การสื่อสารของแบรนด์ และบุคคลท่ามกลางสังคม อุดมดราม่า
04 Jun 2024


จะว่าไปแล้ว ในยุคข่าวสารพรั่งพรูแบบทุกวันนี้ มีกระแสจากข่าวสารที่เกิดขึ้นในแต่ละวัน จากสื่อหลักและสื่อรอง จนกระทั่งเป็นที่ได้รับการกล่าวถึงผ่านโลกออนไลน์ ชนิดเลื่อนไปไหนก็เจอแต่กระแสดังกล่าว พัดกระพือไปไวดั่งไฟลามทุ่ง ประเด็นแล้ว ประเด็นเล่า แล้วก็ผ่านไป สักพักก็มีประเด็นเรื่องราวใหม่มาให้สังคมวิจารณ์กันอย่างไม่จบสิ้น

 

 

เรื่องราวของ เยาวชนวัย 8 ขวบ ที่อ้างตนว่าเป็นร่างอวตารองค์เพชรภัทรนาคานาคราช และบุตรของพระศากยมุนี มีผู้เชื่อว่ามีพลังพิเศษในการถ่ายทอดธรรม จนกลายเป็นผู้ทรงภูมิความรู้ด้านวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเผยแผ่ธรรมะด้านวิปัสสนากรรมฐาน โดยรูปแบบหนึ่งของการเผยแพร่ธรรมด้วย การเชื่อมจิต  ภายใต้แนวคิด จากจิตหนึ่งสามารถส่งต่อถึงอีกจิตหนึ่งหรือหลายจิต ที่มีพ่อแม่และกลุ่มชนที่เห็นด้วย ให้การสนับสนุน ท่ามกลางความศรัทธาของผู้ที่ให้ความสนใจ เชื่อถือ อยู่ไม่น้อย ให้ผู้ที่สนใจจนโด่งดัง และมีผู้คนติดตามในแอพพลิเคชั่นต่างๆ จนกระทั่งได้รับความสนใจ เป็นกระแสให้ติดตามความเคลื่อนไหว

 

 

ประเด็นของ ‘โน้ส อุดม แต้พานิช’ ที่เป็นดราม่าร้อนแรง จากคลิปโปรโมตทอล์กโชว์  ‘เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์’ ทาง Netflix โน้ต อุดม ได้พูดทอล์กโชว์ เดี่ยวสเปเชียล ซูเปอร์ซอฟต์พาวเวอร์ ซึ่งบางช่วงบางตอนได้พูดยกตัวอย่าง กรณีตัวเองได้ไปใช้ชีวิตแบบเกษตรกร แล้วพบว่าไม่ใช่ โดยพูดถึงการใช้ชีวิตแบบพอเพียง มีการกล่าวพาดพิงบุคคลที่มีชื่อเสียง นักการเมือง ซึ่งเป็นจุดเด่นในการขึ้นเวทีทอล์กโชว์ ในแต่ละครั้งเสมอ แต่ทว่าบริบททางการเมืองคราวนี้อาจแตกต่างจากที่ผ่านมา ทำให้ประเด็นการพูดของเขาได้รับการวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก เกี่ยวกับความเหมาะสมที่บางฝ่ายเห็นว่าเป็นเรื่องจริงจัง ในที่ขณะบางฝ่ายเห็นว่าเป็นเพียงประเด็นที่พูดเพื่อให้สนุก ขบขัน คลายเครียดเท่านั้น

 

 

กรณี ข้าว 10 ปี ที่รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ได้นำคณะสื่อมวลชน ไปชมโกดังเก็บข้าวจากโครงการรับจำนำข้าว ในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่เหลือราว 1.5 หมื่นตัน และนำข้าวดังกล่าวออกมาหุงกินร่วมกัน  และกล่าวว่าจะนำข้าวชุดนี้ ออกมาขาย จากนั้นก็มีการขยายผลถึงหน่วยงานต่างๆ ที่จะรับซื้อ รวมถึงการส่งออกไปต่างประเทศ จนเกิดเป็นดราม่าร้อนแรงตามมา มีการตั้งคำถาม หาคำตอบด้วยความพยายามที่จะพิสูจน์ ว่าข้าวเหล่านั้นว่าปลอดภัยหรือไม่ และยังคงมีสารอาหารหลงเหลือไหม

 

 

enlightened การสื่อสารของแบรนด์ และบุคคล ต่อประเด็นดราม่า

เมื่อมีประเด็นดราม่าขึ้น ในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผ่านสื่อออนไลน์ หรือช่องทางอื่น หากมีผลกระทบ พาดพิงกับแบรนด์ หรือสังคมต้องการความเห็น เสียงสะท้อนจากบุคคลที่มีชื่อเสียง ผู้บริหาร หรือบุคคล ทั้งที่เกี่ยวข้องกับแบรนด์โดยตรง หรือทางอ้อม สิ่งที่สำคัญ ก็คือการพิจารณาถึงบทบาท ผลกระทบ ให้รอบคอบ ด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะ การเปิดรับข่าวสารที่มีความเกี่ยวข้องในชีวิตประจำวัน ทุกช่องทาง เพราะบางเรื่องก่อให้เกิดค่านิยมที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว บางเรื่องก่อให้เกิดกระแสที่ดีกับสังคม บางประเด็นคลาดเคลื่อน หรือบางครั้งก็ส่งผลอย่างคาดไม่ถึง การค้นหาข่าวสาร การตรวจสอบข้อมูล ให้รอบด้าน นับว่ามีความจำเป็น เป็นอย่างยิ่ง

 

enlightened การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของผู้เกี่ยวข้องกับประเด็น

ในแต่ละวัน มีข้อมูล ข่าวสาร และประเด็นร้อนเกิดขึ้นใหม่ๆ เสมอ มากมาย หลากหลายและอัดแน่น จนสับสนทำให้ ในเบื้องต้นไม่สามารถทราบว่าอย่างไหนจริง อย่างไหนเท็จ อย่างไหนที่ควรเชื่อถือหรือนำไปใช้อ้างอิงต่อได้ การตรวจสอบความน่าเชื่อถือจากประเด็นของข้อมูลข่าวสารจึงเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก

  • Expertise  การเป็นที่ยอมรับ ความเป็นที่น่าเชื่อถือ หรือความเชี่ยวชาญ ของบุคคลผู้เกี่ยวข้องต่อประเด็นนั้นๆ หากเป็นที่ยอมรับในทักษะ ความรู้ ความสามารถ การสื่อสารข้อมูลที่มีความถูกต้อง แม่นยำ ตรงกับข้อเท็จจริง หรือ ความเป็นจริงที่ได้เห็นก็จะได้รับความน่าเชื่อถือมากกว่า
  • Confidence  ความเชื่อมั่นต่อประเด็น ด้านข้อมูล  แหล่งที่มา  เนื้อหา  ความเข้าใจในเรื่องราว ความรู้ความสามารถ ความเกี่ยวข้องของเรื่องราว บทบาท คุณสมบัติที่สัมพันธ์กับผู้เกี่ยวข้อง
  • Trustworthiness การเป็นที่น่าไว้วางใจ การที่ผู้เกี่ยวข้อง วัถถุประสงค์ ความจริงใจ ไม่มีผลประโยชน์แอบแฝง ซึ่งสามารถวัดจากความซื่อตรง  ซื่อสัตย์ การไม่เอียงเอน ข้อเท็จจริงด้วยเพื่อประโยชน์ที่เป็นส่วนรวม การไม่มุ่งหวังเพื่อชักจูง ไม่มุ่งหวังผลตอบแทน หรือโน้มน้าวใจผู้รับข่าวสารไปในทิศทางใดๆ โดยไม่ได้มีการแอบแฝงความคิดเห็นเพื่อประโยชน์อื่น

 

enlightened ตั้งสติก่อนให้ความเห็น หรือดำเนินการสื่อสารต่อกรณีดราม่า   

การสื่อสารทั้งของแบรนด์ หรือบุคคล ที่มีต่อประเด็น หรือข่าวสารที่ตรงกับข้อเท็จจริง  แม่นยำมากที่สุด ย่อมเป็นวิธีการสื่อสารข้อมูลข่าวสารที่มีคุณภาพ ไม่ใช่การแสดงความเห็น หรือความรู้สึกทั่ว ๆ ไปเพื่อมีการนำเสนอข่าวสารก่อนที่จะได้ศึกษาประเด็นนั้น ๆ อย่างชัดเจน ทบทวน  ตรวจสอบข้อเท็จจริงเสียก่อน ที่จะเชื่อ หรือส่งต่อขยายไปยังเครือข่ายอื่นๆ ต่อไป  โดยพิจารณาการสื่อสาร หรือการให้ความเห็นให้สอดคล้องกับบทบาท หน้าที่ และคุณสมบัติ ของแบรนด์ ให้สอดคล้องกับ ประเด็นต่าง ดังนี้

  • Character ความสอดคล้องกับบุคลิกของแบรนด์ หรือคุณสมบัติส่วนตัว โดยคำนึงถึงความโดดเด่น การเป็นที่รู้จัก  ลักษณะนิสัย อารมณ์  การแสดงออก
  • Intelligence or Person’s Good Sense  สอดคล้องกับความรู้ความเชี่ยวชาญต่อประเด็นที่นำเสนอหรือทำให้เชื่อว่าผู้ที่สื่อสาร มีความเหมาะสม และมีคุณภาพ สำหรับเรื่องราว สถานการณ์ สามารถบอกเล่า และสื่อสารข้อมูลเรื่องราวนั้นๆ ได้ดี
  • Good Will or Trustworthiness  การแสดงออกถึงความหวังดี  ความจริงใจ การทำให้ผู้รับข้อมูลข่าวสารได้ประประโยชน์ หรือความสนใจที่เป็นตัวแทนของความรู้สึกของสังคม
  • Motivation การเชื่อมโยงแรงจูงใจ หรือตอกย้ำคุณสมบัติในการสร้างแรงจูงใจของแบรนด์ หรือบุคคล ส่งผลให้การชักจูงใจประสบความสำเร็จ การได้รับความไว้วางใจ  การระมัดระวังถึงประเด็นที่มีความอ่อนไหว การให้ข้อคิด แนะนำ อย่างมีเหตุผล

 

 

ทั้งนี้ ต้องไม่ลืมว่า ประเด็นดราม่าทั้งด้านบวก ด้านลบ ที่เกิดขึ้นนั้น ประกอบไปด้วยมิติหลายด้าน อาทิ สังคม เศรษฐกิจ การเมือง ศาสนา การศึกษา เพศ อาชีพ ทัศนคติ รสนิยม ความเชื่อ ความสนใจ วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ รายได้ การอบรมเลี้ยงดู สุขภาพ สิ่งแวดล้อม ซึ่งจากปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ก่อให้เกิดเป็นมุมมองต่อประเด็นที่แตกต่างกัน

การสื่อสาร การแสดงความคิดเห็น ของแบรนด์และบุคคลที่มีชื่อเสียง จึงมีความสำคัญต่อความน่าเชื่อถือของสังคม ในการเป็นแหล่งข่าวสารต่างๆ ที่อาจเหมือนหรือแตกต่างไปจากความคิดของคนในสังคมส่วนหนึ่ง การสื่อสารต่อประเด็นดราม่า จึงมีความละเอียดอ่อน โดยต้องอาศัยการวิเคราะห์ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างลึกซึ้ง รอบคอบ เพื่อมิให้เกิดการชี้นำ ข่าวลือ กระแสที่ไม่เหมาะสม ปัญหาต่อสังคม หรือตกเป็นเครื่องมือของผู้ไม่ประสงค์ดี ในขณะเดียวกันก็ทำให้เกิดประสิทธิภาพทางด้านข้อมูลข่าวสาร ทั้งของแบรนด์ ประเทศและสังคมดีขึ้นด้วย

 



บทความจากนิตยสาร MarketPlus ฉบับที่ 166 May-June 2024

[อ่าน 8,037]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
SCB EIC ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะผ่านจุดต่ำสุดช่วงครึ่งหลังของปีหน้า
Seamless Living, One Tap Away: How Meituan Powers the Lazy Lifestyle
สร้าง Personal Branding อย่างไรให้ปัง
Technology: The Ultimate Life-Hack or The Ultimate Laziness Trap ?
Freshket: The Lazy Entrepreneur's Best Friend for Restaurant Success!
เจาะลึกบทบาทผู้ผลิตไฟฟ้า เมื่อโลกเกิดภัยพิบัติ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved