การประกวดนางงามครั้งแรกของโลกเกิดขึ้นในช่วง 1950 และหลังจากนั้นก็ได้มีการประกวดนางงามแบบต่างๆ ขึ้นมามายมายตามยุคสมัย เช่น การประกวดมิสทิฟฟานี่ หรือการประกวดสาวพลัสไซส์ ซึ่งสร้างความตระหนักรู้เก่ยวกับความแตกต่างในสังคมได้อย่าแพร่หลายขึ้น
แต่การประกวดบางอย่างอาจสร้างข้อถกเถียงในสังคมว่าเป็นสิ่งที่สมควรหรือไม่ อย่างเช่นการประกวดที่เกิดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ นั่นคืด ‘การประกวดความงาม AI’
Fanvue World AI Creator Awards (WAICAs) ซึ่งเป็นองค์กรเพื่อสนับสนุนครีเอเตอร์ด้าน AI ร่วมกับแฟนวิว (Fanvue) ได้เปิดตัว Miss AI และดูเหมือนว่าจะเป็นเวทีการประกวดความงามที่ล้าสมัยหากเทียบกับในปัจจุบัน แต่นี่เป็นการแข่งขันสำหรับบอท AI เพื่อชิงรางวัลสูงสุด 5,000 ดอลลาร์ และได้รับการบันทึกเป็น 'คนแรกของโลก'
Miss AI ไม่ได้พียงตัดสินจาก ความงาม ท่าทาง และหุ่นเท่านั้น แต่ผู้เข้าแข่งขันต้องตอบคำถามเกี่ยวกับการสร้างสันติภาพของโลก (เหมือนเป็นคำถามที่ออกมาจากยุคประกวดนางงามช่วงแรกๆ) ว่าจะสามารถสร้างสันติภาพของโลกได้อย่างไร นอกจากนี้ ยังมีการนับคะแนนจากอิทธิพลทางโซเชียลมีเดียอีกด้วย
หนึ่งในผู้ตัดสินการประกวดในครั้งนื้คือ เอมิลี่ เปลเลกรีนี นางแบบเสมือนจริงที่กำลังมาแรงที่สุดในโลก หลังมีผู้กดติดตามเธอบนอินสตาแกรมมากถึง 142,000 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และรูปบนอินสตาแกรมที่ดูธรรมชาติจนไม่รู้ว่าเกิดจากโปรแกรมบอท จึงทำให้นักฟุตบอลและคนมีชื่อเสียงอีกหลายคนได้ส่งข้อความมาตามจีบอย่างไม่หยุดพัก
การแข่งขันประกวด AI ก็จะถูกตัดสินโดย AI เช่นกัน นอกจากเอมิลี่ แล้ว ยังมีโมเดล AI อีกคนที่ร่วมตัดสิน อาร์ทิน่า โลเปซ นางแบบสาวเสมือนจริงจากบาร์เซโลน่า ซึ่งมีรายได้มากกว่า 10,000 เหรียญต่อเดือน โดยการเป็นโมเดลสำหรับเสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆ เข้าร่วมเป็นกรรมการด้วย
Fanvue ผู้สนับสนุนการแข่งขันประกวดในครั้งนี้ มองว่า เหล่านางแบบเสมือนจริงนี้เปรียบเหมือนผู้สร้าง AI ทั้งที่ความจริงแล้วควรเป็น AI สร้างขึ้นมากกว่า โดยนักวิเคราะห์ได้มองว่าอุตสาหกรรม AI นี้จะมีมูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์ในปี 2567 และการแข่งขันในอุตสาหกรรมนี้จะสูงขึ้นเรื่อยๆ
Will Monange ผู้ร่วมก่อตั้งการประกวด Miss AI กล่าวว่า
"คอมมูนิตี้ของครีเอเตอร์ในขณะนี้กำลังขยายใหญ่ขึ้น และด้วยความช่วยเหลือจากแพลตฟอร์มของเรา ทำให้ครีเอเตอร์ AI ที่เข้าสู่วงการสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว รวมถึงขยายฐานแฟนคลับ และสร้างรายได้จากงานของตนมากขึ้น การประกวด Miss AI เป็นเพียงรางวัลเดียวสำหรับโครงการเราเท่านั้น และ WAICA คาดหวังอยากให้รางวัลนี้เปรียบเหมือนรางวัลออสการ์สำหรับผู้สร้าง AI เลยทีเดียว"
แต่มันก็ไม่ง่ายขนาดนั้น
สิ่งหนึ่งที่ตามมาอย่างแน่นอนคือการวิพากษ์วิจารณ์จากสังคม การประกวดนางงามในช่วงหลังๆ เกิดคำถามตามมาอย่างมากมายว่า สิ่งเหล่านี้เป็นการลดทอนความเป็นมนุษย์และคุณค่าของผู้หญิงหรือไม่
จนทำให้เกิดการรวมตัวของกลุ่มที่ต่อต้านการประกวดนางงามขึ้น แล้วสำหรับการประกวด AI ที่ไม่ใช่มนุษย์ตั้งแต่แรก จะมีปัญหาอะไรตามมาบ้าง?
ถึงแม้อาจไม่มีปัญหาในเรื่องของคุณค่าความเป็นมนุษย์ แต่มีข้อกังวลว่า ถึงแม้การประกวด Miss AI จะมีงบประมาณการโฆษณาหรือการกระจ่ายข่าวสารไม่มากนัก แต่การกระจายตัวของโมเดลที่สร้างโดย AI เป็นวงกว้าง จะยิ่งทำให้มาตรฐานความงามสูงขึ้นแบบเกินจริง ซึ่งส่งผลกระทบอย่างมากโดยเฉพาะกับเด็กผู้หญิงหรือวัยรุ่น
ปัญหาอย่างหลังสร้างความกังวลอย่างมาก เนื่องจากอิทธิพลบนโซเชียลมีเดีย การใช้ Photoshop การใช้แอปพลิเคชั่นต่างๆ เพื่อให้ได้ภาพหรือมีรูปลักษณ์ที่สมบูรณ์แบบที่สุด และ ณ ตอนนี้ เรากำลังมีแบบจำลองที่ไม่สมจริง และไม่ใกล้เคียงกับกายวิภาคของมนุษย์อยู่เต็มโซเชียลมีเดีย
นักข่าวท่านหนึ่งได้เขียนระบายบนอินสตาแกรมของเธอว่า เธอสังเกตว่านิตยสารหรือหนังสือแฟชั่นที่ลูกๆ ได้อ่าน รวมถึงสื่อโซเชียลที่เล่น พวกเขาต้องแข่งขันกับความสมบูรณ์แบบที่สร้างขึ้นด้วยคอมพิวเตอร์ เราไม่รู้วิธีแก้ไขมัน แต่ปัญหานี้เป็นสิ่งที่ต้องรีบแก้ไขอย่างแน่นอน
Dove (โดฟ) เป็นแบรนด์หนึ่งที่ตอบสนองต่อปัญหานี้อย่างรวดเร็ว โดยได้ขยายแคมเปญ Real Beauty เพื่อปฏิเสธมาตรฐานความงามของ AI แต่เราจำเป็นต้องได้รับความร่วมมือจากแบรนด์อื่นๆ เพื่อปกป้องเด็กๆ จากมาตรฐานความงามที่เกินจริงและยอมรับความเป็นตัวเองและความแตกต่างได้มากขึ้น
ไม่เพียงแต่อุตสหกรรมความงามเท่านั้นที่มีการใช้ AI โดย Netflix ถูกกล่าวหาว่าใช้ภาพ AI ในสารคดี
ค่ายหนังสยองขวัญชื่อดัง A24 ถูกกล่าวหาว่าใช้ AI สำหรับโปสเตอร์ภาพยนตร์สงครามกลางเมือง
ทำให้เห็นว่า AI กำลังมีอิทธิพลในกลายๆ ด้านของมนุษย์ รวมถึงได้เข้ามาแย่งงานในหลายๆ สาขาอาชีพแล้วด้วย
สำหรับประเทศไทยก็มีนางแบบ AI เช่น กะทิ Virtual Influencer ที่เปิดตัวในปี 2021 โดยเมื่อเปิดตัวทางบริษัทได้ชูสโลแกนต่อต้าน Beauty standard สวยในแบบของตัวเอง แต่รูปร่างและหน้าตาของ AI ตัวนี้กลับโดนวิจารณ์ว่าตรงตาม Beauty standard สุดๆ จึงทำให้ไม่ได้รับการตอบรับเท่าที่ควร
การมีโมลเดล AI สามารถสร้างประโยชน์ในการลดต้นทุนของเจ้าของแบรนด์ หรืออาจมีประโยชน์ด้านอื่นๆ ในอนาคต แต่เราก็ไม่สามารถปฏิเสธได้ว่าการมีอยู่ของโมเดล AI นี้ทำให้มาตรฐานความงามพุ่งสูงขึ้นและมากขึ้น จนบางครั้งเกินขอบเขตของร่างกายมนุษย์ ดังนั้นสิ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับวงการนี้รวมถึงนักลงทุนควรตระหนักคือการควบคุมการใช้ให้ไม่ส่งผลต่อมนุษย์ทั้งทางด้านอาชีพและสภาพจิตใจ
ที่มา https://www.yahoo.com/tech/ai-beauty-pageant-showcases-creepiest-060031992.html
#AI #นางแบบเสมือนจริง #ประกวด #WAICAs #MarketPlus #MarketPlusUpdate #MarketPlusOnline