Kantar บริษัทวิจัยข้อมูลเชิงลึกทางการตลาดและการวิเคราะห์ชั้นนำของโลก เปิดตัวรายงาน Who Cares? Who Does? Health: Decoding Wellness เกี่ยวกับแนวโน้มด้านสุขภาพทั่วโลก รายงานรวบรวมข้อมูลเชิงลึกจาก 103,000 คน ใน 35 ตลาด ครอบคลุม 4 ทวีป รวมทั้งประเทศไทย เพื่อสำรวจพฤติกรรมและทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อสุขภาพกายและใจ โดยสรุปประเด็นสำคัญ ดังนี้
ช่องว่างระหว่างความตั้งใจและการลงมือทำ
ผู้คนส่วนใหญ่ทั่วโลกเชื่อว่าพวกเขาเป็นผู้รับผิดชอบต่อสุขภาพของตนเอง แต่พวกเขาก็ไม่ได้ลงมือทำตามความเชื่อนั้น มีเพียง 51% ที่ดูแลสุขภาพร่างกายของตนอย่างจริงจัง และมีเพียง 48% ที่พยายามดูแลสุขภาพจิตใจของตนเอง ทั้งนี้ มีเพียง 56% ของคนทั่วโลกที่รู้สึกว่าพวกเขามีสุขภาพกายและใจที่ดีหรือดีมาก
ไม่เพียงแต่ผู้บริโภคเท่านั้นที่มีบทบาทในการรักษาสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี เกือบครึ่งหนึ่งของผู้คน (49%) เชื่อว่าแบรนด์ต่าง ๆ ควรมีบทบาทในการส่งเสริมไลฟ์สไตล์ที่ดีขึ้น และ 47% คาดหวังให้ภาครัฐสนับสนุนนโยบายเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น
การนอนหลับเพื่อรับมือกับความเครียด แต่การใช้หน้าจอเวลานานยังคงเป็นปัญหา
มากกว่าสามในห้าของผู้บริโภค (61%) มองว่าความเครียดเป็นอุปสรรคสำคัญต่อสุขภาพและยากต่อการหลุดพ้น ความเครียดนำไปสู่พฤติกรรมการกินที่ไม่ดี ซึ่งทำให้การควบคุมน้ำหนักยากขึ้น และเพิ่มความเครียดมากยิ่งขึ้นไปอีก นี่เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นทั่วโลก ซึ่งผู้บริโภคมองว่าเป็นทั้งปัญหาทางด้านจิตใจและทางกาย
หลายคนรู้ว่าพวกเขาต้องการการนอนหลับที่ดีขึ้นเพื่อจัดการกับความเครียด โดย 45% ของผู้บริโภคยอมรับว่าการนอนแต่หัวค่ำเป็นกุญแจสำคัญในการลดความเครียด แม้ว่าจะมีเพียงสองในสาม (63%) ที่ได้รับการนอนหลับที่ดีอย่างสม่ำเสมอ สาเหตุหนึ่งอาจมาจากการใช้เวลากับหน้าจอมากเกินไป โดยมีเพียงหนึ่งในสามเท่านั้นที่พยายามลดเวลาหน้าจอ แม้หลายคนจะแสดงความต้องการที่จะลดการเชื่อมต่อทางดิจิทัล
กลยุทธ์การจัดการน้ำหนักทางเลือกกำลังได้รับความนิยม
การจัดการน้ำหนักเป็นความท้าทายสำหรับคนทั่วไป โดย 38% ของผู้บริโภคระบุว่ามันส่งผลเสียต่อสุขภาพของตน แนวทางแบบเดิม เช่น การหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ที่มีแคลอรีสูงและแปรรูป (ใน 71% ของผู้คน) และการออกกำลังกาย (ใน 47% ของผู้คน) ยังคงได้รับความนิยม อย่างไรก็ตาม เครื่องมือใหม่ ๆ เช่น แอปพลิเคชันการติดตามอาหารเริ่มเป็นที่ใช้กันถึง 8% ของผู้บริโภคทั่วโลก และมีการตระหนักรู้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยเกี่ยวกับยารักษาโรคอ้วน GLP-1
ยา GLP-1 อย่าง Ozempic และ Wegovy ปัจจุบันถูกใช้เพียง 3% ของผู้บริโภค แต่เป็นตัวเลขที่สูงด้วยสามเหตุผล ได้แก่ หนึ่ง พิจารณาว่าพวกมันยังใหม่ต่อตลาด สอง การขาดแคลนอาจจำกัดการจัดจำหน่ายในบางภูมิภาค และสาม ราคาสูงยังเป็นอุปสรรคสำหรับหลายคนที่สนใจจะลองใช้ผลิตภัณฑ์เหล่านี้ แม้ว่ายานี้จะเป็นที่พูดถึงในหมู่คนดัง ตัวเลขเหล่านี้บ่งชี้ถึงการเปิดรับแนวทางการจัดการน้ำหนักแบบใหม่ในหมู่คนทั่วไป
พฤติกรรมการทานขนมทำให้เกิดการบริโภคอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล
การรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลจำพวกอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลถูกมองว่าเป็นภัยต่อสุขภาพโดยสามในสิบคน แม้ว่า 62% จะมองว่าอาหารแปรรูปมีอันตราย แต่มีเพียง 37% เท่านั้นที่หลีกเลี่ยง ขณะที่เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลก็เช่นกัน โดย 73% มองว่าอันตรายแต่มีไม่ถึงครึ่ง (48%) ที่ลดการบริโภค
เหตุผลหนึ่งที่ทำให้การดึงดูดของอาหารแปรรูปและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลยังคงแข็งแกร่งคือพฤติกรรมการทานขนมที่ครองตลาดอยู่ ขนมขบเคี้ยวและเครื่องดื่มอัดลมมีการเข้าถึงสูงสุดในกลุ่มผลิตภัณฑ์ FMCG โดยมีการเข้าถึงสูงแตะ 90% และ 77% ตามลำดับ ความแพร่หลายและการเข้าถึงได้ง่ายของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ทำให้การหลีกเลี่ยงของผู้บริโภคเป็นไปได้ยาก เช่นเดียวกับการที่สองในสามคนระบุว่าการได้ทานขนมนั้นเป็นสิ่งสำคัญ
ผู้บริโภครู้สึกว่าถูกจำกัดในการทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ
ต้นทุนส่งผลเป็นอย่างมากต่อความสามารถในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยกว่าครึ่ง (52%) ระบุว่าต้นทุนสูงของสินค้เพื่อสุขภาพเป็นอุปสรรคหลักต่อการซื้อ ขณะที่ความไม่น่าเชื่อถือและความสับสนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพในบรรจุภัณฑ์ยังคงเป็นปัจจัยที่ขัดขวางผู้บริโภคในการเลือกเพื่อสุขภาพ
ผู้คนต้องการทำสิ่งที่ดีกว่าแต่ก็ติดอยู่ในวงจรของความเครียด พฤติกรรมการกินที่ไม่ดี และอุปสรรคต่อการจัดการน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมักถูกเพิ่มขึ้นโดยต้นทุนที่สูง แบรนด์ต่าง ๆ มีโอกาสสำคัญในการสร้างความเปลี่ยนแปลง ด้วยการทำให้เข้าถึงได้ง่าย มีความโปร่งใส และตอบโจทย์ด้านอารมณ์ พวกเขาสามารถช่วยเชื่อมช่องว่างระหว่างความต้องการของผู้คนกับความเป็นจริง ช่วยปรับปรุงผลลัพธ์ด้านสุขภาพให้ดียิ่งขึ้นทั่วโลก
เปลี่ยนอุปสรรคเป็นโอกาสในตลาดประเทศไทย
ชีวานนท์ ปิยะพิทักษ์สกุล ผู้จัดการฝ่ายการตลาดอาวุโส ประเทศไทยและมาเลเซีย Kantar Worldpanel แนะนำสำหรับแบรนด์ในตลาดผู้บริโภคไทย เพื่อเปลี่ยนอุปสรรคให้เป็นโอกาส “แบรนด์ในประเทศไทยมีโอกาสที่ดีในการช่วยให้ผู้บริโภคบรรลุเป้าหมายด้านสุขภาพโดยแก้ไขปัญหาเรื่องราคา ความสะดวก ความโปร่งใส และตอบโจทย์ความต้องการทางอารมณ์ ผู้บริโภคต้องการความชัดเจนในข้อมูลสินค้า โดยสินค้าต้องมีข้อความที่ไม่สร้างความสับสน การสื่อสารที่ตรงไปตรงมาและฉลากที่เข้าใจง่ายจะสร้างความน่าเชื่อถือให้แบรนด์
สุขภาพไม่ใช่การห้ามตัวเองไปทั้งหมด แต่เป็นการหาสมดุลระหว่างสุขภาพและการใช้ชีวิตที่สนุกสนาน แบรนด์สามารถเติมเต็มความสัมพันธ์ทางอารมณ์ผ่านผลิตภัณฑ์ที่สร้างความสุขและการเข้าใจผู้บริโภค
นอกจากนี้ การให้ความรู้และแคมเปญการตลาด จะช่วยกระตุ้นพฤติกรรมที่ดีในกลุ่มที่กำลังเริ่มสนใจสุขภาพ ส่วนกลุ่มที่เพิ่งเริ่มต้น แบรนด์ควรเน้นที่ความเรียบง่าย ความคุ้มค่า และข้อมูลที่เข้าใจง่าย”