SX2024 ชวนรับมือกับภัยพิบัติ ชี้งานดีไซน์ช่วยโลกวิกฤต และคืนสมดุลให้ธรรมชาติ
09 Nov 2024

SX 2024 จัดเสวนา Design for Climate Adaptation: ออกแบบเพื่อปรับตัวเมื่อโลกวิกฤต” ชวนผู้ทรงคุณวุฒิจากสาขาต่างๆ พูดคุยเรื่อง การออกแบบเพื่อปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง ลดความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบที่จะเกิดขึ้น โดยได้รับเกียรติจาก คุณชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ Chief Sustainability Officer สถาบันเกษตรกรรมและสถาปัตยกรรมธรรมชาติเพื่อระบบนิเวศเมืองและชนบท คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Design for Disasters Foundation (D4D) ดร. พลพัฒน์ นิลอุบล หัวหน้าศูนย์วิจัย Water Adaptation Innovation Center (WAIC) ร่วมแสดงความคิดเห็น

 

 

คุณวิภาวี คุณาวิชยานนท์ เล่าว่า Butterfly Effect หรือปรากฏการณ์ผีเสื้อขยับปีกสามารถเกิดขึ้นจริงเมื่อ หลายปีก่อนเกิดสึนามิสูงถึง 200 เมตรที่กรีนแลนด์ยาวนานถึง 9 วัน 9 คือ เพราะภูน้ำแข็งที่ห่างออกไปละลาย ยิ่งไปกว่านั้นมนุษย์อาศัยอยู่บนชั้นเปลือกโลกบางๆ ที่ลอยอยู่บนแมกม่า ทำให้ทุกสิ่งล้วนส่งผลกระทบต่อกัน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่หนึ่งก็สามารถส่งผลกระทบถึงพื้นที่ที่ห่างไกลออกไป ปรากฏการณ์อย่างภูเขาระเบิดหากเกิดขึ้นในที่ที่ไม่มีคนก็ไม่เป็นไร แต่หากเราเลือกที่จะอาศัยอยู่ใกล้พื้นที่เสี่ยง เราก็ควรเตรียมความพร้อมและวางแผนเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยใช้การออกแบบทั้งด้านสถาปัตยกรรม ออกแบบภายใน เครื่องนุ่งห่ม ผลิตภัณฑ์หรือแม้กระทั่งกราฟฟิกที่ใช้ในการสื่อสารก็สามารถช่วยเพิ่มความสามารถในการรับมือวิกฤตต่างๆ ได้ ยกตัวอย่างการออกแบบบ้านในอดีตของชุมชนท่าขนอน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ที่สร้างบ้านจากไม้ไผ่ทำให้ลอยน้ำได้ และผูกบ้านไว้กับเสาสี่ด้านเพื่อไม่ให้บ้านหลุดลอยไปเมื่อน้ำขึ้น ในยุคปัจจุบันมีตัวอย่างประเทศญี่ปุ่นที่สร้างกำแพงกันคลื่นสูงถึง 12 เมตร แต่ยังไม่สามารถกั้นสึนามิได้จนต้องสร้างให้สูงอีกเป็น 15 เมตร 

 

คุณวิภาวี เปรียบสังคมเป็นขวดโหลที่ใส่หินหลายขนาดไว้ หินก้อนใหญ่เปรียบเหมือนภาครัฐ ประชาชนเป็นหินก้อนเล็กที่เข้ามาเป็นส่วนเสริม ช่วยกันใช้ประโยชน์จากทรัพยากรที่มีให้เกิดประโยชน์สูงสุด หากเรารู้เหตุปัจจัยทำให้ภัยพิบัติเกิดขึ้น เราก็สามารถบริหารจัดการได้ แต่เราต้องไม่เบียดเบียนตัวเองและผู้อื่น เมื่อได้รับคำถามว่านักออกแบบหรือศิลปินจะสร้างความสามารถในการปรับตัวอย่างไร คุณวิภาวี กล่าวว่า “ในฐานะมนุษย์คนหนึ่งและนักออกแบบ เราต้องรู้ว่าสิ่งที่สำคัญและสิ่งที่จำเป็นกับชีวิตมีความแตกต่างกัน แล้วเราจะเลือกอะไรในเวลาที่เรามีทรัพยากรที่จำกัด ในเวลาที่จำกัด ศิลปะคือการใช้ชีวิต การเลือกของเราในแต่และวัน การออกแบบคือการตัดสินใจ ไม่ว่าเราจะเดินไปไหน เราก็ต้องตัดสินใจแล้ว เราควรทำอย่างมีสติและเรียงลำดับความสำคัญและความจำเป็น”

 

 

ดร. พลพัฒน์นิลอุบล กล่าวว่า “เมื่อโลกประสบภัยพิบัติมากขึ้น ทุกคนพูดถึงคำว่าว่าResilience” หรือความสามารถในการฟื้นตัวและสร้างภูมิคุ้มกัน แต่เรามักมีคำถามว่าเราควรปรับตัวที่ไหน เมื่อใด และอย่างไร หากเรามองการแก้ปัญหาในภาพรวม เวลารัฐบาลแก้ปัญหาจากด้านบน มักเป็นการมองภาพใหญ่ และลงทุนในโครงการที่ใช้เม็ดเงินมากและระยะเวลาในการดำเนินการนาน เช่น การสร้างอุโมงค์ยักษ์เพื่อระบายน้ำท่วม จากด้านล่างประชาชนก็ปรับตัวในแบบAutonomous Adaptationเช่น การดีดบ้านให้สูงขึ้น แต่สุดท้ายแล้วปัญหาน้ำท่วมยังคงอยู่และกลับมาทุกปี”  ดร. พลพัฒน์ จึงชวนทุกคนมองความเป็นไปได้ในการพัฒนาจากตรงกลาง ได้แก่ การร่วมมือกันเป็นกลุ่มก้อน หรือ Opportunistic Adaptation และนำ Building Lifecycle มาเป็นแนวทางในการออกแบบว่าเราควรปรับตัวที่ไหน เมื่อใด และอย่างไร

เรามองความเสื่อมเป็นการทำให้ใหม่เพื่อปรับตัว ขอยกตัวอย่างเขตลาดกระบัง เราสำรวจอายุและความเสื่อมของถนนและอาคารต่างๆ และมองเห็นว่าอาคารไหนหรือถนนใดกำลังหมดอายุ เราสามารถทำนายไปอีก100 ปีข้างหน้าว่าเราจะสามารถเข้าไปปรับปรุงพื้นที่ตรงไหน และเมื่อใดบ้าง ทำให้สามารถเลือกใช้โซลูชันที่เหมาะสม โดยดูตัวอย่างการพัฒนาจากทั่วและเลือกดซลูชันที่มีความยืดหยุ่นมาปรับใช้ให้เหมาะกับพื้นที่ของเรา”  ดร. พลพัฒน์ ยังได้ยกตัวอย่างโครงการ  Flood Adaptation จากทั่วโลกที่นำการออกแบบมาพัฒนาพื้นที่ติดแม่น้ำและแหล่งน้ำ สร้างเป็นสวนหรือพื้นที่สาธารณะที่สามารถใช้สอยเป็นสวนสาธารณะ หรือแม้แต่พื้นที่เช่าสำหรับห้างร้านในฤดูแล้ง แต่สามารถปล่อยให้น้ำท่วมได้ในฤดูที่มีน้ำหลาก

สำหรับการเป็นสถาปนิกและดีไซเนอร์ เราเป็นตัวกลางที่เชื่อมโยงชุมชนและผู้มีส่วนในการตัดสินใจ หากสามารถทำให้สองกลุ่มนี้เห็นภาพร่วมกันว่าอนาคตของเมืองและคุณภาพชีวิตที่ดีเป็นอย่างไร เราจะสามารถจูงใจให้ทุกคนเข้ามาลงมือทำและร่วมกันปรับตัวเพื่อเมือง” ดร. พลพัฒน์ สรุป

 

คุณชุตยาเวศ สินธุพันธุ์ อธิบายว่า Climate Change หรือการเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศเป็น การเปลี่ยนแปลงระยะยาวที่จะอยู่กับเราต่อไป และจะนำไปสู่ความยากจนและการผลัดถิ่นมากขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วโลก ตอนนี้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น  2 องศา เร็วกว่าที่คาดไว้กว่าร้อยปี ด้วยการพัฒนาของมนุษย์ คุณชุตยาเวศ เน้นย้ำว่า ธรรมชาติถูกเสมอเพราะมอบหน้าที่ให้ทุกสิ่งระบบนิเวศวิทยา เพื่อรักษาสมดุลให้คงอยู่ต่อ ยกตัวอย่างการค้นพบของชาลส์ ดาร์วินที่พบดอกกล้วยไม้ ซึ่งมีกระเปาะเก็บน้ำหวานยาวกว่า 20 เซนติเมตร ณ มาดากัสการ์ ทำให้เขาตั้งสมมติฐานว่าต้องมีแมลงที่สามารถใช้ประโยชน์จากกระเปาะนี้ หลังผ่านไปกว่าร้อยปีจึงมีการค้นพบผีเสื้อกลางคืนที่มีจมูกยาวสามารถดูดน้ำหวานได้ตามที่ชาลส์ ดาร์วินคาดเดา ในป่าของไทยก็มีกระทิงซึ่งมีหน้าที่คอยเล็มหญ้า และมีเสือที่ล่ากระทิง เพื่อกันควบคุมปริมาณกระทิงไม่ให้เล็มหญ้าและพืชพรรณต่างๆ มากเกินไป

สิ่งที่เกิดขึ้นตอนนี้คือ ธรรมชาติพยายามทำให้สมดุลกลับคืนมา มนุษย์ตัดป่าเพื่อทำการเกษตร ทำประมงน้ำลึกที่ทำความเสียหายต่อพื้นทะเล สร้างเมืองใหญ่ตรงปากแม่น้ำที่ควรเป็นพื้นที่น้ำท่วมและมีการตกตะกอน ทุกคนควรเรียนรู้จากธรรมชาติและนำมาออกแบบเมือง หรือรูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่ฝืนธรรมชาติ เช่น ในอดีต โครงสร้างเมืองมักเป็น Organic Shape คล้ายลายใบไม้ เพราะคนสมัยก่อนดูบริบทของพื้นที่ก่อนลงหลักปักฐาน คุณชุตยาเวศยกตัวอย่างมดที่เกาะกันเป็นแพจนสามารถลอยน้ำได้ เราสามารถนำแรงบันดาลใจตรงนี้มาสร้างเมืองลอยน้ำ และมอบหมายหน้าที่ให้คนแต่ละกลุ่มในเมือง เช่น ดูแลสวนที่สร้างอาหาร สร้างพลังงาน และบำบัดของเสีย การเคหะแห่งชาติของไทยก็ได้ทดลองออกแบบและสร้างบ้าน สะเทินน้ำสะเทินบก หรือ Amphibious House ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งประสบปัญหาน้ำท่วมทุกปี  

คุณชุตยาเวศ กล่าวว่า การคืนสมดุลให้ธรรมชาติ ต้องสนับสนุนธรรมชาติให้ธรรมชาติรักษาตัวเอง “ประเทศไทยเรามีตัวอย่างการฟื้นฟูป่าโดยมูลนิธิแม่ฟ้าหลวงฯ ที่ฟื้นฟูป่าโดยการพัฒนาคน ให้คนมาดูแลป่าและไม่กลับมาทำลายป่า เรามีหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่สอนให้รู้จักประมาณตนเอง ขับเคลื่อนการพัฒนาด้วยเหตุผลและคุณธรรม เป็นทางสายกลางของการพัฒนาที่ไม่ฝืนธรรมชาติ” 

ผมคิดว่าการพัฒนาต้องเริ่มจากตัวเรา เมื่อก่อนผมบ้ารถยนต์มาก เคยมีรถเกือบ30 คัน ณ ปัจจุบันผมใช้รถมือสองของคุณป้าคันเดียวซึ่งอายุประมาณ20 ปีแล้ว แต่ผมยังใช้ไม่ถึงแสนกิโลเมตรเพราะผมตัดสินใจว่าการขี่จักรยานในเมืองเป็นสิ่งที่ทำได้ ไม่ว่าเราเป็นใครหรือเราเป็นอะไร ผมอยากให้เริ่มที่ตัวเราเองก่อน ถ้าเราอยากทำให้เมืองดีขึ้น ถามตัวเองว่าเราเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เมืองดีขึ้นแล้วหรือยัง อย่าไปเป็นคนที่บอกคนอื่นว่าควรทำอะไร เราควรจะทำเองก่อน”

 


ติดตามข่าวสาร ความเคลื่อนไหว รวมถึงกิจกรรมของ Sustainability Expo (SX)  ได้ที่ Facebook Page : Sustainability Expo, และแอดไลน์ @sxofficial 

[อ่าน 1,592]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
KBank แนะแบ่งสัดส่วนลงทุนในจีน โดยกระจายความเสี่ยงผ่านกองทุนหุ้นเอเชีย
เบเยอร์ ชวนตามรอยเช็คอินปักหมุด ฝาท่อ 18 แบบ ศิลปะถ่ายทอดวิถีชีวิตชาวกรุง จากศิลปินนักออกแบบ 8 ท่าน รอบกรุง
ออนิกซ์ฯ รุกขยาย “ชามา” ทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชูจุดแข็งด้าน “ทำเล” มุ่งสู่มาตรฐานสากล
Meta ประกาศรางวัล Meta Agency First Awards 2024 ชูความเป็นเลิศและความสำเร็จของอุตสาหกรรมสื่อการตลาดทางดิจิทัลในไทย
ซัมซุง ยกระดับมาตรฐานความรู้ ความชำนาญให้กับพันธมิตร
เซ็นทรัล คว้ารางวัลพระราชทาน “ความเป็นเลิศด้านการตลาด” เป็นครั้งที่ 2
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved