เอสซีจี บุกธุรกิจพลังงานสะอาดครบวงจร มุ่งลดต้นทุน รับมือราคาพลังงานพุ่ง ตั้งเป้าโต 4 เท่าในปีนี้ พร้อมส่ง เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ เพื่อนำองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญให้บริการลูกค้าภายนอก เจาะกลุ่มนิคมอุตสาหกรรม โรงงาน บริษัทขนาดใหญ่ ห้างสรรพสินค้า เชนโรงแรม – โรงพยาบาลที่ใช้ไฟฟ้าจำนวนมาก แต่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟ ด้วย 3 จุดเด่น และ นอกจากนี้ ยังมีส่วนงาน Green Circularity Business ที่มุ่งพัฒนาเม็ดพลังงานชีวมวลคุณภาพสูง จากวัสดุเหลือใช้การเกษตร ตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทนเป็น 34% จาก 26% ในปีก่อน
สืบเนื่องจากการที่เอสซีจีประสบปัญหาราคาพลังงานพุ่ง ทำให้ต้นทุนการผลิตเพิ่ม จึงมุ่งพัฒนาโซลูชั่นของตนเองและใช้พลังงานทางเลือก เพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว และส่วนหนึ่งก็เป็นที่มาของการพัฒนาพลังงานไฟฟ้าจากโซล่าร์เซลส์ เพื่อใช้ในโรงงานของเอสซีจีทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งการพัฒนาดังกล่าวทำให้เอสซีจีสามารถลดต้นทุนได้จริงและลดได้มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด ผู้ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ กล่าวว่า
“เอสซีจีเชื่อมั่นว่า การขยายธุรกิจพลังงานสะอาด ทั้งจากการผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์และพลังงานชีวมวล จะมีศักยภาพสูง ตอบโจทย์ความคุ้มค่าและความสะดวกของลูกค้าตามเมกกะเทรนด์รักษ์โลก และแนวทาง ESG 4 Plus ที่เอสซีจีและเครือข่ายผู้ประกอบการต่างๆ มีส่วนร่วมกันลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (คาร์บอนไดออกไซด์) สุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ตามเป้าหมายประเทศและโลกด้วย”
อรรถพงศ์ สถิตมโนธรรม
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ จำกัด
“เอสซีจี ได้นำความเชี่ยวชาญจากกลุ่มธุรกิจต่างๆ ในเครือ ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มธุรกิจซีเมนต์และวัสดุก่อสร้าง, กลุ่มเคมีคัล และกลุ่มเคมีภัณฑ์มาต่อยอดเป็น ‘ธุรกิจให้บริการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดครบวงจร’ เพื่อให้บริการกับกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ที่ใช้ไฟฟ้าปริมาณมากและต่อเนื่อง แต่ต้องการลดต้นทุนค่าไฟ อาทิ กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม เครือข่ายโรงงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า โรงพยาบาล ฯลฯ โดยมีบริการครบวงจร อาทิ การขออนุญาตติดตั้ง การคำนวณงบลงทุนและการคืนทุน การซ่อมบำรุง/ดูแลรักษา ฯลฯ”
การส่งมอบบริการจาก เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ นั้นแน่นอนว่า ยิ่งมีลูกค้าที่ทดลองใช้มากเท่าไรก็จะยิ่งเป็นผลดีกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเท่านั้น และจากการที่ธุรกิจขนาดใหญ่ตอบรับการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสะอาดก็จะยิ่งจะเท่ากับเป็นกรณีตัวอย่างที่จะมีการตอบรับกันอย่างแพร่หลายในวงกว้าง โดยเฉพาะจากจุดเด่นของ เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ ซึ่งประกอบด้วย
แผงโซลาร์ ติดตั้งบนหลังคา (SOLAR ROOF TOP) สินทรัพย์ที่โรงงาน หรือองค์กรธุรกิจยังใช้ประโยชน์จากหลังคาบนอาคาร เพื่อสร้างรายได้ ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และอื่นๆ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้อีทางหนึ่ง
แผงโซลาร์ บนผิวดำ ที่ บึงบ้านช้าง สระบุรี ใช้วัสดุกรีนโพลิเมอร์ และเป็น Food Grade ไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสัคว์น้ำในบึง อีกทั้งการติดตั้งก็คำนึงถึงวิถีชีวิตปกติองผู้คนในชุมชนด้วย
วัสดุทำจากรีนโพลิเมอร์ และบทบาทการเป็นคู่คิดอย่างครบวงจรของ เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า
การดูแลทุกขั้นตอน ด้วยการใช้โดรนที่ติดแผงโซล่าร์ เพื่อให้พลังงานกับตนเอง และใช้บินสำรวจแผงโซล่าร์ทมี่ชำรุก แทนแรงงานคนเพื่อส่งรายงานให้ทีมควบคุมทราบ และการใช้หุ่นยนต์ทำความสะอาดแผงโซลาร์ (Robot Cleaning) แผงโซลาร์
ทั้งนี้ อรรถพงศ์ กล่าวถึงฐานลูกค้าของ ‘เอสซีจี คลีนเนอร์ยี่’ ว่า บริษัทฯ มีฐานลูกค้าซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำขนาดใหญ่ทั้งในไทยและอาเซียน อาทิ โตโยต้า ศูนย์ผลิตผลิตภัณฑ์จากพลาสมาศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย มีกำลังการผลิตรวมกว่า 234 เมกกะวัตต์ ล่าสุด ติดตั้งแล้วที่กลุ่มบริษัทสหยูเนี่ยน บางปะกง ซึ่งช่วยลดต้นทุนพลังงาน 30% และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,700 ตันคาร์บอนไดออกไซด์ต่อปี และตั้งเป้าเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 4 เท่าภายในปี 2566 พร้อมทั้งตั้งเป้าขยายธุรกิจสู่อาเซียน อาทิ เวียดนาม อินโดนีเซีย เนื่องจากมีเครือข่ายของเอสซีจีอยู่ในประเทศเหล่านั้นมาก่อน ขณะเดียวกัน ก็ได้ตั้งงบลงทุน วิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีกว่า 3,000 ล้านบาท เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมให้ตอบโจทย์ความต้องการลูกค้าที่รักษ์โลก”
นอกจากนี้ วิสุทธ จงเจริญกิจ Green Circularity Business Director เอสซีจี ยังกล่าวถึงการมุ่งนำแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และความเชี่ยวชาญด้านพลังงานมาเพื่อรักษาสภาพแวดล้อมและลดปริมาณขยะจากวัสดุการเกษตรว่า
“ประเทศไทยมีเศษวัสดุทางการเกษตร เช่น ฟางข้าว ใบอ้อย เปลือกข้าวโพดประมาณ 21 ล้านตัน/ปี หากกำจัดด้วยวิธีการเผาก็จะก่อให้เกิดมลภาวะทั้งหมอก ควัน ฝุ่นละออง PM 2.5 และภาวะโลกร้อน เอสซีจีจึงนำความเชี่ยวชาญด้านพลังงานโดยใช้เทคโนโลยีการบีบอัดเศษวัสดุที่ทันสมัยให้เป็น ‘เม็ดพลังงานชีวมวล’ (Energy Pellet) สำหรับใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงทดแทนเป็น 34% จาก 26% ในปีก่อน ทั้งนี้ เอสซีจีได้รับซื้อวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรกว่า 3 แสนตันทั้งใบอ้อย เปลือกข้าวโพด รากยางพารา ฟางข้าว แกลบ ฯลฯ จากพื้นที่จังหวัดรอบโรงงานปูนซีเมนต์ที่สระบุรี ลพบุรี กาญจนบุรี อยุธยา ลำปาง เชียงใหม่ เชียงราย เพื่อลดการใช้พลังงานที่มีราคาพุ่งสูง ประกอบกับนครศรีธรรมราช นครราชสีมา และเร่งพัฒนาเม็ดพลังงานชีวมวลในหลายรูปแบบ ทั้งชีวมวลประสิทธิภาพสูง (High Efficiency Renewable Fuel) ทั้งด้านการใช้งานและค่าพลังงานอื่นๆ เพื่อขยายเป็นธุรกิจในอนาคตด้วย”
เม็ดพลังงานชีวมวล (Energy Pellet)