‘ไทย’ เดินหน้า Creative Economy เน้นงานสร้างสรรค์ระดับพรีเมียม และเสน่ห์ทางวัฒนธรรม
21 Sep 2023

นอกเหนือจากการขับเคลื่อนผ่านอุตสาหกรรมเป้าหมายต่างๆ แล้ว เหตุใด Creative Economy ของไทยจึงมีความได้เปรียบ มีจุดขายที่โดดเด่น และมีศักยภาพในการขับเคลื่อนจีดีพีของประเทศให้เติบโตได้? เหล่านี้คือคำตอบที่ชัดเจน

 

  • มรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลาย

ประเทศไทยมีมรดกทางวัฒนธรรมที่มีชีวิตชีวาและหลากหลาย ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่อุดมสมบูรณ์ที่ก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ ขณะที่ศิลปะแบบดั้งเดิม งานฝีมือ ดนตรี การฟ้อนรำ วรรณกรรม ฯลฯ ถือเป็นรากฐานที่แข็งแกร่งสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

 

  • การท่องเที่ยวและการบริการ

ประเทศไทยเป็นสถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวหลายล้านคนทุกปี ล่าสุดขึ้นกรุงเทพมหานครก็ขึ้นแท่นเมืองที่มีคนมาเยือนมากที่สุดในโลก ด้วยจำนวน 22.78 ล้านคน คว่ำแชมป์เก่าอย่างกรุงปารีสลงได้

และอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ต่างๆ ทั้งศิลปะ การออกแบบ แฟชั่น และบันเทิง มีบทบาทสำคัญในการยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวโดยรวมและสร้างรายได้ให้กับประเทศ

 

  • ทั่วโลกล้วนปลาบปลื้ม

ความคิดสร้างสรรค์และงานฝีมือของไทยได้รับการยอมรับในระดับสากล การผสมผสานที่เป็นเอกลักษณ์ขององค์ประกอบดั้งเดิมและความร่วมสมัยในผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ของไทยดึงดูดให้ผู้คนทั่วโลกหลงใหล จึงเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ

 

 

  • การสนับสนุนจากรัฐบาล

รัฐบาลไทยเล็งเห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจสร้างสรรค์และสนับสนุนการเติบโตของเศรษฐกิจอย่างแข็งขันผ่านนโยบายและความคิดริเริ่มต่างๆ ซึ่งรวมถึงการระดมทุนสำหรับโครงการสร้างสรรค์ การจัดหาเวทีสำหรับศิลปินในการแสดงผลงาน การส่งเสริมการศึกษา และการฝึกอบรมเชิงสร้างสรรค์

 

  • นวัตกรรมและเทคโนโลยี

การบูรณาการเทคโนโลยีเข้ากับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ เช่น สื่อดิจิทัล แอนิเมชัน และการพัฒนาเกมออนไลน์ ได้เปิดช่องทางใหม่สำหรับการเติบโตและโอกาสในการส่งออก

 

  • การสร้างงานสร้างอาชีพ

เศรษฐกิจสร้างสรรค์มีศักยภาพในการสร้างงานในภาคส่วนต่างๆ ตั้งแต่ศิลปะและงานฝีมือแบบดั้งเดิมไปจนถึงสื่อดิจิทัลสมัยใหม่ จึงช่วยบรรเทาการว่างงานและนำไปสู่การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างแท้จริง

 

 

  • การเติบโตอย่างยั่งยืน

แตกต่างจากอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่ต้องพึ่งพาทรัพยากรอย่างจำกัด เพราะเศรษฐกิจสร้างสรรค์อาศัยความคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์และทรัพย์สินทางปัญญา ทำให้เป็นภาคส่วนที่มีความยั่งยืนและปรับขนาด (Scalable sector) ได้มากกว่าในระยะยาว

 

  • ความหลากหลายทางเศรษฐกิจ

การกระจายเศรษฐกิจเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับความมั่นคงและความยืดหยุ่น ด้วยการมุ่งเน้นไปที่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ประเทศไทยสามารถลดการพึ่งพาภาคส่วนดั้งเดิม เช่น เกษตรกรรมและการผลิต ซึ่งจะเป็นการสร้างเศรษฐกิจที่สมดุลและแข็งแกร่งยิ่งขึ้น

 

  • ความร่วมมือและเครือข่าย

เศรษฐกิจสร้างสรรค์ส่งเสริมความร่วมมือและเครือข่ายระหว่างศิลปิน นักออกแบบ ผู้ประกอบการ และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียอื่นๆ ปฏิสัมพันธ์ดังกล่าวนำไปสู่การแลกเปลี่ยนความคิด การผสมข้ามสายงานของความสามารถ และการเกิดขึ้นของโซลูชั่นที่เป็นนวัตกรรมใหม่

 

  • การทูตวัฒนธรรม

อุตสาหกรรมสร้างสรรค์เป็นเครื่องมือที่ทรงพลังสำหรับการทูตวัฒนธรรม ทำให้ประเทศไทยสามารถแสดงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและสร้างความสัมพันธ์ทางวัฒนธรรมที่แน่นแฟ้นกับประเทศอื่นๆ ได้เป็นอย่างดี

 


 

หนึ่งในตัวอย่างการโปรโมตเศรษฐกิจสร้างสรรค์ไทยสู่สายตาชาวโลกคือ การที่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ CEA ร่วมกับสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย จัดแสดง Thailand Pavilion ในธีม ‘LIVELY THAI’ ภายใต้แพลตฟอร์มแสดงผลงานระดับนานาชาติ ‘Creative Thai Festival’ ที่จัดขึ้นในเทศกาล Russian Creative Week, Moscow Festival ตามคำเชิญจากรัฐบาลมอสโก เมื่อวันที่ 3-9 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา

เพื่อให้ผู้ประกอบการและนักสร้างสรรค์ไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล ผ่านการสร้างมูลค่า (Value Creation) เชื่อมต่อการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และสินทรัพย์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่น เพื่อให้เกิดสินค้าและบริการสร้างสรรค์

รวมถึงเปิดพื้นที่ในการแสดงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ผ่านการนำเสนอความเป็นอัตลักษณ์พื้นถิ่นใน 4 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ไทย ได้แก่ งานฝีมือ จิวเวลรี สิ่งทอ รวมถึงภาพยนตร์และคอนเทนต์

ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่นักลงทุนต่างชาติจำนวนมากให้ความสนใจเข้าร่วมชมผลงาน นับเป็นการกระตุ้นการเชื่อมต่อทางธุรกิจ ส่งเสริมการท่องเที่ยวในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็เป็นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ สนับสนุนให้เกิดพื้นที่สร้างสรรค์ระหว่างประเทศร่วมกันต่อไป

 

 

ขณะที่อีกหนึ่งการผลักดันของ CEA คือ การสนับสนุนคาแรกเตอร์ไทย เพื่อช่วยสร้างแบรนด์ให้กับสินค้าต่างๆ ทั้งยังส่งเสริมการท่องเที่ยวท้องถิ่น ผ่านการนำเสนอคาแรกเตอร์สุดน่ารักที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว

ทั้งยังช่วยสร้างอาชีพ สร้างรายได้ และต่อยอดเพื่อเพิ่มมูลค่าผลงานสร้างสรรค์ให้กับธุรกิจของผู้ประกอบการไทยโดยเฉพาะเอสเอ็มอีต่อไปในอนาคต ตัวอย่างคาแรกเตอร์ไทยดังกล่าว ได้แก่

Coco the Prince เจ้าชายน้อยประจำวงดนตรี The Palace

TG25 คาแรกเตอร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากพระพิฆเนศแห่งแบรนด์ ISSUE Thailand

Zoubobo ช้างน้อยที่หลงใหลการดื่มกาแฟของร้านกาแฟแบรนด์ Africano จากจังหวัดตรัง

พะอง-พะยอม คู่หูแฝดต่างฝาประจำร้าน Emi Cafe จังหวัดเพชรบุรี,

เจ้าเพียน ปลาตะเพียนแสนน่ารัก มาสคอตการท่องเที่ยวและสินค้า จังหวัดอยุธยา

และ น้องบ่อยาง คาแรกเตอร์ที่ได้แรงบันดาลใจมาจากประตูเมืองจังหวัดสงขลา เป็นต้น


 

อีกความเคลื่อนไหวหนึ่งที่น่าสนใจคือ แม้สิงคโปร์จะได้รับการอวยยศจากยูเนสโกไปแล้วว่าเป็นประเทศที่อุดมไปด้วยเศรษฐกิจสร้างสรรค์อันโดดเด่น แต่ประเทศไทยก็พร้อมที่จะท้าชิงในสมรภูมินี้เช่นกัน

โดยมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม ที่ผ่านมา คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้ CEA ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดเชียงใหม่ องค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานส่งเสริมการจัดการประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)  และคณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ยื่นประมูลสิทธิ์ให้ ‘จังหวัดเชียงใหม่’ เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมประจำปีของเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก ครั้งที่ 17 ในปี ภายใต้แนวคิด ‘Enhancing Multicultural Transformation’ เชื่อมอดีตสู่ปัจจุบัน สร้างนวัตกรรมเพื่อการต่อยอด

 

UCCN Annual Conference 2025 ถือเป็นเวทีระดับนานาชาติ ที่จัดขึ้นเพื่อการหารือและแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิกเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ (UNESCO Creative Cities Network: UCCN) กว่า 300 เมืองจาก 90 ประเทศทั่วโลก

ซึ่งจากการที่จังหวัดเชียงใหม่ได้รับคัดเลือกให้เข้าเป็นสมาชิกเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก ด้านหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน (Crafts and Folk Art) มาตั้งแต่ปี 2560 นับว่าตรงกับวัตถุประสงค์ของการประชุม

ที่ต้องการนำวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ของสมาชิกฯ มาเป็นนโยบายเพื่อดำเนินการพัฒนาเมืองตามเป้าหมายวาระการพัฒนาอย่างยั่งยืนปี 2573 ขององค์การสหประชาติ และนโยบายวัฒนธรรมและการพัฒนาที่ยั่งยืนของยูเนสโก

 

 

หากประเทศไทยได้เป็นเจ้าภาพการประชุมในครั้งนี้ จะนับเป็นโอกาสสำคัญในการส่งเสริมวัฒนธรรมและความคิดสร้างสรรค์ให้มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม

พร้อมกับอนุรักษ์และต่อยอดวัฒนธรรมไทยสู่เวทีโลก ผ่านการนำเสนอเมืองเชียงใหม่ในมิติต่างๆ ที่รุ่มรวยทั้งศิลปะ ศาสนา หรือวัฒนธรรม

 

ตุลาคมนี้รู้กัน

 


บทความจากนิตยสาร MarketPlus Issue 159 August 2023

 

[อ่าน 1,870]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
SCB EIC ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะผ่านจุดต่ำสุดช่วงครึ่งหลังของปีหน้า
Seamless Living, One Tap Away: How Meituan Powers the Lazy Lifestyle
สร้าง Personal Branding อย่างไรให้ปัง
Technology: The Ultimate Life-Hack or The Ultimate Laziness Trap ?
Freshket: The Lazy Entrepreneur's Best Friend for Restaurant Success!
เจาะลึกบทบาทผู้ผลิตไฟฟ้า เมื่อโลกเกิดภัยพิบัติ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved