สหฟาร์ม ตอกย้ำความแข็งแกร่งในฐานะเจ้าแรกของผู้ผลิตและส่งออกไก่สดแช่แข็ง ไก่แปรรูปแช่แข็งรายใหญ่ของไทย ประกาศรุกธุรกิจประมง แตกไลน์สินค้าใหม่พร้อมสร้างมูลค่า เพื่อผลักดันการส่งออก
ดร.จารุวรรณ โชติเทวัญ ประธานสายการตลาดต่างประเทศ บัญชี การเงิน และเลขานุการประธานกรรมการบริหาร บริษัท สหฟาร์ม จำกัด (SAHA FARMS) เปิดเผยว่า จากงาน ThaiFex 2024 ที่ผ่านมา สหฟาร์มได้ทำการเปิดตัวสินค้าน้องใหม่ “ปลาดุกสหฟาร์ม” พร้อมประกาศรุกธุรกิจประมงเพื่อการส่งออก โดยได้รับเกียรติจากทางอธิการบดีกรมประมงในการเข้าเยี่ยมชมกิจการสหฟาร์มประมงลพบุรี ณ โรงงานสหฟาร์ม จังหวัดลพบุรี เป็นครั้งแรก
ซึ่งสหฟาร์มได้มีโอกาสในการเปิดให้หน่วยงานภาครัฐได้เห็นถึงกรรมวิธีและขั้นตอนการเลี้ยงปลาดุกครบวงจรของสหฟาร์ม ที่มีทั้งพ่อแม่พันธุ์ปลาของตัวเอง มีโรงงานอาหารสัตว์อัดเม็ดสำหรับปลาดุก โดยเฉพาะ อีกทั้งยังมีบ่อปลาดุกธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี และโรงงานหั่นที่ได้มาตรฐานทุกขั้นตอนอย่างละเอียด
“สหฟาร์มต้องการต่อยอดความสำเร็จในธุรกิจอย่างครบวงจร โดยในปีนี้เราได้มุ่งมั่นในผลักดันในธุรกิจประมง เนื่องจากเดิมที สหฟาร์มได้มีการเริ่มดำเนินการเลี้ยงปลาดุกมาตั้งแต่ปี 2545 โดยได้ทำการปรับปรุงสายพันธุ์จนได้เป็นปลาดุกสายพันธุ์เฉพาะของสหฟาร์มเอง โดยตั้งชื่อให้สายพันธุ์นี้ว่า “ปลาดุกบิ๊กอุยสหฟาร์ม” และด้วยกรรมวิธีการเลี้ยงในบ่อดินแบบธรรมชาติ ที่ดูแลและใส่ใจในทุกขั้นตอน จึงทำให้ปลาดุกสหฟาร์มมีรสชาติดี เนื้อสัมผัสแน่น ชุ่มฉ่ำ ไม่มีกลิ่นคาว หนังหนา มีไขมันแทรกในเนื้อ มีคุณค่าทางสารอาหารที่ดีเลิศ เป็นที่นิยมรับประทานของลูกค้าในไทยอย่างแพร่หลาย”
ทั้งนี้ ปลาที่สหฟาร์มทำการขาย จะมีทั้งปลาย่างและปลาโบ้ ซึ่งมีทั้งขายส่งและขายปลีก สำหรับปลาดุกสหฟาร์มจะใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงถึง 4 - 5 เดือน จึงจะสามารถคัดไซส์และจับขายได้ อย่างปลาดุก ขนาด 3 - 4 ตัว/กิโลกรัม จะไว้สำหรับทั้งขายส่ง - ขายปลีก ให้แก่ลูกค้าในจังหวัดต่างๆ อาทิ พิษณุโลก, นครสวรรค์, แม่สอด เชียงราย, เลย, ชัยภูมิ รวมทั้งกรุงเทพฯ และปริมณฑล
ส่วนปลาดุกที่ขนาด 1 - 2 ตัว/กิโลกรัม ก็จะคัดสู่โรงหั่นปลาเพื่อหั่นชิ้นโดยเครื่องจักรที่ทันสมัย มีระบบการจัดการแบบโรงงานที่เน้นเรื่องของความสะอาดในทุกๆ ขั้นตอนการผลิตและทุกๆ ผลิตภัณฑ์ ซึ่งจากกระบวนการอันมีมาตรฐาน และจากความนิยมของลูกค้า บวกกับปลาดุกถือเป็นปลาเศรษฐกิจ จึงทำให้สหฟาร์มต้องการต่อยอดความสำเร็จนี้ ผ่านการผลักดันปลาดุกไทยให้เกิดโอกาสทางการตลาดสู่ประตูการค้าโลก และยังเป็นการเพิ่มทางเลือกของเนื้อสัตว์ให้แก่ผู้บริโภคด้วยเช่นกัน
ขั้นตอนและกรรมวิธีการเลี้ยงปลาดุกสหฟาร์ม เพื่อให้ได้มาซึ่งปลาดุกคุณภาพดีนั้นมีการจัดการแบบพิเศษ โดยกิจการประมงได้นำน้ำที่บำบัดแล้วของสหฟาร์มมาใช้ในการเลี้ยงปลาดุก โดยจะมีการวางระบบน้ำให้เป็นระบบแบบหมุนเวียน ไม่ปล่อยให้น้ำออกนอกบริเวณของที่เลี้ยง น้ำที่เปลี่ยนถ่ายจากการเลี้ยงปลาดุกจะนำมาพักในอ่างเก็บน้ำซึ่งมีประมาณจำนวน 10 ไร่ เพื่อช่วยในการบำบัดน้ำเสีย มีการเติมออกซิเจน (Oxygen) ในน้ำเพื่อเป็นการช่วยบำบัดน้ำอีกทางหนึ่ง
เพื่อให้ปลาขับของเสีย ลดกลิ่นโคลน ลดกลิ่นคาว เราจะมีการถ่ายน้ำออกจากบ่อทุก 1 - 2 สัปดาห์ เพื่อให้น้ำสะอาดและมีคุณภาพที่ดีอยู่เสมอโดยไม่ใช้สารเคมีใดๆ และมีการวางขนาดของบ่อเลี้ยงปลา 1 ไร่ ซึ่งจะจำกัดปริมาณปลาเลี้ยงในปริมาณพอเหมาะ ไม่เกิน 20,000 ตัวต่อบ่อ เพื่อลดความแออัด และเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ สร้างระบบน้ำหมุนเวียนตลอดทำให้ได้ปลาดุกที่มีคุณภาพ แข็งแรง ถูกสุขลักษณะอนามัย ทั้งนี้ในกรณีหากเกิดน้ำเสียระหว่างที่เลี้ยง ก็จะทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำใหม่ทันทีเพื่อไม่ให้ปลาป่วย
ปัจจุบันในบ่อเพาะขยายพันธุ์ปลาดุกสหฟาร์มสามารถผลิตลูกปลาได้ราว 120 ล้านตัว/เดือน โดยสหฟาร์มได้มีบ่อเลี้ยงปลาดุก 375 บ่อ ซึ่งแบ่งเป็น กิจการประมงลพบุรี จำนวน 138 บ่อ/ จำนวน 242 ไร่ และกิจการประมงเพชรบูรณ์ จำนวน 237 บ่อ/จำนวน 600 ไร่ โดยมีกำลังการผลิตทั้งจากของลพบุรีและเพชรบูรณ์ ที่สามารถเลี้ยงปลาได้เฉลี่ย 350 ตัน/เดือน
จากกระบวนการคุณภาพที่ได้มาตรฐานทำให้สหฟาร์ม ได้รับมาตรฐานจีเอพี มกษ.(GAP มกษ.) จากกรมประมง และทางบริษัทฯ ยังได้รับมาตรฐานฮาลาล (Halal) และเครื่องหมายฮาลาล (Halal) จากสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ในสินค้าปลาดุกหั่นเป็นเจ้าแรกของประเทศไทย ซึ่งมาตรฐานฮาลาล (Halal) เป็นมาตรฐานที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้บริโภคและเป็นการเปิดตลาดผู้บริโภคกลุ่มฮาลาล ให้กับสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ ที่จะมีการส่งออกในอนาคต เพราะเครื่องหมายฮาลาล จะเน้นย้ำถึงความสะอาดในกระบวนการการผลิตและการบรรจุภัณฑ์ทุกขั้นตอน ก่อนส่งถึงมือผู้บริโภค
สำหรับปลาดุกสหฟาร์มในขณะนี้มีสินค้า 3 แบบ
“เรามั่นใจในคุณภาพมาตรฐานของปลาดุกสหฟาร์ม ทั้งในจุดเด่นคือเนื้อแน่น หนังหนากว่าปลาดุกที่อื่นๆ ทำให้ตัวปลาจะไม่มีแผลหนังหรือถลอกง่ายเวลาขนส่งปลาสด และเมื่อนำไปประกอบอาหาร เช่น การนำปลาไปย่าง หนังปลาจะไม่หลุดติดตะแกรงย่าง ทำให้ได้ปลาดุกย่างออกมาแล้วเนื้อสวยหนังสวย อีกทั้งยังไม่มีสารเคมีใดๆ ซึ่งก็คาดว่าน่าจะเป็นที่ยอมรับของตลาดต่างประเทศได้ไม่ยาก”
ทั้งนี้ แผนขั้นต่อไป สหฟาร์มตั้งเป้าผลักดันปลาดุกไทยเพื่อการส่งออก โดยยังอยู่ในขั้นตอนการเจรจากับกลุ่มเป้าหมายประเทศเพื่อนบ้าน และแถบประเทศอเมริกา ซึ่งคาดการณ์ว่าจะใช้เวลาในการผลักดันใน 1 - 2 ปี