โอภาส ศรีพยัคฆ์ Sustainable Economy ในมุมของ LPN
28 Nov 2021

กล่าวได้ว่า บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์  หรือ LPN ปักหมุดธุรกิจบน Sustainable Economy มานาน โดยมีหลายรางวัลเป็นการรับประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นรางวัล Sustainability Excellence หรือ 'หุ้นยั่งยืน' จากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในปี 2563 ต่อเนื่องเป็นปีที่ 6, รางวัล The Best Sustainable Developer (Asia) 2020 และ รางวัล The Best Sustainable Developer (Thailand) 2020 ที่จัดโดยบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ กูรู จำกัด   

 

Sustainable คือ วิถี LPN   

ทั้งนี้ โอภาส ศรีพยัคฆ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการ บมจ.แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์  (LPN) ได้เปิดเผยถึงที่มาของการดำเนินธุรกิจในแง่ Sustainable Economy ของ LPN ว่า

"LPN ก่อตั้งภายใต้แนวคิด Sustainable นับแต่ปี 2532 โดยคณะผู้ก่อตั้ง ซึ่งประกอบด้วย คุณพิเชฐ ศุภกิจจานุสันติ์, คุณทิฆัมพร เปล่งศรีสุข, คุณยุพา เตชะไกรศรี และ คุณคัมภีร์ จองธุระกิจ ที่กำหนดวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจโดยคำนึงถึงความสมดุลของผลตอบแทนทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม อีกทั้งยังคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ด้วยหลักธรรมาภิบาล รวมถึงการกำหนดพันธกิจในแต่ละปีให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งขับเคลื่อนด้วย 'วิถีแอล.พี.เอ็น.' (LPN Way) ที่หล่อหลอมมาจาก 2 เสาหลัก คือ 'การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง' และ 'การยอมรับนับถือผู้มีส่วนได้เสีย' ด้วยหลัก CLASSIC ที่มี 7 ค่านิยมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และต่อเนื่องมาตลอด 3 ทศวรรษ นั่นคือ

  • C: Cost with Quality บริหารต้นทุนพร้อมคุณภาพ
  • L: Lateral thinking คิดนอกกรอบ
  • A: Alliance ปิยมิตร
  • S: Speed with Quality รวดเร็ว
  • S: Service Minded ใจบริการ
  • I: Integrity จริยธรรม
  • C: Collaboration ความร่วมมือร่วมใจ

ตลอด 32 ปีที่ผ่านมา เราเผชิญกับหลายวิกฤติทั้งระดับประเทศและระดับโลก และล่าสุดคือ วิกฤติที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโควิด -19 บริษัทขนาดใหญ่หลายแห่งต้องปิดกิจการ และปลดพนักงาน แต่ LPN ยังคงสามารถรักษาความสามารถในการสร้างรายได้ และผลกำไร โดยไม่ปรับลดพนักงาน และยังคงขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้รายได้ปรับตัวลดลงตามสภาพเศรษฐกิจ แต่เรายังคงสามารถรักษาอัตราผลตอบแทนที่ดีให้กับผู้ถือหุ้น พนักงาน และส่งมอบสินค้าที่มีคุณภาพในราคาที่เหมาะสมให้กับลูกค้าได้อย่างต่อเนื่อง อันเป็นผลจากการวางรากฐานองค์กรให้เป็นองค์กรอย่างยั่งยืนที่มีความยืดหยุ่นในการปรับตัว เพื่อตอบกับทุกโจทย์และการเปลี่ยนแปลงที่เข้ามากระทบกับการทำธุรกิจ"

 

เส้นทางสู่ 'เศรษฐกิจแห่งความยั่งยืน'

สำหรับทิศทางเพื่อมุ่งสู่ 'เศรษฐกิจแห่งความยั่งยืน' นั้น โอภาสกล่าวว่า

"LPN ยังคงโฟกัสกับการพัฒนาองค์กรอย่างยั่งยืน สอดคล้องกับแนวคิด 'เศรษฐกิจแห่งความยั่งยืน' ทั้งในมิติของการพัฒนาองค์กร บุคลากร องค์ความรู้ และการนำนวัตกรรมต่างๆ มาใช้ เพื่อตอบโจทย์กับการทำธุรกิจ โดยการยึด 'ความต้องการของลูกค้า' เป็นหัวใจสำคัญในการทำธุรกิจ นับแต่การพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อขายของบริษัท โดยเลือกพัฒนาที่อยู่อาศัยในราคาที่ทุกคนสามารถเป็นเจ้าของได้ (Affordable Price) โดยให้ความสำคัญกับฟังก์ชันการใช้งานที่ตอบทุกโจทย์ความต้องการ

ทั้งนี้ เราจัดตั้ง บริษัท ลุมพีนี พรอพเพอร์ตี้ มาเนจเมนท์ จำกัด (LPP) เพื่อสร้าง 'ชุมชนน่าอยู่สำหรับคนทุกวัย' ด้วยการเข้ามาบริหารจัดการชุมชน มอบคุณภาพชีวิตที่ดี และปลอดภัยกับลูกค้าหลังการส่งมอบโครงการ ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม พร้อมให้ความสำคัญกับการมีส่วนรวมของสตรีด้อยโอกาสให้มีโอกาสทำงานเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น โดยการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม บริษัท แอล พี ซี วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด   ซึ่งเป็นหลักปรัชญาในการดำเนินธุรกิจ ตามที่คณะผู้ก่อตั้งองค์กรได้มอบไว้จนถึงทุกวันนี้

นอกจากนี้ บริษัทมีนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมผ่านกระบวนการพัฒนาโครงการ โดยคำนึงถึงการก่อสร้างและการออกแบบที่คำนึงถึงการอยู่อาศัยที่ประหยัดพลังงาน ลดปริมาณขยะในพื้นที่ก่อสร้าง รวมถึงการนำแนวคิด Zero Waste เพื่อลดมลภาวะที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการดำเนินวัฒนธรรมองค์กรที่เรียกว่า 3P ซึ่งประกอบด้วย

  • P: Profit (ผลกำไร) ที่พอเหมาะกับองค์กร และแบ่งปันผลกำไรไปให้กับพันธมิตรทางธุรกิจ สังคมและชุมชน
  • P: People (สังคม) โดยโฟกัสกับการพัฒนาบุคลากร และส่งเสริมสนับสนุนการทำธุรกิจที่คืนกำลังสู่สังคมในรูปแบบของวิสาหกิจเพื่อสังคม และจัดตั้งบริษัทเพื่อสร้างการจ้างงานให้กับสตรีด้อยโอกาสในสังคมให้สามารถยืนหยัดอยู่ได้อย่างมีศักดิ์ศรีและยั่งยืน 
  • P: Planet (สิ่งแวดล้อม) การออกแบบงานก่อสร้าง รวมทั้งการบริหารงานก่อสร้างอยู่ภายใต้มาตรฐานของการออกแบบอาคารที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และบริหารจัดการการก่อสร้างให้มีปริมาณขยะในพื้นที่ก่อสร้างให้น้อยที่สุด และการบริหารจัดการองค์กรโดยลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกอย่างต่อเนื่อง

 

 

ความท้าทายที่ต้องเดินกับความยั่งยืน

ช่วงที่เกิดวิกฤติโควิด-19 แม้จะเป็นช่วงเวลาแห่งความท้าทาย แต่นี่ยังไม่ได้ทำให้เป้าหมายสู่ความยั่งยืนขององค์กรนี้เปลี่ยนไป ทั้งนี้ โอภาส กล่าวว่า "นับตังแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในปี 2563 จนถึงปัจจุบัน บริษัทได้ปรับตัวอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งยึดแนวทางการทำงานภายใต้กรอบการเติบโตอย่างยั่งยืน (Sustainable Growth) ด้วยการวางแผนยุทธศาสตร์ระยะ 5 ปี เพื่อขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็นองค์กรที่มีอัตราการเติบโตในด้านของรายได้ และความสามารถในการทำกำไรอย่างยั่งยืน ผ่านการบริหารต้นทุนให้มีประสิทธิภาพ, การใช้ข้อมูล Big Data มาวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้า (Customer Insight) เพื่อการพัฒนาทั้งบ้านพักอาศัย และอาคารชุดพักอาศัยให้มีฟังก์ชันการใช้งาน ที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการของลูกค้าในทุกมิติในระดับราคาที่เข้าถึงได้สำหรับผู้ซื้อในทุกกลุ่มภายใต้แนวคิด 'ความพอดีที่ดีกว่า' (The Better Balance)  

เพื่อไปสู่เป้าหมายที่วางไว้ ปี 2564 เป็นปีที่เราปรับโครงสร้างองค์กร จากโครงสร้างการทำงานตามหน้าที่(Functional Organization) สู่การบริหารงานในรูปแบบของหน่วยธุรกิจ (Business Unit) รวมถึงการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อปรับปรุงกระบวนการทำงานให้เป็นดิจิทัล (Digital Transformation)  เพื่อให้เกิดความคล่องตัวทั้งการทำงานและเอื้อต่อการตัดสินใจ สามารถบริหารค่าใช้จ่ายและต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และยกระดับการบริหารประสบการณ์ลูกค้า พร้อมทั้งมุ่งให้ทุกหน่วยธุรกิจเพิ่มรายได้และบริหารต้นทุน ผ่าน 4 ยุทธศาสตร์หลัก นั่นคือ การรุกตลาดบ้านพักอาศัยเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของผู้ซื้อในปัจจุบัน, การขยายฐานรายได้จากภาคธุรกิจบริการและเตรียมความพร้อมเพื่อนำเข้าตลาดหลักทรัพย์, การบริหารจัดการสภาพคล่องทางการเงิน เพื่อรองรับกับความเสี่ยงทางธุรกิจ, และการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพย์สินที่มีอยู่

กล่าวได้ว่า 2564 คือ ปีแห่งการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะเติบโตอย่างก้าวกระโดดในปี 2565-2569 ที่เราตั้งเป้ารายได้ไว้กว่า 1.6 หมื่นล้านบาทในปี 2569 หลังจากที่เราสามารถรักษาความสามารถในการสร้างรายได้และกำไร ไว้ได้ในอัตราที่เหมาะสม รวมถึงยังคงรักษาการจ้างงานไว้ โดยไม่ปลดพนักงานในช่วงวิกฤติโควิด-19 ช่วงปี 2563-2564  ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ โอภาส กล่าวเพิ่มเติมถึงการมุ่งสู่ 'เศรษฐกิจแห่งความยั่งยืน' ว่า "ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ การดำเนินธุรกิจที่สร้างความสมดุลในเรื่อง 'เศรษฐกิจ - สังคม -สิ่งแวดล้อม' กล่าวคือ LPN มุ่งให้ความสำคัญกับการเติบโตของรายได้ที่ให้ผลตอบแทนที่ดีและต่อเนื่องกับผู้ที่เกี่ยวข้องทั้ง ผู้ถือหุ้น พนักงาน นักลงทุน รวมถึงกลุ่มลูกค้า ขณะเดียวกัน การดำเนินธุรกิจต้องให้ความสำคัญในการสนับสนุนและส่งเสริมสังคมโดยรวมให้สามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างปกติ และไม่กระทบกับสิ่งแวดล้อมโดยรวม ถึงแม้ภาคอสังหาฯ จะเป็นภาคธุรกิจที่ก่อให้เกิดมลภาวะกับสิ่งแวดล้อมทั้งเสียง ฝุ่น และขยะจากการก่อสร้าง แต่บริษัทก็มีกระบวนการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงที เพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้นจากกระบวนการทำงานกับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความรับผิดชอบต่อส่วนรวม และสร้างความยั่งยืนในการบริหารและจัดการการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ 

นอกจากนี้ การก้าวสู่การเป็น Sustainable Organization (องค์กรอย่างยั่งยืน) อยู่ที่การบริหารจัดการองค์กร และการขับเคลื่อนแนวคิดผ่านบุคลากรให้ไปในทิศทางเดียวกัน และพัฒนางานไปสู่เป้าหมายเดียวกันซึ่งถือเป็นความท้าทายขององค์กร  เพราะองค์กรที่มีชีวิตล้วนต้องขับเคลื่อนด้วยบุคลากรที่มีคุณภาพ พร้อมปรับทัศนคติในการทำงานเพื่อขับเคลื่อนองค์กรในทิศทางเดียวกัน"

 


บทความจากนิตยสาร MarketPlus Issue 140


 

[อ่าน 5,391]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
TANGIBLE Product vs INTANGIBLE Product รู้จักสินค้าให้ดี ก่อนวางกลยุทธ์ให้ปัง
ทำความรู้จักกลุ่มเป้าหมาย "รวย" ในยุคใหม่: HENRY, Luxumer, HVUs และ New Wealth
สร้างการรู้จักให้ปัง ด้วยพลังการบอกต่อ (Word-of-Mouth Marketing)
ปัจจัยที่ 5 ของคุณคืออะไร
เปิดบ้าน “TrueID” แพลตฟอร์มคนไทย คุยกับ “วินท์รดิศ” ในวันที่ OTT ต้องลุยสมรภูมิแข่งเดือด
การวางตำแหน่งของแบรนด์ (Brand Positioning) สำคัญอย่างไร
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved