สถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงาน GIT Research Day 2024 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยของสถาบันและหน่วยงานเครือข่ายสู่ผู้ประกอบการและผู้สนใจทั่วไป ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้สามารถนำไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ในทุกมิติ โดยที่ผ่านมาได้ดำเนินการจัดงาน GIT Research Day เป็นประจำทุกปี
โดยครั้งนี้เป็นครั้ง ที่ 4 ภายใต้ธีม ‘GIT Research Day 2024 : Gem and Jewelry Research Utilization งานสัมมนาเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมด้าน อัญมณีและเครื่องประดับ บูรณาการความร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายสู่การนำไปใช้ประโยชน์’
นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (GIT) กล่าวว่า
อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับของไทย ถือเป็นอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้ให้กับประเทศโดยมีมูลค่าการส่งออกสูงเป็นอันดับต้นๆ และเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ภาครัฐให้ความสำคัญทั้งในด้านการวิจัยพัฒนาและการส่งเสริมการส่งออก โดยมีสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน) เป็นกลไกในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทยในทุกมิติ
สถาบันในฐานะหน่วยงานที่มีพันธกิจหลักในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับอย่างครบวงจร และสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจอัญมณีและเครื่องประดับ ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับ จึงได้บูรณาการความร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย ในการดำเนินโครงการวิจัยหลากหลายด้านที่ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการวิเคราะห์ตรวจสอบอัญมณี เครื่องประดับ โลหะมีค่า การพัฒนามาตรฐานด้านอัญมณีและเครื่องประดับ และการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถของผู้ประกอบการอัญมณีและเครื่องประดับ
เมื่อวันที่ 30 กันยายน 2567 สถาบันได้จัดงาน GIT Research Day 2024: Gem and Jewelry Research Utilization งานสัมมนาเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมด้านอัญมณีและเครื่องประดับบูรณาการความร่วมมือหน่วยงานเครือข่ายสู่การนำไปใช้ประโยชน์ขึ้น โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลายท่าน ทั้งนักวิจัยภายในสถาบันเอง และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันการศึกษาและหน่วยงานพันธมิตรหลายแห่ง ภาคบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ
นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดแสดงตู้แสงและโคมมาตรฐาน LED เพื่อเทียบสีอัญมณีที่ใช้ LED ซึ่งเป็นนวัตกรรมตู้แรกของโลกและผลงานวิจัยในภาคโปสเตอร์ในหัวข้อต่างๆ อาทิ
“GIT จะผลักดัน พัฒนา และยกระดับงานวิจัยด้านอัญมณี เครื่องประดับ และโลหะมีค่า โดยบูรณาการกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันอุดมศึกษา เพื่อดำเนินงานวิจัยให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรม อันจะนำไปสู่การผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับของโลก” สุเมธ กล่าวทิ้งท้าย