แผ่นดินไหวใหญ่สะเทือนกรุง: ตึกถล่ม-อาฟเตอร์ช็อก จุดกระแสร้อนในโซเชียล
06 Apr 2025

 

เกิดเหตุแผ่นดินไหวรุนแรงขนาด 8.2 ริกเตอร์ในเมียนมา เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ส่งแรงสั่นสะเทือนถึงหลายพื้นที่ของไทย โดยเฉพาะกรุงเทพฯ ที่ประสบเหตุอาคารพังถล่มและมีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก ประชาชนในเมืองหลวงจึงใช้โซเชียลมีเดียเป็นช่องทางหลักติดตามรายงานสถานการณ์กันอย่างใกล้ชิด

 

 

ประเด็นร้อนบนโซเชียลมีเดีย

  • ตึกถล่ม (37%): อาคารกำลังก่อสร้างของ สตง. ใกล้ตลาดนัดจตุจักร พังถล่มหลังรับแรงสั่นสะเทือน มีผู้เสียชีวิตและสูญหายจำนวนมาก ประชาชนตั้งคำถามถึงมาตรฐานการก่อสร้างในไทย

  • อาฟเตอร์ช็อก (27%): แม้แผ่นดินไหวหลักจะผ่านไป แต่ยังเกิดอาฟเตอร์ช็อกต่อเนื่อง สร้างความวิตกกังวลและตื่นตระหนกในหมู่ประชาชน

  • การช่วยเหลือผู้รอดชีวิต (26%): ผู้คนส่งกำลังใจให้ทีมกู้ภัย โดยเฉพาะ “ทีม K9” สุนัขกู้ภัย ที่ทุ่มเทค้นหาผู้รอดชีวิตจากซากตึกถล่ม

  • การสัญจร (5%): รถไฟฟ้า BTS และ MRT หยุดให้บริการชั่วคราว ส่งผลให้การจราจรติดขัดขั้นวิกฤติ หลายคนต้องเดินเท้ากลับบ้าน

  • ความมั่นคงของอาคาร (5%): ประชาชนวิตกถึงมาตรฐานโครงสร้างอาคารสูง เมื่อพบรอยร้าวหรือเสียงแตกร้าวเล็กน้อยหลังเกิดแผ่นดินไหว

 

 

หน่วยงานที่สังคมจับตา

  • กทม. (52%): ได้รับการกล่าวถึงสูงสุดจากการตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ทันที พร้อมตรวจสอบความเสียหายและเปิดสวนสาธารณะตลอด 24 ชั่วโมง

  • กรมอุตุนิยมวิทยา (20%): ออกประกาศแผ่นดินไหวทันที แต่ถูกตั้งคำถามเรื่องการเตือนล่วงหน้า กรมฯ ย้ำว่าเทคโนโลยีปัจจุบันยังไม่สามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวได้

  • อื่น ๆ เช่น กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง และ กสทช. ก็ถูกสังคมจับตามองเรื่องการรับมือในภาวะฉุกเฉิน

 

 

10 สื่อไทยบน Facebook ที่ประชาชนติดตามสูงสุด ข่าวสด ไทยรัฐ อีจัน AmarinTV Drama-addict มติชน The Standard Ch7HD ThaiPBS และ ข่าวช่อง8 เป็นกลุ่มสื่อหลักที่คนไทยติดตามเพื่อรับข้อมูลแบบเรียลไทม์และน่าเชื่อถือ

ร้านอาหารแบ่งปันน้ำใจ หลายร้านเลือกให้ความปลอดภัยของลูกค้าเป็นอันดับแรก ยอมยกเว้นค่าอาหารในช่วงที่ต้องอพยพฉุกเฉิน โดยร้านเอ็มเค เรสโตรองต์ (MK) มีผู้พูดถึงสูงสุด (66%) สร้างกระแสชื่นชมอย่างกว้างขวาง

 

โซเชียลมีเดีย: ศูนย์รวมข้อมูลช่วงภัยพิบัติ ประชาชนใช้โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือรายงานและติดตามสถานการณ์ทุกระยะ ตั้งแต่โพสต์แจ้งเตือน อัพโหลดคลิปวิดีโอ ไปจนถึงแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็น “มาตรฐานโครงสร้างอาคาร” ซึ่งกลายเป็นหัวข้อสำคัญที่ภาครัฐและผู้เกี่ยวข้องต้องเร่งยกระดับเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในอนาคต

แม้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แต่ความวิตกกังวลเกี่ยวกับอาฟเตอร์ช็อกและมาตรฐานความปลอดภัยของอาคารยังคงอยู่ เสียงสะท้อนจากโซเชียลมีเดียเป็นสัญญาณเตือนให้หน่วยงานรัฐและภาคเอกชนร่วมมือกันปรับปรุงมาตรฐาน ความแข็งแรง และการสื่อสารเตือนภัย เพื่อรับมือเหตุไม่คาดฝันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 


ข้อมูลทั้งหมดรวบรวมโดย DXT360 (Social Listening and Media Monitoring Platform) ของบริษัท ดาต้าเซ็ต จำกัด ระหว่างวันที่ 28-31 มีนาคม 2568

 
 
 
[อ่าน 1,351]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
ลาซาด้าเผยผู้ขายไทย 7 ใน 10 ราย ต้องการการสนับสนุนเพิ่มเติมในการใช้ AI
กัลเดอร์มา ชี้ 6 เทรนด์ความงามแห่งอนาคต
เพิ่มความปลอดภัยให้บัตรเครดิตด้วยการตั้งรหัสผ่านก่อนใช้จ่าย
การประเมินเบื้องต้นของผลกระทบแผ่นดินไหวต่อเศรษฐกิจและภาคธุรกิจไทย
ไขข้อข้องใจ: ทำไมระบบ Cell Broadcast Service (CBS) ยังไม่เกิด? เพราะ "ปรบมือข้างเดียวไม่ดัง"
อยากติดตั้งเครื่องตรวจโลหะที่ห้างสรรพสินค้า ต้องเลือกยังไง ?
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved