จากการสำรวจดังกล่าวยังพบว่า แนวโน้มการใช้จ่ายครั้งต่อไปของนักท่องเที่ยวไทย มากกว่านักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียซึ่งอยู่ที่ 46% และนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ซึ่งอยู่ที่ 36% โดยนักท่องเที่ยวไทยใช้จ่ายต่อทริป อยู่ที่ 49,135.68บาท (1,502 เหรียญสหรัฐ) และคาดว่าจะเพิ่มเป็น 73,670.80 บาท (2,252 เหรียญสหรัฐ) สำหรับการเดินทางในอนาคต ขณะที่ค่าเฉลี่ยการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกอยู่ที่ 38,176.65 บาท (1,677 เหรียญสหรัฐ) และทั่วโลกอยู่ที่ 58,655.31 บาท (1,793 เหรียญสหรัฐ) ตามลำดับ แต่กลับมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยที่เป็นส่วนต่างสำหรับการเดินทางครั้งต่อไปน้อยกว่าประเทศไทยอยู่ที่ 80,007 บาท (2,443 เหรียญสหรัฐ)
ทั้งนี้ จากแนวโน้มในการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวไทยที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากความสะดวกสบายของผลิตภัณฑ์ในการชำระเงินที่มีให้เลือกมากขึ้น ทั้งยังเพิ่มประโยชน์และสิทธิพิเศษที่ตอบโจทย์ความต้องการของนักท่องเที่ยว ดังนั้น นักท่องเที่ยวชาวไทยจึงมีความมั่นใจในการใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ จากการศึกษายังพบอีกว่า เหล่าบรรดานักท่องเที่ยวนิยมชำระเงินผ่านบัตรพลาสติก (บัตรเอทีเอ็ม บัตรเดบิต และบัตรเครดิต) อย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะก่อนการเดินทาง ซึ่งกว่า 76% ของนักท่องเที่ยวชาวไทยชำระเงินผ่านบัตรเพื่อจองตั๋วเครื่องบิน และ โรงแรม ในขณะที่มีการใช้เงินสดเพียง 52% ทั้งนี้ การชำระเงินผ่านบัตรยังได้รับความนิยมในระหว่างเดินทางท่องเที่ยว เนื่องจาก มีโปรโมชั่นที่ดี ค่าธรรมเนียมการทำธุรกรรมที่ต่ำกว่า ได้รับรีวอร์ดมากขึ้นหากใช้จ่ายในต่างประเทศ รวมถึงความปลอดภัยสูงอีกด้วย
สำหรับ ‘บัตรเครดิต’ เป็นอีกหนึ่งช่องทางหลักในการใช้จ่ายระหว่างท่องเที่ยว มีสัดส่วนการใช้กว่า 67% โดย 1 ใน 4 ของนักท่องเที่ยวชาวไทย ใช้บัตรหลายใบในการเดินทางไปต่างประเทศ เพราะสามารถทำธุรกรรมได้เร็วขึ้น มีจุดรับบัตรอย่างแพร่หลายในร้านค้าในต่างประเทศ ค่าธรรมเนียมต่ำ และมีรีวอร์ดมากกว่า นอกจากนี้ กว่า 26% ของนักท่องเที่ยวชาวไทย คาดว่าจะใช้จ่ายเพิ่มขึ้นหากมีจุดรับบัตรที่แพร่หลาย
และอีกหนึ่งช่องทางที่กำลังได้รับความนิยมและเข้ามามีบทบาทมากขึ้น ได้แก่ กระเป๋าสตางค์ดิจิทัล (Digital Wallet) โดยนักท่องเที่ยวที่เดินทางคนเดียวและนักท่องเที่ยวที่เดินทางขณะออกทริปไปทำงานยังต่างประเทศ เป็น 2 กลุ่มนักเดินทางที่ใช้การชำระเงินในรูปแบบนี้มากที่สุดถึง 41% และ 1 ใน 4 ของนักเดินทางชาวไทยเคยชำระเงินด้วย Digital Wallet ในขณะเดินทางท่องเที่ยวในต่างประเทศมาแล้ว
ทั้งนี้ นับเป็น สัญญาณที่ดีที่นักท่องเที่ยวชาวไทยมีการใช้จ่ายในต่างประเทศมากขึ้น และจากช่องทางการชำระเงินที่หลากหลาย ส่งผลเกี่ยวข้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคและนักท่องเที่ยว ให้มีความหลากหลายทางการชำระเงินมากยิ่งขึ้น โดยการยอมรับและทดลองการชำระเงินในรูปแบบใหม่ๆ อาทิ โมบายแอปพลิเคชัน QR Code หรือบัตรพลาสติก จะเป็นตัวแปรสำคัญในการพัฒนาอุตสาหกรรมการชำระเงินให้เติบโต