ฝุ่นจิ๋ว PM 2.5 กลายเป็นวาระแห่งชาติที่ขยายผลไปขนาดว่า ถ้าใครแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้ เอาตำแหน่งนายกรัฐมนตรีกันไปเลย ไม่ต้องมาเสียเวลาแถลงนโยบาย คนไทยพร้อมใส่พานอวยกันเลยทีเดียว
ทำไมฝุ่นจิ๋วจึงมีพลานุภาพขนาดนั้น ?
ในแง่สุขภาพ ฝุ่นจิ๋วมีผลกระทบโดยตรง หากปะทะเข้าจมูกหรือปาก ฝุ่นละอองขนาดใหญ่กว่านี้บางส่วนจะถูกขับออกมาเป็นเสมหะและสามารถแพร่กระจายเข้าสู่ระบบทางเดินหายใจ ถุงลมในปอดและผ่านเข้าสู่กระแสเลือดไปยังอวัยวะต่างๆ เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคเรื้อรังและมะเร็ง หากสะสมอยู่ในอวัยวะใดนานๆ แต่ที่น่ากังวลคือ การตั้งค่ามาตรฐานแบบหย่อนยานของประเทศไทยที่มีสุขภาพของคนไทยเป็นเดิมพัน โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับค่ามาตรฐานจากองค์การอนามัยโลกกับกรมควบคุมมลพิษของไทย
เรื่องฝุ่นนอกจากทำลายสุขภาพแล้วยังทำลายเศรษฐกิจในภาพเป็นมูลค่ามหาศาลอย่างคาดไม่ถึง ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินตัวเลขความเสียหายไม่ต่ำกว่า 2,600 ล้านบาท หากสถานการณ์คลี่คลายได้ ภายใน 1 เดือนสอดคล้องกับตัวเลขนักท่องเที่ยวจาก กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ที่ประเมินว่า ปีนี้นักท่องเที่ยวจะต่ำกว่าที่คาด 10 ล้านคน ส่วนหนึ่งเพราะปัญหาฝุ่น
โดย วีระศักดิ์ โควสุรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ยอมรับว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ อาจน้อยกว่าประมาณการณ์ที่ควรจะเป็นของปีนี้ 41 ล้านคน หรืออาจลดลงเมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่ 38 ล้านคน แต่เห็นว่า จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งปีที่ 30 ล้านคน น่าจะเป็นระดับที่เหมาะสมและสอดคล้องกับความพร้อมของสถานที่ท่องเที่ยวและระบบโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน
ทั้งนี้ วีระศักดิ์ กล่าวว่า เมืองใหญ่ทั่วโลกล้วนเผชิญปัญหาฝุ่นละอองขนาดเล็ก ดังนั้น จึงจำเป็นต้องยอมรับสภาพของผลกระทบต่อเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้น ซึ่งคนไทยเพิ่งตื่นตัว เพื่อนำไปสู่การเรียนรู้และร่วมมือกันแก้ไขปัญหา ซึ่งกระทรวงฯ พร้อมให้ความร่วมมือกับทุกฝ่าย เพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวและอาจจำเป็นต้องเสนอใช้มาตรการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อประคองสถานการณ์การท่องเที่ยวในปีนี้ เนื่องจากสถานการณ์เรื่องฝุ่นจิ๋วของไทยได้ถูกเผยแพร่ในสื่อต่างๆ ทั่วโลกแล้ว
หลบฝุ่นจิ๋วเฉพาะหน้า
มาตรการยอดฮิตของภาครัฐกับสถาบันการศึกษาไม่ว่าจะเป็นการแก้ปัญหาใดๆ ที่ง่ายที่สุดคือการสั่งหยุดเรียน เพื่อลดการเดินทางของผู้ปกครอง นักเรียน แต่สำหรับกรณีฝุ่นจิ๋วดูจะเป็นเหตุผเป็นผลในแง่การดูแลสุขภาพอนามัยของเด็กด้วย เนื่องจากเด็กๆ ที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าผู้ใหญ่หากรับฝุ่นจิ๋วก็จะได้รับผลกระทบเชิงสุขภาพมากกว่าผู้ใหญ่ ที่สำคัญก่อนหน้านี้เด็กนักเรียนและผู้ใหญ่จำนวนมากก็มีอาการแพ้ฝุ่นจิ๋วขนาดไอหรือจามเป็นเลือดกันมาแล้ว
ส่วนมาตรการต่อมาที่หลายคนแอบขานรับด้วยความยินดีคือ มาตรการ "Work@Home" ที่หลายหน่วยงานตอบรับ ทั้งนี้ รายงานข่าวจากกระทรวงการคลังรายงานว่า จากสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 รุนแรงขึ้น ธนาคารรัฐได้ประกาศให้พนักงานตั้งครรภ์ พนักงานที่มีโรคประจำตัวเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือมีบุตรแต่ไม่มีผู้ดูแล เนื่องจากการประกาศปิดสถานศึกษาให้พนักงานทำงานที่บ้าน
โดย "ธนาคารออมสิน" ให้หยุดในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ส่วน "ธนาคารอาคารสงเคราะห์" (ธอส.) หยุดระหว่าง 31 มกราคม - 1 กุมภาพันธ์ "บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม" (บสย.) หยุดระหว่าง 1 - 5 กุมภาพันธ์ ส่วนภาคเอกชนที่เป็นข่าวฮือฮาคือ ออฟฟิศของ "หนุ่ย - พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์" แบไต๋ไฮเทค ที่อนุญาตให้พนักงานทำงานจากบ้านได้
"หนุ่ย แบไต๋" กูรูข่าวสารไอทีได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า "ผมประกาศแล้วให้ทีมงาน #beartai ไม่ต้องมาที่ทำงาน แต่ให้ #WorkAtHome ครับ เรามีเทคโนโลยีการสื่อสารตั้งมากมาย ไม่ต้องฝ่าฝุ่นมาเจอกันก็ได้ครับ บริษัทไหนจะทำแบบนี้ด้วยกันบ้างครับ ?"
โดยให้เหตุผลที่ว่า สาเหตุที่อนุญาตให้พนักงานไม่ต้องเดินทางมาทำงานที่บริษัทให้พนักงานทุกคนทำงานที่บ้านได้ เพราะเทคโนโลยีการสื่อสารในยุคปัจจุบันสามารถเข้าถึงและทำงานได้มีประสิทธิภาพเหมือนกัน ซึ่งบางงานวิจัยก็เผยข้อมูลการวัดคุณภาพงานเพิ่มสูงมากขึ้นอีกด้วย แต่การทำงานที่บ้านก็มีข้อเสียอยู่และหลายงานในประเทศไทยไม่เอื้ออำนวย ทำได้เฉพาะงานด้านออนไลน์
นอกจากนี้ มาตรการหลบฝุ่นจิ๋วที่ทำกันในขณะนี้คือ การทำฝนเทียมของภาครัฐที่ช่วยได้มากทีเดียว แต่กระนั้น ฝุ่นจิ๋วก็ใช่ว่าจะปราบได้หมด ดังนั้น จึงต้องช่วยลดกันเป็นจุดๆ สำหรับชุมชน นั่นคือ การพ่นละอองน้ำ ซึ่งก่อนหน้ามีเขตหนึ่งของกทม.ใช้น้ำเพื่อลดฝุ่นจิ๋วแต่ด้วยการขาดความรู้ความเข้าใจจึงเลือกใช้วิธีฉีดน้ำ (ไม่ใช่ละอองน้ำ) เพื่อลดฝุ่นบนถนน ผลคือทำให้เกิดน้ำท่วม รถติด ทำให้เกิดดราม่ากันมากมาย
ซึ่งวิธีลดฝุ่นจิ๋วที่เหมาะสมกับพื้นที่เฉพาะเจาะจงนั้นควรเป็นแบบพ่นละอองน้ำ ซึ่งบางหน่วยงานก็หาทางออกให้กับตนเองได้อย่างดี อาทิ "ธนาคารออมสิน" ที่จับมือกับ "เขตพญาไท" เพื่อร่วมกันฉีดพ่นละอองน้ำจากหลังคาตึกสูงตามมาตรการเร่งด่วน เพื่อบรรเทาผลกระทบฝุ่นละอองขนาดเล็กประมาณ 1 ชั่วโมง ในพื้นที่ ณ อาคาร 100 ปี ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ และ 3 กุมภาพันธ์ โดยจะพ่นต่อเนื่องไปทุกวันจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลาย
ขณะที่ "แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเมนท์ กรุ๊ป" (LPN) ชวนผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ ร่วมแก้ปัญหาค่าฝุ่นละอองเกินมาตรฐานที่กระทบคนกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เริ่มด้วยการเร่งมาตรการบรรเทาโดยฉีดละอองน้ำแบบสเปรย์จากชั้นดาดฟ้าทุกโครงการทั่วกรุง 150 โครงการทุกวัน ตั้งแต่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ในช่วงเวลาที่การเดินทางคับคั่งที่สุด คือ 8:00 น., 12:00 น., 18:00 น.
และเพิ่มมาตรการหลังภาพรวมค่าฝุ่นละอองกรุงเทพมหานครไม่ดีขึ้น ติดตั้งระบบน้ำฉีดโดยรอบทุกอาคาร ทั้งคุมเข้มมาตรการดูแลผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและชุมชนในทุกโครงการก่อสร้าง ตามแนวทาง "GREEN Construction Process Standard" เพื่อบรรเทาฝุ่นพิษแก่ลูกค้าในโครงการและเพื่อนบ้านข้างเคียง โดย LPN รับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมดทั้งค่าติดตั้ง ค่าไฟ และค่าน้ำที่เกิดขึ้นใน 150 โครงการ
สำหรับการดูแลงานก่อสร้างในเขตที่ค่าฝุ่นละอองเลวร้ายมาก (โซนสีแดง) โครงการระหว่างก่อสร้างจะติดตั้งเครื่องพ่นละอองน้ำบนชั้นสูงรอบอาคาร เพื่อช่วยลดมลภาวะต่อบ้านข้างเคียง นอกจากนี้ สำหรับโครงการที่การก่อสร้างเพิ่งโผล่พ้นดินก็สั่งการให้พรมน้ำตลอดวันทั่วทั้งโครงการ
สำหรับบ้านข้างเคียงในโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง บริษัทได้ติดตามสอบถามสุขภาพเป็นประจำทุกสัปดาห์ โดยเฉพาะบ้านที่มีผู้สูงอายุและเด็กเล็ก พร้อมแจกและรณรงค์ให้ใส่หน้ากากอนามัยเป็นประจำเท่ากับ LPN ได้ทำแคมเปญ CSR ของตนเองไปด้วยในภาวะวิกฤติฝุ่นจิ๋ว
ขณะที่ "ดีแทค" เลือกเปิดบ้าน ดีแทค เฮ้าส์ ให้บุตรหลานที่ปิดเรียน "หนีฝุ่นจิ๋ว" เพื่อแบ่งเบาภาระให้พนักงานนำบุตรหลานที่ต้องเผชิญสถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 ในพื้นที่กรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในช่วงที่โรงเรียนปิดหนีฝุ่น 2 วัน ในวันพฤหัสที่ 31 มกราคม และวันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ มาอยู่ออฟฟิศ
โดยจัดกิจกรรมพิเศษ "หนีฝุ่นจิ๋ว มาชิวที่ออฟฟิศพ่อแม่" พร้อมขนมและคนดูแลเป็นกรณีพิเศษ เช่น กิจกรรมระบายสี ปั้นแป้งโดว์ ต่อเลโก้ ได้ตลอดทั้งวันที่ห้อง Playroom ชมการ์ตูนจอยักษ์ที่ห้อง Library ในวันพฤหัส และในวันศุกร์ ยังมีกีฬา Mini Sport ที่เด็กชื่นชอบ มาตีปิงปอง ฟุตซอล และสนุกเกอร์ ได้ที่ชั้น 38
ทั้งนี้ ดีแทคมีพื้นที่ในสำนักงาน ในการดูแลเด็กๆอย่างเพียบพร้อม ให้เด็กได้เล่นสนุกและปลอดภัย เช่น ในชั้น 32 ที่มีห้องสนามเด็กเล่น สไลด์เดอร์ ห้องสมุด และพื้นที่ในการออกกำลังกายที่ชั้น 38 พร้อมอุปกรณ์ออกกำลังกาย ห้องซ้อมดนตรี และห้องร้องคาราโอเกะอีกด้วย
การกำจัดฝุ่นจิ๋วจากทั่วโลก
องค์กร GreenPeace รายงานวิธีกำจัดฝุ่นจิ๋วจากทั่วโลก โดยอ้างอิงข่าวของสำนักข่าว The Guardian และเว็บไซต์ด้านสิ่งแวดล้อมที่เคยพูดถึงประเด็นนี้ไว้โดยยกตัวอย่างการจัดการมลพิษทางอากาศในหลายเมือง เช่น