ด้วยนวัตกรรมต่างๆ เหล่านี้ ธนาคารตั้งเป้าว่าจะมีลูกค้ามาใช้ช่องทางดิจิทัลมากขึ้น 60% ภายในสิ้นปี"