GIT จัดงานประชุมวิชาการนานาชาติ “GIT 2018” ผลักดันประเทศไทย สู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลก
15 Nov 2018

 

สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)หรือ GIT เดินหน้าผลักดันไทยสู่การเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและ เครื่องประดับโลก โดยจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ (The 6th International Gem& Jewelry Conference 2018 : GIT 2018) เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2561 ณ ห้องจูปิเตอร์ 12–13 อาคารชาเลนเจอร์ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

 

 

นายราเชนทร์ พจนสุนทร ประธานคณะกรรมการสถาบันวิจัย และพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ ได้ให้เกียรติกล่าวเปิดงานและปาฐกถาพิเศษ ในหัวข้อ “อุตสาหกรรมพลอยสีไทยยิ่งใหญ่ไม่แพ้ชาติใดในโลก” โดยมุ่งให้ความสำคัญกับอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับที่สร้างรายได้เข้าสู่ประเทศไทยสูงเป็นอันดับที่ 3 ในบรรดาสินค้าส่งออกทั้งหมด รองจากรถยนต์ และคอมพิวเตอร์ ตามลำดับ เมื่อรวมกับมูลค่าการค้าในประเทศแล้วก่อให้เกิดเม็ดเงินในระบบเศรษฐกิจของประเทศสูงถึงราวปีละ 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท)หรือคิดเป็นสัดส่วนราวร้อยละ 8 ของมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และก่อการให้เกิดการจ้างงานตลอดห่วงโซ่อุปทานประมาณ 2 ล้านคน

 

สินค้าสร้างชื่อและทำรายได้สูงที่สุดได้แก่ พลอยสี ถึงแม้ว่าในปัจจุบันวัตถุดิบพลอยสีที่ขุดได้ในประเทศจะมีจำนวนลดลง เป็นเหตุให้ต้องพึ่งพาการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศจากทวีปแอฟริกา แต่ด้วยความสามารถด้านการปรับปรุงคุณภาพด้วยความร้อน (การเผาพลอย) ที่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่น สืบทอดต่อมาหลายทศวรรษ ทำให้มีพลอยก้อนกว่าร้อยละ 80 ส่งเข้ามาปรับปรุงคุณภาพในประเทศไทย กอปรกับฝีมือการเจียระไนพลอยที่ประณีตสวยงาม จึงทำให้ประเทศไทยยังคงสถานะความเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้พลอยสีที่สำคัญอันดับต้นๆ ของโลก โดยในปี 2560 การส่งออกพลอยสีของไทยมีมูลค่าสูงราว 1,200 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็นร้อยละ 13 ของมูลค่าการส่งออกพลอยสีในตลาดโลก โดยเป็นผู้ส่งออกอันดับที่ 3 รองจากฮ่องกง และสหรัฐอเมริกาโดยเฉพาะจันทบุรีที่เคยเป็นแหล่งวัตถุดิบที่อุดมสมบูรณ์ ขึ้นชื่อคือ“ทับทิมสยาม” แต่จันทบุรีก็ยังคงมีชื่อเสียงด้านการปรับปรุงคุณภาพพลอยสีที่สำคัญ และรัฐบาลก็ให้ความสำคัญโดยมีเป้าหมายที่จะผลักดันให้จันทบุรีสู่การเป็น “นครอัญมณี” อันเป็นกลไกหนึ่งในการผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตและการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกได้ภายในปี 2564

 

กิจกรรมงานประมูลพลอยสีถือเป็นปัจจัยสำคัญประการหนึ่งในการก้าวสู่ “นครอัญมณี” ทั้งช่วยดึงดูดให้มีวัตถุดิบที่หลากหลายและในปริมาณมากไหลเข้ามายังประเทศไทยและยังช่วยจูงใจให้ผู้ซื้อต่างชาติเดินทางเข้ามาเลือกซื้อหาทั้งวัตถุดิบพลอยก้อน พลอยเจียระไนที่เป็นสินค้ากึ่งวัตถุดิบ และเครื่องประดับตกแต่งอัญมณีในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้นด้วย

 

 

รัฐบาลไทยจึงเดินหน้าผลักดันมาตรการต่างๆ เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ รวมทั้งการสร้างความเชื่อมั่น ในคุณภาพมาตรฐานสินค้าที่จะช่วยผลักดันให้ตลาดการค้าอัญมณีและเครื่องประดับไทยอยู่ได้อย่างยั่งยืน สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) ได้จัดทำโครงการ Buy With Confidence ซื้อด้วยความมั่นใจ ผ่านใบรับรองคุณภาพจาก GIT เพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ผู้บริโภค และนักท่องเที่ยว ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญที่จะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับโลกตามนโยบายของรัฐบาล โดยโครงการนี้เป็นการบูรณาการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ได้แก่ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (กรมการท่องเที่ยว และการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย) สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) และกองบัญชาการตำรวจท่องเที่ยว

 

โดยคาดว่าภายในปี 2561 นี้ จะมีผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับเข้าร่วมโครงการนี้จำนวนราว 500 ราย อีกประการที่จะละเลยไปไม่ได้ก็คือ การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ และวิสาหกิจชุมชนด้านอัญมณีและเครื่องประดับให้มีความเข้มแข็งทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค และมีขีดความสามารถเพียงพอต่อการขยายตลาดทั้งในและต่างประเทศ โดยจะต้องพัฒนาทั้งในมิติการผลิตและการออกแบบเพื่อยกระดับคุณภาพมาตรฐานและรูปแบบสินค้าให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด รวมถึงการเพิ่มโอกาสการจำหน่ายอัญมณีและเครื่องประดับผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งออนไลน์ และออฟไลน์ สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยเติบโตได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

 

 

งานประชุมวิชาการนานาชาติในครั้งนี้ สถาบันฯ ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ ได้แก่ Ms. Bryna Pomp Curator -Museum of Arts and Designs (MAD) ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเครื่องประดับให้กับแบรนด์ดังระดับโลก บรรยายในหัวข้อ “Successfully Developing a  Product Strategy and a Brand Identity in Competitive Global Marketplace”  Mr. Richard W. Hughes นักอัญมณีศาสตร์และผู้แต่งหนังสือ Ruby & Sapphire บรรยายในหัวข้อ “Jade” นายปรีดา เตียสุวรรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท แพรนด้า จิวเวลรี่ จำกัด (มหาชน) บรรยายใน หัวข้อ “Thailand Gem & Jewelry Industry andIts Potential of Being the Global Gem & Jewelry Hub”  

 

 

รศ.ดร.วิสุทธิ์ พิสุทธอานนท์ ที่ปรึกษาสถาบันฯ GIT  บรรยายในหัวข้อ “Provenance of Gems: An Identity Challenge” Mr. Zaheer Azizi ประธานกรรมการบริษัท Azizi Enterprises จำกัด บรรยายในหัวข้อ “Paraiba Tourmaline: From Mine to Market” และ Ms. Samantha Tng Strategy Operations Manager of Alibaba.com บรรยายในหัวข้อ “Digital Market Trend for Jewelry Product in China”

 

    ทั้งนี้ผู้ที่สนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถชมการบรรยายย้อนหลังได้ที่ www.git.or.th

[อ่าน 1,852]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
กรุงไทย สำรองเงินสดรองรับการใช้จ่ายช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568 จำนวน 39,390 ล้านบาท
เมืองไทยประกันชีวิต จับมือ Max Card มอบกรมธรรม์สุขกายสุขใจ ต้อนรับปีใหม่
EGCO Group คว้าหุ้นยั่งยืน SET ESG Ratings ปี 2567 ระดับ “AA” ตอกย้ำความมั่นใจนักลงทุนต่อการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน
ทีเอ็มบีธนชาต สำรองธนบัตร 13,000 ล้านบาท ในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2568
กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต มุ่งมั่นสนับสนุนความเท่าเทียม จัดกิจกรรมพนักงาน เนื่องในวันคนพิการสากล ประจำปี 2567
บัตรเครดิตกสิกรไทย จัดโปรซูเปอร์คุ้ม “ฉลองฉ่ำ 8 วันข้ามปี ช้อปคุ้ม 8 หมวด” แลกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 30%* เริ่ม 25 ธ.ค. 67 – 1 ม.ค. 68
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved