P-O-P & Brand Touch Points หน้าร้านโดนใจ สื่อสารได้ จากแบรนด์สัมผัส
05 Mar 2025

แม้ว่าปัจจุบัน ช่องทางการขายสินค้า บริการ จะมีมากมาย มีการขายออนไลน์เพิ่มขึ้นมาแต่ช่องทางการขายหน้าร้านก็คงยังมีความสำคัญ หรือต้องให้ความสำคัญควบคู่กันอยู่เสมอ การใช้กลยุทธ์การสื่อสาร มาใช้เพื่อสื่อสารแบรนด์ที่จุดขายหรือหน้าร้าน เป็นการประยุกต์จากแนวทางการดำเนินงานของการสื่อสารการตลาดและการสื่อสารแบรนด์ เพื่อตอบโจทย์การเข้าถึง โดยมีเป้าหมายส่วนใหญ่ ให้ตรงกับลูกค้าเป้าหมาย ที่นอกจากจะเพื่อการขายแล้ว ประสบการณ์ของผู้บริโภคที่มีต่อแบรนด์จะเกิดขึ้นจากการที่ลูกค้าพบเห็น ยังเป็นการสื่อสารแบรนด์สัมผัส (Brand Touch Points) อีกทางหนึ่งด้วย ผู้ประกอบการจึงต้องให้ความสำคัญและใส่ใจกับการบริหารจุดสัมผัสดังกล่าวเพื่อให้เกิดประสบการณ์ในทางบวกให้ได้มากที่สุด

การออกแบบตกแต่งหน้าร้าน จุดขายต่างๆ วัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ ป้าย หรือสื่อต่างๆ ของตนให้มีความน่าสนใจ เป็นที่จดจำ ก็มีความหมายว่าการสื่อสาร ณ จุดซื้อ (P-O-P : Point of Purchase) ก็คือการที่ผู้จำหน่ายสินค้าทำการส่งเสริมการขายสินค้าของตนโดยการทำให้จุดวางสินค้านั้นมีความโดดเด่น สะดุดตา เป็นที่น่าสนใจของผู้ซื้อ ถือว่าเป็นด่านสุดท้ายก่อนการตัดสินใจซื้อจากผู้ซื้อ

ดังนั้น การออกแบบตกแต่งหน้าร้าน จุดขายต่างๆ วัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ ป้าย หรือสื่อต่างๆ ของตนให้มีความน่าสนใจ เป็นที่จดจำ หน้าร้านค้า หน้าตาหรือรูปร่างที่มีเสน่ห์ สามารถเชิญชวนเรียกความต้องการ และทำหน้าที่ขายให้กับสินค้าบริการหรือแบรนด์นั้นๆ การจัดหน้าร้านค้าจึงเป็นปัจจัยสำคัญในการดึงดูดใจให้ลูกค้าเข้าร้าน การจัดหน้าร้าน จึงเป็นตัวช่วยที่จะตอบคำถามว่า ทำอย่างไรให้ลูกค้าเต็มร้าน สินค้าได้รับความสนใจ ขายได้ สร้างรายได้ตามที่ต้องการนั่นเอง

ขณะเดียวกัน การจัดหน้าร้านไม่ได้สำคัญแต่ร้านหรือธุรกิจที่เปิดใหม่ ร้านที่มีอยู่แล้วก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบให้เหมาะสมกับช่วงเวลา สถานการณ์ การแข่งขัน ปัจจัยแวดล้อมของธุรกิจ ด้วยเช่นกัน

 

การวิเคราะห์ประเด็นสำคัญ ในการออกแบบหน้าร้าน

การจัดหน้าร้านที่ดีเป็นอีกช่องทางในการชักจูง โน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการ เวลาที่ลูกค้าจะเข้าร้าน ไม่ว่าจะเป็นร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านค้าขายของ หรือบริการใดๆ แล้ว นอกจากแบรนด์ที่คุ้นเคย หรือมีรูปแบบ อัตลักษณ์ที่แน่นอนแล้ว สิ่งที่ดึงดูดความสนใจให้ลูกค้าหยุดมอง และเดินเข้าร้าน ก็คือ การตกแต่งหน้าร้าน ร้านไหนตกแต่งได้ดี สวยงาม มีความน่าสนใจ มักจะมีลูกค้าเลือกเข้าใช้บริการในร้านนั้นเสมอ

ดังนั้น แนวคิดในการออกแบบที่ต้องอาศัยการเชื่อมโยงระหว่างแบรนด์ การตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า การสื่อสารด้วยการออกแบบ จัด ตกแต่งที่ดี ไม่ว่าจะเป็น การสร้างบรรยากาศ ตอบสนองหรือแก้ปัญหาให้ลูกค้า ทำให้แบรนด์อยู่ในความสนใจของลูกค้าดี จะนำมาซึ่งการจับจ่ายใช้สอย ช่วยเพิ่มรายได้ ยอดขายให้กับร้านนั้นๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งต้องมีการศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นต่างๆ ดังนี้

 

 

  • ลักษณะที่สำคัญของธุรกิจนั้น การศึกษาหัวใจที่สำคัญของธุรกิจของร้านค้านั้นๆ ว่ามีความเป็นมาอย่างไร ลักษณะการตัดสินใจ ซื้อหรือใช้บริการ เส้นทางคมนาคม การขนส่งสิ่งของ วัตถุดิบ แรงงาน สถานที่ การซื้อ การใช้ชีวิตของผู้คนที่เกี่ยวข้อง แนวโน้มของภูมิทัศน์โดยรอบ เพื่อนำมากำหนดแนวทางการออกแบบและตอบโจทย์ทั้งส่วนผู้ประกอบการ ลูกค้า

  • พฤติกรรมการบริโภคของผู้ลูกค้าเป้าหมาย โดยทำการศึกษาข้อมูลกลุ่มลูกค้าที่มีอยู่เดิม ลูกค้าเป้าหมายและที่ผ่านไปมาในบริเวณที่ตั้ง เพื่อเก็บข้อมูล ความหนาแน่นของลูกค้า จำนวนลูกค้าในบริเวณที่ตั้งของจุดขาย ประเภทของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย ตั้งแต่ อาชีพ เพศ อายุ การศึกษา พฤติกรรม รูปแบบการจับจ่ายใช้สอย ความถี่ กลุ่มสินค้าหรือแบรนด์ที่เลือก กำลังการซื้อ ราคาที่ต้องการ มูลค่าการซื้อเฉลี่ยต่อครั้ง และต่อรอบระยะเวลา

  • สภาพการแข่งขันของคู่แข่ง การเช็กข้อมูลการแข่งขันในธุรกิจเดียวกันของแบรนด์และใกล้เคียง จำนวนคู่แข่งขันตั้งในบริเวณใกล้เคียง ความน่าสนใจ จุดขายของคู่แข่ง ปัจจัยที่นำมาใช้ในการสื่อสาร

  • สภาพแวดล้อม ศึกษาสิ่งแวดล้อมโดยรอบ กรอบของสังคม วิถีชีวิต วัฒนธรรม กฎหมาย ระเบียบ แนวทางสำหรับการสื่อสาร ข้อจำกัดของธุรกิจบางประเภท ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นโดยรอบ สถานประกอบการ หรือสิ่งปลูกสร้างต่างๆ สภาพการจราจร รูปแบบวิถีการใช้ชีวิตของผู้คน

  • ทำเลที่ตั้งของธุรกิจ เป็นเรื่องสำคัญลำดับต้นๆ ของการประกอบการ หากจุดขายตั้งอยู่ในทำเลที่ดี ทำให้ได้เปรียบ โอกาสที่จะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายก็จะมีสูง ดังนั้นในการดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาปัจจัยสำคัญต่างๆ ในการตัดสินใจเลือกทำเลอย่างรอบคอบ

 

 

  • การสร้างอัตลักษณ์ของร้านที่มีต่อแบรนด์ ความเป็นตัวตนที่ชัดเจน อาทิ เส้น สี รูปทรง ที่ผู้บริโภคสามารถสัมผัสได้ นับตั้งแต่ สถานที่ การกำหนดแสง เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์สำนักงาน รูปแบบการตกแต่ง ป้าย สัญลักษณ์ เครื่องแบบพนักงาน วิธีการให้บริการหรือจำหน่าย คุณค่าหรือมูลค่าเพิ่มที่ลูกค้าได้รับ รวมถึงกิจกรรมดำเนินงาน เช่น การจัดกิจกรรมทางส่งเสริมการตลาด การจัดโครงการรณรงค์พิเศษ กิจกรรมลดแลกแจกแถม ไปจนถึงการมีส่วนร่วมกับชุมชน

  • เป้าหมายของแบรนด์และธุรกิจ การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์หรือความต้องการให้ชัดเจนทั้งผลที่ต้องการทั้งทางธุรกิจและการสื่อสาร เช่น เป้าธุรกิจ การสร้างความรู้จัก รับรู้ การสื่อสารเพื่อเชิญชวนจูงใจ การสร้างความเชื่อมั่น การสร้างความสัมพันธ์กับผู้บริโภค และชุมชน

  • กิจกรรมส่งเสริมการขาย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงก็คือ ชนิดของสื่อหรือกิจกรรมที่ใช้ และช่วงเวลาที่ต้องมีความสอดคล้องกับความต้องการและ พฤติกรรมของลูกค้า เพื่อช่วยความต้องการหรือกระตุ้นให้เกิดการบริโภคสินค้าหรือบริการที่ขายอย่างชัดเจน

  • การนำเสนอข้อมูลข่าวสาร ให้ความสำคัญกับ การให้ข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ แผ่นพับ ป้าย และ Social Media ที่สื่อถึงความน่าสนใจ น่าติดตาม เทคโนโลยี ความสวยงาม ผ่านทั้งเนื้อหา ภาพ คำบรรยาย คำขวัญ สถานที่-ช่องทางการติดต่อ จุดเด่น ที่สามารถบ่งบอกถึงบุคลิก นำเสนออย่างกลมกลืนเป็นแนวเดียวกันในทุกๆ ช่องทาง

กรอบการศึกษาเหล่านี้จะช่วย ทำให้ธุรกิจของร้านค้ามีความเข้มแข็งและโดดเด่น เพราะนอกจากจุดขายที่นำเสนอสินค้า หรือการให้บริการนอกจากความสวยงาม ความโดดเด่นเป็นที่น่าประทับใจแล้ว ยังต้องมีคุณลักษณะที่ใช้แนวคิดสำคัญในมุมมองของลูกค้า คือ ลูกค้าเข้ามาแล้วรู้สึกว่าสถานที่นั้นเป็นมิตร มีความสะดวกสบาย การให้บริการมีคุณภาพ เมื่อเทียบกับ ค่าใช้จ่ายที่สมเหตุสมผล

 

 

เทคนิคการจัดหน้าร้านให้โดนใจ

การจัดหน้าร้านให้มีความน่าสนใจ นับได้ว่าเป็นการวางกลยุทธ์การสื่อสาร ณ จุดขาย การออกแบบการกำหนดรูปแบบที่ถ่ายทอดผ่านองค์ประกอบหลักๆ ของธุรกิจที่ถ่ายทอดผ่านอัตลักษณ์ของแบรนด์ บรรยากาศ รูปทรง การตกแต่ง สัญลักษณ์ ข้าวของเครื่องใช้ ที่จะช่วยสื่อความและก่อให้เกิดความประทับใจในที่สุด

 

  • สื่อสารในภาพรวม

การให้ความสนใจกับการใช้การสื่อสาร นับตั้งแต่ พนักงาน วิธีการให้บริการ ป้ายโฆษณา กล่องไฟ ป้ายอิเล็คทรอนิกส์ ที่ติดภายใน ภายนอกอาคาร บันได ลิฟต์ ที่จอดรถ อุปกรณ์การใช้งาน วัสดุ ข้าวของเครื่องใช้ เป็นต้น

 

  • ความคิดสร้างสรรค์ที่แปลกใหม่

การเลือกวิธีการตลอดจนสื่อและการนำเสนอที่สามารถสร้างความประทับใจ ใช้ความคิดสร้างสรรค์ที่สัมพันธ์กับกลุ่มเป้าหมาย เช่น การออกแบบหน้าร้าน การจัดวาง รูปแบบกิจกรรม ได้ตรงกับความต้องการของลูกค้าเป้าหมาย และไม่อาจหาได้ที่อื่น หรือเป็นความแปลกใหม่ที่ไม่เคยได้รับมาก่อน หรือตรงกับความต้องการที่รอคอย

 

  • สร้างความน่าสนใจการใช้สี

คุณสมบัติของสี คือสามารถกระตุ้นการรับรู้ทางสายตา ได้เป็นอย่างดี

 

 

  • การจัดองค์ประกอบของแสง

แสง สามารถสร้างความโดดเด่น สะดุดตา ดึงดูดใจลูกค้า ทั้งหน้าร้าน ส่วนแสดงสินค้าและบรรยากาศภายใน

 

  • สร้างความประทับใจในการจัดสินค้า

สร้างความประทับใจด้วยการวางสินค้า ที่สามารถสัมผัสได้ และเรียกความสนใจจากลูกค้าได้เป็นอย่างดี การจัดสินค้าทั่วไปนอกจากจะจัดตามหมวดหมู่แล้ว ในหมวดหมู่เดียวกันควรเลือกสินค้าที่มีความเกี่ยวพันกันสลับกันอย่างเป็นระเบียบ หรือมีความเป็นศิลปะ ไม่สร้างความยุ่งยากในการค้นหาสินค้าทั้งกับลูกค้าและผู้ประกอบการ

 

  • เปลี่ยนการจัดโชว์หน้าร้านบ้าง

ลูกค้ามักจะตื่นเต้นกับการได้เห็นการจัดโชว์สินค้าใหม่ๆ และเป็นประเด็นไปสู่การพูดคุย นำเสนอการขาย ที่นอกจากเป็นการการประชาสัมพันธ์ ส่งเสริมการขายแล้ว ยังเป็นการสร้างความน่าสนใจของลูกค้าได้อีกทางหนึ่ง

 

  • ติดป้ายแสดงราคาสินค้าเสมอ

การติดป้ายแสดงราคา เป็นสิ่งที่พึงกระทำเสมอสำหรับสินค้าทุกชนิด เพื่อความถูกต้องชัดเจน ให้ข้อมูล คัดกรอง และความเป็นธรรมแก่ลูกค้า

 

 

  • การอำนวยความสะดวกด้านการขายออนไลน์ และการขนส่งอย่างกลมกลืน

การคำนึงถึงการออกแบบ และการดูแลให้การขายหน้าร้าน กับการขายการขายออนไลน์ มีความสอดคล้อง นับเป็นสิ่งที่ต้องสื่อสารและมีการจัดการอย่างเป็นระบบ ส่งเสริมภาพลักษณ์และแบรนด์ด้วย

 

  • ปฏิสัมพันธ์กับลูกค้า

อย่าปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามระบบเสมอไป เข้าไปคุยแนะนำสินค้ากับลูกค้า แม้ลูกค้าจะยังไม่ซื้อในขณะนั้น แต่จะได้รับความประทับจากลูกค้า และอาจจะกลับมาซื้อสินค้าภายหลังหรือแนะนำบอกต่อ

 

อย่างไรก็ตาม นอกจากการจัดหน้าร้านที่ดีแล้ว ยังมีอีกหลายส่วนที่ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกัน ทั้งในการเลือกทำเลที่ตั้ง สำหรับประกอบกิจการ นั้น คือขั้นตอนตั้งแต่ การจัดหา หรือเลือกสรรสถานที่ สำหรับประกอบการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด โดยคำนึงถึง ความเหมาะสมของแบรนด์ ความสัมพันธ์กับลูกค้า ความสะดวก พนักงาน กำไร ค่าใช้จ่าย ตลอดจนการตกแต่ง ออกแบบ และสภาพแวดล้อมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในการประกอบกิจการหรือธุรกิจนั้น

 



บทความจากนิตยสาร MarketPlus ฉบับที่ 173 January 2025

[อ่าน 2,889]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบแผ่นดินไหวต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจไทย
ไขข้อข้องใจ: ทำไมระบบ Cell Broadcast Service (CBS) ยังไม่เกิด? เพราะ "ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง"
อยากติดตั้งเครื่องตรวจโลหะที่ห้างสรรพสินค้า ต้องเลือกยังไง ?
พักโรงแรมใกล้หาดกะตะ กิน เที่ยว ที่ไหนดี...?
การขายคอนโด สามย่าน-จุฬา สัมพันธ์กับถนนบรรทัดทองอย่างไร ?
ทรัมป์กลับมา แต่ “การดำเนินธุรกิจที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน” ยังต้องไปต่อ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved