การมาถึงของ ‘กล้องสมาร์ทโฟน’ ที่นับวันจะมีคุณภาพทันเทียมกับ ‘กล้องถ่ายภาพ’ ทำให้กล้องที่ได้รับความนิยมมายาวนานกำลังจะถึงจุดจบ สะท้อนได้จากแบรนด์ยักษ์ใหญ่ที่ยุติการพัฒนารุ่นใหม่ๆ
ลดลงกว่า 97%
ย้อนกลับไปในช่วงกลางถึงปลายทศวรรษ 1990 ช่างภาพทั่วไปต่างถือ ‘กล้องคอมแพกต์’ ด้วยมีราคาที่ถูกและสามารถพกได้อย่างง่ายดายจากขนาดที่เล็กเมื่อเทียบกับกล้อง DSLR
ความแตกต่างดังกล่าวจึงไม่แปลกที่ข้อมูลจาก Camera & Imaging Products Association จะเผยว่า กล้องคอมแพกต์การจัดส่งทั่วโลกสูงถึง 110 ล้านหน่วยในปี 2008
แต่แล้วการมาถึงของ iPhone และสมาร์ทโฟนรุ่นอื่นๆ ที่พัฒนาคุณภาพของกล้องจนทำให้ผู้คนไม่จำเป็นต้องพกกล้องคอมแพกต์อีกต่อไป ตลาดที่เคยเฟื่องฟูจึงลดลง 97% เหลือเพียง 3.01 ล้านเครื่องในปี 2021
ความนิยมที่เสื่อมลงทำให้ Panasonic และ Nikon ผู้ผลิตกล้องสัญชาติญี่ปุ่น จึงได้บอกลาการพัฒนากล้องคอมแพกต์ใหม่ๆ แม้ว่าจะยังมีวางขายอยู่ก็ตาม
ไม่พัฒนารุ่นใหม่อีกต่อไป
Panasonic ได้ลดการเปิดตัวกล้องคอมแพกต์ภายใต้ซับแบรนด์ Lumix ซึ่งเปิดตัวในปี 2001 และครั้งหนึ่งเคยได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่ปัจจุบัน Panasonic ยังไม่ได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีราคาที่ต่ำกว่า 50,000 เยนหรือมากกว่านั้นตั้งแต่ปี 2019 แถมยังย้ำด้วยว่า ไม่มีแผนที่จะพัฒนารุ่นที่ราคาต่ำในอนาคต
รายงานของ Nikkei ระบุว่า Panasonic จะยังคงผลิตสินค้าที่มีในปัจจุบันแต่เป้าหมายในอนาคตคือการพัฒนากล้องมิลเลอร์เลสระดับไฮเอนด์สำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพและมืออาชีพ ถึงขนาดที่เตรียมเปิดตัวสินค้าที่พัฒนาร่วมกับ Leica แบรนด์ชื่อดังจากเยอรมนี
ทางด้าน Nikon ได้ระงับการพัฒนากล้องคอมแพกต์รุ่นใหม่ในกลุ่ม Coolpix โดยบอกว่า "การติดตามแนวโน้มตลาดอย่างใกล้ชิด" เพื่อกำหนดปริมาณการผลิตในอนาคต
ทิศทางของทั้ง 2 ถูกมองว่า เดินตามรอยเท้าของคู่แข่งอย่าง Fujifilm ที่ได้ยุติการผลิตกล้องคอมแพกต์ FinePix และจะพัฒนาเฉพาะซีรีส์ X100V และรุ่นอื่นๆ ที่มีราคาแพงกว่าเท่านั้น
ความท้าทายครั้งใหญ่
ส่วน Canon แม้ไม่ได้เปิดตัวกล้อง Ixy รุ่นใหม่ใดๆ ตั้งแต่ปี 2017 แต่บริษัทยอมรับว่า “กล้องในรุ่นระดับเริ่มต้นยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเราจะพัฒนาและผลิตต่อไปตราบเท่าที่มีความต้องการ"
Sony Group ไม่ได้นำเสนอโมเดลกล้องคอมแพกต์ใหม่ภายใต้แบรนด์ Cyber-shot ตั้งแต่ปี 2019 แม้ว่าโฆษกกล่าวว่า "ไม่ใช่ว่าเราจะหยุดพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่"
ที่ผ่านมาผู้ผลิตกล้องต่างแข่งขันโดยการเพิ่มจำนวนพิกเซลและลดขนาดอุปกรณ์ลง แต่แล้วสมาร์ทโฟนก็มาพร้อมแอปสำหรับแก้ไขรูปภาพและอนุญาตให้แชร์รูปภาพกับครอบครัวและเพื่อนได้อย่างง่ายดาย ซึ่งสิ่งนี้ได้เข้ามาเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนถ่ายรูป
การที่ผู้ผลิตสมาร์ทโฟนต่างแข่งขันกันเพื่อนำเสนอคุณสมบัติการถ่ายภาพขั้นสูงในอุปกรณ์ของตน “จะเป็นความท้าทายสำหรับผู้ผลิตกล้อง ในการรักษาธุรกิจกล้องดิจิตอลคอมแพกต์ของพวกเขา” นักวิเคราะห์จากบริษัทวิจัย BCN กล่าว
Nikon ก็หยุดพัฒนา ‘กล้อง DSLR’ด้วย
สำหรับ Nikon ไม่ได้มีเพียงกล้องคอมแพกต์เท่านั้นที่จะยุติการพัฒนา แต่กล้องที่เป็นตำนานอย่างรุ่น DSLR ก็จะหยุดด้วยเช่นกัน
ครั้งหนึ่งในปี 1959 Nikon ได้ประกาศให้ Nikon F เป็นกล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยวที่ ‘สุดยอด’ ซึ่งสามารถ ‘ตอบสนองทุกความต้องการด้านการถ่ายภาพในอุปกรณ์เครื่องเดียว’
แม้ว่าจะไม่ใช่รายแรกที่เปิดตัวกล้อง DSLR แต่ความทนทานและความสามารถที่ล้ำสมัยของ Nikon F ทำให้มืออาชีพต่างติดอกติดใจสะท้อนได้จากช่างภาพทุกคนที่นั่งอยู่ในแผนกข่าวระหว่างการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกที่โตเกียวปี 1964 ต่างถือกล้อง Nikon F ด้วยกันทั้งสิ้น
ชื่อเสียงด้านความทนทานของกล้อง Nikon ถึงขั้นที่มีรายงานว่า ช่างภาพในสงครามเวียดนามได้รับการช่วยเหลือเมื่อกระสุนถูกยิงที่กล้อง ไม่ใช่ร่างกายของเขา นี่เองทำให้กล้องของ Nikon ถูกใช้อย่างแพร่หลายโดยช่างภาพมืออาชีพมากว่า 60 ปี
แต่แล้วความนิยมของกล้อง DSLR ก็ได้ลดลง เพราะผู้บริโภคหันไปซื้อ ‘กล้องมิลเลอร์เลส’ กันมากขึ้น ทำให้ Nikon จึงตัดสินใจก้าวไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะยุติการพัฒนากล้อง DSLR และหันไปโฟกัส ‘กล้องมิลเลอร์เลส’ แทน
‘ตลาดกล้องมิลเลอร์เลส’ ที่รุ่งเรือง
ในขณะที่ตลาดกล้อง DSLR ในยุคที่ใช้ ‘ฟิล์ม’ เคยพุ่งไปถึงพุ่งสูงสุดที่ 1.28 ล้านหน่วยในปี 1980 และเมื่อเปลี่ยนมาเป็นดิจิทัลก็ได้แตะตระดับ16.2 ล้านหน่วยในปี 2012
แต่อะไรที่เคยนิยมก็สามารถเสื่อมได้เช่นกัน สมาคมผลิตภัณฑ์กล้องและภาพแห่งประเทศญี่ปุ่นระบุว่า การจัดส่งกล้องมิลเลอร์เลสแซงหน้ากล้อง DSLR เป็นครั้งแรกในปี 2020 โดยมีตัวเลข 2.93 ล้านเครื่องและ 2.37 ล้านเครื่องตามลำดับ
ไม่ใช่แค่กล้อง DSLR เท่านั้น แต่ความต้องการกล้องในภาพรวมก็ได้ลดลงเช่นกัน โดยตลาดกล้องรวมเคยสูงสุดที่ 11.67 ล้านเครื่องในปี 2017 แต่ลดลงเหลือ 5.34 ล้านเครื่องในปี 2021
เหล่านี้สวนทางกับกล้องตลาดกล้องมิลเลอร์เลสในปี 2021 ที่ขยายตัว 31% เป็นมูลค่า 324.5 พันล้านเยน ขณะที่กล้อง DSLR ลดลง 6% เหลือ 91.2 พันล้านเยน
สิ่งที่ทำให้ผู้บริโภคติดใจกล้องมิลเลอร์เลสมาจากความสามารถอันทรงพลัง ปัญญาประดิษฐ์ให้การจดจำใบหน้าและรูม่านตา ที่สำคัญยังสามารถสามารถระบุสัตว์ ยานพาหนะ และวัตถุ
กลัวกระทบลูกค้าเดิม
สำหรับ Nikon ความสำเร็จของกล้อง DSLR ได้ลดลงเพราะไม่ยอมก้าวเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ด้วยเกรงจะกระทบฐานลูกค้าเดิม ในขณะที่คนอื่นต่างหันมาเปิดตัวกล้องมิลเลอร์เลสไม่ว่าจะเป็น Panasonic ในปี 2008 ตามด้วย Sony และ Samsung กันแล้ว
จุดเปลี่ยนสำคัญอยู่ที่ Sony ก้าวเข้าสู่ตลาดกล้องดิจิตอลด้วยการเข้าซื้อกิจการกล้องของ Konica Minolta ในปี 2006 โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ภาพของตัวเอง
ธุรกิจกล้องของ Sony ได้เริ่มต้นหลังจากเปิดตัว Alpha 7 ในปี 2013 ซึ่งเป็นรุ่นมิลเลอร์เลสที่มีเซ็นเซอร์ฟูลเฟรม อันเป็นเซ็นเซอร์ที่มีอยู่ในกล้อง DSLR ความแตกต่างนี้เองทำให้ Sony แซงหน้า Canon ขึ้นเป็นผู้นำตลาดกล้องแบบเปลี่ยนเลนส์ได้ในปี 2020 ในขณะที่ Nikon รั้งอันดับ 3 ตามการวิจัยของ Techno Systems
Nikkei ยังชี้ด้วยว่า การลดลงอย่างรวดเร็วในตลาดกล้องดิจิตอลและการผลักดันกล้องมิลเลอร์เลสที่ล่าช้าของ Nikon ได้ส่งผลกระทบธุรกิจเกี่ยวกับภาพที่ตกอยู่ในภาวะขาดทุนในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2022 โดยขาดทุนจากการดำเนินงาน 17.1 พันล้านเยน และเพิ่มขึ้นเป็น 35.7 พันล้านเยนในปีต่อมา
ดังนั้น Nikon จึงตั้งเป้าที่จะเอาชนะโดยเฉพาะกับกล้องสมาร์ทโฟนด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติเฉพาะตัวมากขึ้น
ปรับโครงสร้างใหม่
ภายใต้แผนการปรับโครงสร้างที่ประกาศเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2019 Nikkei ได้ปิดโรงงานที่เกี่ยวข้องกับกล้องสองแห่งในญี่ปุ่น และลดจำนวนพนักงานในต่างประเทศ โดยจะเน้นไปที่ตลาดที่ค่อนข้างมีเสถียรภาพสำหรับกล้องมืออาชีพและมือสมัครเล่น
ในปี 2018 Nikon ได้เปิดตัว Z7 ซึ่งเป็นกล้องมิลเลอร์เลสประสิทธิภาพสูงที่ออกแบบมาสำหรับผู้ที่ชื่นชอบการถ่ายภาพ ก่อนจะเปิดตัว Z9 รุ่นท็อปในปี 2021 ซึ่งเป็นจุดเริ่มสำหรับการบุกตลาดกล้องมิลเลอร์เลสอย่างเต็มสูบ
โดย Nikon Z9 นั้น สามารถถ่ายภาพได้ 120 ภาพต่อวินาที ซึ่งเร็วกว่ากล้อง DSLR ส่วนใหญ่ถึง 10 เท่าซึ่งเหมาะอย่างยิ่งสำหรับการถ่ายภาพกีฬาและสัตว์ป่า ด้วยกล้องมิลเลอร์เลสมีน้ำหนักเบา ขนาดที่เล็กลง และแทบไม่มีเสียงรบกวน
อย่างไรก็ตามด้วยความที่ Sony เป็นผู้นำในกลุ่มกล้องมิลเลอร์เลสตลอดจนกล้องสมาร์ทโฟนที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่นกัน กลายเป็นความท้าทายสำคัญสำหรับ Nikon ต้องเผชิญหากต้องการรื้อฟื้นธุรกิจกล้องของตัวเอง
โดยกล้องมิลเลอร์เลสคิดเป็นครึ่งหนึ่งของรายได้จากธุรกิจผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการถ่ายภาพของ Nikon อยู่แล้ว เมื่อเทียบกับ DSLR ที่มีประมาณ 30% ในปีงบประมาณที่สิ้นสุดในเดือนมีนาคม 2022 ซึ่งมียอดขายผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับภาพมีจำนวนทั้งสิ้น 178.2 พันล้านเยน หรือ 33% ของรายรับทั้งหมดของกลุ่ม
ใครคือเจ้าตลาดกล้องดิจิทัล
ข้อมูลจาก Digital Camera World เปิดเผยว่า Canon เป็นเจ้าตลาดกล้องดิจิทัลด้วยส่วนแบ่งเกือบ 50% จากทั่วโลก ตามาด้วย Sony ซึ่งกินส่วนแบ่งเกือบ 1 ใน 4 ของตลาด ในขณะที่ Nikon มีส่วนแบ่งที่ลดลงลดลงเหลือประมาณ 1 ใน 7 เท่านั้น โดยส่วนแบ่งตลาด 5 อันดับแรก มีดังนี้