เอปสันจัดงาน "Epson’s Regional Laser Projection Showcase 2019" แสดงนวัตกรรมเลเซอร์โปรเจคเตอร์ในรูปแบบสุดสร้างสรรค์ พร้อมจัดแสดงโปรเจคชั่นแมปปิ้งสุดอลังการ ณ มิวเซียมสยาม
ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการ บริษัท เอปสัน (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า หลังจากเปิดตัวเลเซอร์ โปรเจคเตอร์อย่างเป็นทางการในปี 2559 เอปสันได้พัฒนาและเปิดตัวนวัตกรรมเลเซอร์โปรเจคเตอร์ออกสู่ตลาด อย่างต่อเนื่อง จนมีทางเลือกให้กับลูกค้าในทุกอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นองค์กรธุรกิจ สถาบันศึกษา ธุรกิจบันเทิง ออร์แกไนเซอร์ รวมไปถึงการจัดงานประเภทต่างๆ ทั้งนิทรรศการ งานประชุม งานแสดงสินค้า งานแสดงดนตรี พิพิธภัณฑ์ เป็นต้น
“การจัดงาน Epson’s Regional Laser Projection Showcase 2019 ครั้งนี้ เป็นการรวมนวัตกรรมและเทคโนโลยีเอปสันเลเซอร์โปรเจคเตอร์มานำเสนอในรูปแบบที่สร้างสรรค์ โดยจำลองโซลูชั่นของการใช้งานโปรเจคเตอร์ในธุรกิจต่างๆ มาจัดแสดง เพื่อให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการใช้งานจริง”
ภายในงาน "Epson’s Regional Laser Projection Showcase 2019" เอปสันได้จัดแสดงเลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่นใหม่ในสภาพแวดล้อมที่หลากหลาย เพื่อนำเสนอวิธีใช้งานโปรเจคเตอร์เหล่านี้ร่วมกับเทคโนโลยีอื่นๆ ซึ่งได้นับว่าเป็นการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาปรับใช้ในการทำงานหรือสภาพแวดล้อมใกล้ตัว อีกทั้งยังช่วยสร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ได้อีกด้วย
โดยมีการนำเสนอเอปสันเลเซอร์โปรเจคเตอร์ในสถานที่จำลองต่างๆ อาทิ ห้องเวิร์คช้อปของแฟชั่นดีไซน์เนอร์โชว์รูมร้านค้าปลีก หรือห้องพักผ่อนสำหรับพนักงานภายในออฟฟิศ โดยนำไฮไลท์จุดเด่นของอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์รุ่นฉายระยะสั้นพิเศษ (Ultra Short Throw) ที่มีความหลากหลายในการใช้งานและมีแอพพลิเคชั่นที่ทันสมัยมานำเสนอได้เป็นอย่างดี
ยกตัวอย่างเช่น การใช้อินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์รุ่น EB-1470Ui จำนวน 2 เครื่อง มาฉายภาพพาโนรามาขนาด 177 ตารางนิ้ว ในห้องเวิร์คช้อปของแฟชั่นดีไซน์เนอร์ เพื่อใช้ในการประชุมวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์กับทีมงาน ในขณะที่ดีไซน์เนอร์เองก็สวมแว่นตาอัจฉริยะ Moverio และใช้ซอฟท์แวร์ KDDI Augmented Reality Recognition เพื่อสื่อสารและรับฟังความคิดเห็นของทีมงานที่ทำงานอยู่คนละแห่งได้
ส่วนการจัดแสดงในโชว์รูมของดีไซเนอร์ เอปสันนำเสนอขั้นตอนการออกแบบผ้ากันเปื้อนของดีไซเนอร์ ซึ่งสามารถทำงานได้อย่างสะดวกสบาย โดยดีไซเนอร์สามารถเลือกแบบและเทมเพลทจากแอพพลิเคชั่นในแท็บเล็ต พร้อมดูผลงานการออกแบบบนผ้ากันเปื้อนจากการฉายภาพทับซ้อนด้วยเครื่องเลเซอร์โปรเจคเตอร์ LightScene ที่กำหนดสีและรูปทรงได้ตรงกับตัวชิ้นงาน ก่อนดีไซเนอร์จะส่งแบบนั้นไปพิมพ์ผลงานจริงด้วยเครื่องพิมพ์สิ่งทอของเอปสันต่อไป
สำหรับห้องโชว์รูมร้านค้าปลีก จะเป็นการจำลองห้องลองเสื้อผ้าเสมือนจริงแบบอินเตอร์แอคทีฟ ที่ใช้เครื่องอินเตอร์แอคทีฟโปรเจคเตอร์รุ่นระยะฉายสั้น เพื่อฉายภาพชุดเสื้อผ้าที่ลูกค้าเลือกไว้ลงบนตัวลูกค้า เพื่อดูว่าลูกค้าจะถูกใจหรือไม่ก่อนตัดสินใจซื้อ
ส่วนห้องพักผ่อนพนักงานภายในออฟฟิศ จะใช้เลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่น EB-L610U ฉายภาพจากด้านบนลงเคาน์เตอร์บาร์ เพื่อสร้างภาพและบรรยากาศสุดผ่อนคลาย ในขณะที่โซนออกกำลังกายของพนักงานก็มีการนำเลเซอร์โปรเจคเตอร์ LightScene มาฉายภาพทิวทัศน์ที่หลากหลาย เพื่อทำให้พนักงานได้เพลิดเพลินในขณะที่ปั่นจักรยานได้อีกด้วย
นอกจากนี้ ยังมีเลเซอร์โปรเจคเตอร์สำหรับใช้งานภายในบ้านรุ่น EH-LS100 ที่สามารถฉายภาพขนาดใหญ่ถึง 100 ตารางนิ้วได้ในระยะฉายเพียง 26 เซนติเมตร ซึ่งจะสร้างอรรถรสในการรับชมได้เป็นอย่างดี
“ด้วยวิธีการนำเสนอที่สร้างสรรค์เช่นนี้ บริษัทและร้านค้าต่างๆ จะเห็นภาพได้อย่างชัดเจน ว่าเลเซอร์โปรเจคเตอร์ของเอปสันสามารถนำไปปรับใช้ได้อย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นการช่วยยกระดับกระบวนการทำงาน และเพิ่มมูลค่าให้แก่ธุรกิจและลูกค้าของ พวกเขาได้เต็มที่” ยรรยง ปิดท้าย
Projection Mapping ณ มิวเซียมสยาม
เอปสันได้นำ EB-L25000U เลเซอร์โปรเจคเตอร์รุ่นความสว่างสูงสุด 25,000 ลูเมนส์ ซึ่งมี contrast ratio มากกว่า 2,500,000 : 1 จำนวน 2 เครื่อง พร้อมเลนส์ ELPLU05 มาใช้ทำเทคนิคโปรเจคชั่นแมปปิ้งบนผนังกำแพงนอกอาคารมิวเซียมสยาม เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวและสีสันของวัฒนธรรมไทยอย่างสุดตระการตา
เติมเต็มประสบการณ์ผู้เข้าชมมิวเซียมสยามด้วยโปรเจคเตอร์จากเอปสัน
เอปสันโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงถูกนำมาใช้อย่างสร้างสรรค์ภายในมิวเซียมสยาม เพื่อทำหน้าที่เล่าเรื่องราววัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยให้ออกมาอย่างมีชีวิตชีวา และดึงดูดความสนใจของผู้เข้าชมได้อย่างเต็มที่ โดยมิวเซียมสยามได้ติดตั้งโปรเจคเตอร์รุ่น EB-G7400U จำนวน 9 เครื่อง ใน 4 ห้องจัดแสดงจากทั้งหมด 14 ห้อง โดยเครื่อง EB-G7400U ถือเป็นโปรเจคเตอร์ความสว่างสูงของเอปสัน ที่มีความสว่างถึง 5,500 ลูเมนส์ ทั้งนี้พิพิธภัณฑ์ได้เลือกใช้โปรเจคเตอร์รุ่นนี้เพราะมีความยืดหยุ่นและความสะดวกในการติดตั้งสูง
มิวเซียมสยามก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2550 เพื่อทำหน้าที่เป็นพิพิธภัณฑ์เพื่อการเรียนรู้ มุ่งเน้นบอกเล่าเรื่องราวความเป็น ไทย ประวัติศาตร์ไทย ตลอดจนวิวัฒนาการของวัฒนธรรมและประเพณีไทย โดยเชิญชวนให้ผู้เข้าชมได้เล่นและ เรียนรู้ผ่านวัตถุจัดแสดงระบบอินเตอร์แอ็คทีฟซึ่งนำเสนอการพัฒนาของชาติไทยนับตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน
กำเนิดความเป็นไทย (โปรเจคเตอร์ 3 เครื่อง)
ห้องจัดแสดงนี้นำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์ไทยในระยะเวลา 15 นาที โดยผ่านการจัดแสดงที่มีเอปสันโปรเจคเตอร์ 3 เครื่อง ทำหน้าที่เล่าเรื่องพร้อมองค์ประกอบของแสง ดนตรี และการเคลื่อนไหวของวัตถุผ่านระบบไฮดรอลิค
3 เสาหลักของแผ่นดินไทย (โปรเจคเตอร์ 1 เครื่อง)
ห้องจัดแสดงนี้บอกเล่าหัวใจของความเป็นไทย ได้แก่ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ผ่านการเชิญชวนให้ผู้เข้าชมประกอบลูกบาศก์ที่มี QR code กำกับเข้าด้วยกัน เพื่อไขปริศนาที่เกี่ยวกับสถาบันหลักและศาสนาในไทยบนหน้าจอ
บทเรียนภาษาไทย (โปรเจคเตอร์ 1 เครื่อง)
ภาพบนกำแพง แสดงพัฒนาการของการศึกษาไทย ขณะที่การจัดแสดงภายในห้องเน้นนำเสนอพัฒนาการของ ห้องเรียนในไทย ภาพที่ฉายออกจากโปรเจคเตอร์ช่วยให้ภาพที่ถูกนำเสนอมีขนาดใหญ่ขึ้น เปิดโอกาสให้นักเรียน ทั่วทุกมุมเห็นรายละเอียดได้อย่างชัดเจนและเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิผลมากขึ้น
รสชาติไทย (โปรเจคเตอร์ 4 เครื่อง)
ห้องจัดแสดงนี้นำเสนอการปรุงอาหารไทยด้วยวิธีสุดสร้างสรรค์ระดับนวัตกรรม เพราะเปิดโอกาสให้ผู้เข้าชมได้เล่นสนุกกับจานเปล่า โดยจานแต่ละใบมี QR Code กำกับอยู่ เมื่อนำจานมาวางบนโต๊ะ ระบบจะอ่านรหัสดังกล่าว และนำเสนอข้อมูลที่เกี่ยวข้อง