ประเทศไทยยังคงเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิม
05 Jul 2024

ผลการสำรวจดัชนีการท่องเที่ยวของชาวมุสลิมทั่วโลกประจำปี 2024 (The Mastercard-Crescent Rating Global Muslim Travel Index หรือ GMTI 2024) ระบุว่า ประเทศไทยยังคงรักษาตำแหน่งในการเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิม โดยจัดอยู่ในอันดับที่ห้าในหมวดหมู่ประเทศสำหรับกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม (Non-OIC)1

 

ตามรายงาน GMTI 2024 ประเทศไทยได้รับคะแนนดัชนีโดยรวมอยู่ที่ 52 คะแนน ตามหลังสิงคโปร์ที่มีคะแนนสูงสุดเป็นอันดับที่หนึ่งอยู่ 14 คะแนน และต่ำกว่าฮ่องกงที่รั้งอยู่ในอันดับที่สองเพียง 2 คะแนน สำหรับหมวดหมู่ Non-OIC ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นของประเทศไทยในการพัฒนาประเทศเพื่อยกระดับประสบการณ์การท่องเที่ยวให้แก่นักท่องเที่ยวชาวมุสลิม ด้วยการเพิ่มตัวเลือกอาหารฮาลาลและการบูรณาการสิ่งอำนวยความสะดวกที่เป็นมิตรต่อชาวมุสลิม เช่น ห้องละหมาดตามสถานที่ท่องเที่ยว ซึ่งตรงตามแผนของยุทศาสตร์  5 ปี2 ของกรมการท่องเที่ยวของประเทศไทยในการมุ่งสู่การเป็น "ศูนย์กลางฮาลาล" ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปีพ.ศ. 2570 โดยแผนดังกล่าวมุ่งเน้นไปที่การขยายอุตสาหกรรมฮาลาลของประเทศในภาคส่วนต่างๆ รวมถึงอาหาร เครื่องแต่งกาย การบริการ และการท่องเที่ยว เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ การสร้างงาน และสนับสนุนชุมชนมุสลิมในท้องถิ่น ทำให้เห็นว่าประเทศไทยมีเป้าหมายที่จะรักษาตำแหน่งจุดหมายปลายทางยอดนิยมสำหรับนักเดินทางชาวมุสลิมทั่วโลกในการจัดอันดับ GMTI

 

“ประเทศไทยได้สร้างชื่อเสียงในการขึ้นเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับนักเดินทางชาวมุสลิม และครองอันดับต้น ๆ ในรายงาน GMTI มานานหลายปี โดยข้อมูลเชิงลึกจากรายงาน GMTI ประจำปี 2024 นี้ได้เปิดโอกาสให้นักการท่องเที่ยวและหน่วยงานรัฐบาลจัดการบริการและข้อเสนอต่างๆ เพื่อตอบสนองความต้องการของนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมได้ดียิ่งขึ้น” พิรุฬห์ โรจนกมลสันต์ รองประธานฝ่ายลูกค้าสถาบันการเงิน มาสเตอร์การ์ด (ประเทศไทย) กล่าว “เนื่องจากประเทศไทยตั้งเป้าที่จะเป็น 'ศูนย์กลางฮาลาล' ของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ดังนั้นควรมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงด้านการบริการและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวชาวมุสลิม นอกจากนี้ การบูรณาการเทคโนโลยีดิจิทัลในทุกด้านของการเดินทาง รวมถึงการชำระเงินที่ปลอดภัย ชาญฉลาด และเข้าถึงได้ ถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับกระบวนการดังกล่าว ด้วยโซลูชันการชำระเงินขั้นสูง มาสเตอร์การ์ดพร้อมให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลเพื่อยกระดับประสบการณ์ในการเดินทางที่ดียิ่งขึ้นแก่นักเดินทางชาวมุสลิมในประเทศไทย”


รายงาน GMTI ประจำปี 2024 ยังระบุว่า เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังคงเป็นภูมิภาคที่ได้รับความนิยมสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิม โดยมาเลเซียและอินโดนีเซียครองอันดับต้น ๆ ของกลุ่มประเทศมุสลิม (OIC)3 และประเทศสิงคโปร์เป็นประเทศที่ได้รับความนิยมที่สุดในกลุ่มประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม (Non-OIC)

 

“เป็นเรื่องน่ายินดีที่ได้เห็นว่ากลุ่มประเทศในทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้สามารถรักษาอันดับของตนไว้ได้ในรายงาน GMTI ปีนี้ อีกทั้งยังสามารถเพิ่มคะแนนโดยรวมของแต่ละประเทศ ซึ่งสิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงแนวโน้มในการให้ความสำคัญกับนักท่องเที่ยวมุสลิม เห็นได้จากคะแนนเฉลี่ยในดัชนีที่เพิ่มขึ้น 10 เปอร์เซ็นต์” นายฟาซาล บาฮาร์ดีน ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ เครสเซนต์เรตติ้ง กล่าว

 

นอกจากนี้ ในรายงาน GMTI ยังระบุอีกว่า ตลาดการท่องเที่ยวมุสลิมมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างมีนัยสำคัญในปีนี้ โดยมีการคาดการณ์ว่าจะมีนักท่องเที่ยวชาวมุสลิมระหว่างประเทศถึง 168 ล้านคนทั่วโลก ซึ่งสูงกว่าระดับก่อนการเกิดวิกฤตโควิด-19 ถึง 5 เปอร์เซ็นต์ การเติบโตดังกล่าวสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของตลาดนักท่องเที่ยวมุสลิม อันเนื่องมากจากการเติบโตของประชากรและเศรษฐกิจ การพัฒนาบริการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและการท่องเที่ยวฮาลาล รวมถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มีการออกแบบขึ้นเพื่อสร้างประสบการณ์การเดินทางที่ดีสำหรับนักท่องเที่ยวมุสลิมโดยเฉพาะ เช่น แอปพลิเคชันต่าง ๆ ที่ใช้ค้นหาร้านอาหารฮาลาล ค้นหาทิศทางละหมาดหรือกิบลัต (Qibla) และแจ้งเตือนเวลาละหมาด นอกจากนี้การเข้ามาของปัญญาประดิษฐ์ยังมีบทบาทสำคัญในการช่วยออกแบบประสบการณ์การเดินทางให้สะดวกสบายมากยิ่งขึ้น ในขณะเดียวกันก็ยังคงปฏิบัติตามหลักความเชื่อทางศาสนา

 

สำหรับรายงาน GMTI นับเป็นการจัดทำขึ้นเป็นปีที่เก้าแล้ว จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากจุดหมายปลายทาง 145 จุดหมาย โดยใช้เกณฑ์ชี้วัด ACES อันได้แก่ 1. Access: การเข้าถึงหรือการเดินทางเข้าประเทศ 2.  Communications: การสื่อสารหรือการเข้าถึงกลุ่มตลาดและการสื่อสารไปยังตลาดกลุ่มเป้าหมาย 3. Environment: สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเดินทางของนักท่องเที่ยว และ 4. Service: บริการหรือการให้ความช่วยเหลืออำนวยความสะดวกแก่นักเดินทางชาวมุสลิม ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป หลักเกณฑ์ต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาไปตามความต้องการที่เปลี่ยนแปลงของนักท่องเที่ยวมุสลิม ซึ่งปีนี้เองก็ได้มีการเพิ่มเกณฑ์ใหม่เกี่ยวกับความพร้อมของสิ่งอำนวยความสะดวกและบริการสำหรับกลุ่มนักท่องเที่ยวคนพิการในตัวชี้วัด

 

ดาวน์โหลดรายงาน GMTI 2024 ได้ที่นี่: https://www.crescentrating.com/halal-muslim-travel-market-reports.html

 

1 ประเทศที่ไม่ใช่มุสลิม (Non-OIC) คือประเทศที่ไม่ได้เป็นสมาชิกขององค์การความร่วมมืออิสลาม ประเทศเหล่านี้อาจมีประชากรมุสลิมจำนวนมากหรือให้บริการแก่นักท่องเที่ยวมุสลิม แต่ไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของ องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) อย่างเป็นทางการ

2แผนยุทธศาสตร์ การส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยวมุสลิม 5 ปี

3องค์การความร่วมมืออิสลาม (OIC) เป็นองค์กรระหว่างประเทศประกอบด้วย 57 ประเทศสมาชิก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นประเทศที่มีประชากรมุสลิมมากที่สุด โดย OIC มีเป้าหมายที่จะปกป้องและรักษาผลประโยชน์ของโลกมุสลิมในจิตวิญญาณของการส่งเสริมสันติภาพและความสามัคคีระหว่างประเทศ

 

[อ่าน 3,896]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
รู้จักวิตามินช่วยบำรุงสมอง ควรกินอะไรบ้าง เพื่อเสริมความจำ ?
6 เกร็ดความรู้สุขภาพ: เรื่องสำคัญที่วัยทำงานต้องรู้
วิธีล้างจมูกที่ถูกต้อง หายใจสะดวก ลดอาการฟึดฟัดระหว่างวัน
เปรียบเทียบการชาร์จแบบ AC กับแบบอื่นๆ สำหรับรถ EV
เคล็ดลับส่งของยังไง ให้ค่าส่งพัสดุไปต่างประเทศคุ้มค่าที่สุด
5 ประโยชน์ของไม้กันสั่น DJI ที่รู้แล้วจะเข้าใจว่าทำไมควรมี !
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved