ในโลกของการตลาด สินค้าถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่ สินค้าที่จับต้องได้ (Tangible Product และ สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) แม้ว่าทั้งสองประเภทจะมีเป้าหมายเดียวกันคือการตอบสนองความต้องการของลูกค้า แต่ลักษณะของสินค้าที่แตกต่างกันทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดต้องถูกออกแบบให้เหมาะสมและมีความเฉพาะตัว เช่น การขาย สมาร์ทโฟน (Tangible Product) กับ แอปพลิเคชัน (Intangible Product) ซึ่งสินค้าทั้ง 2 อย่างนี้ย่อมใช้วิธีการสื่อสารและสร้างประสบการณ์ให้กับลูกค้าที่แตกต่างกัน
ในฉบับนี้ การตลาด 101 จะขออธิบายถึง ความหมาย ความแตกต่าง และแนวทางในการทำตลาดเบื้องต้น ของ สินค้าที่จับต้องได้ (Tangible Product) และ สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) เพื่อให้ เจ้าของกิจการ นักการตลาด และผู้ที่สนใจได้มีข้อมูลสำหรับวางกลยุทธ์ทางการตลาดที่เหมาะสมและช่วยเพิ่มโอกาสทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความหมายของ สินค้าที่จับต้องได้ และสินค้าที่จับต้องไม่ได้
สินค้าที่จับต้องได้ (Tangible Product) คือสินค้าที่สามารถมองเห็น สัมผัส และทดลองใช้ได้จริง เช่น โทรศัพท์มือถือ รถยนต์ เสื้อผ้า หรือสินค้าอุปโภคบริโภคทั่วไป โดยลูกค้าสามารถพิจารณาคุณสมบัติของสินค้า เปรียบเทียบคุณภาพและราคา ก่อนตัดสินใจซื้อ
สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) คือ สินค้าหรือบริการที่ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ เช่น บริการสตรีมมิ่ง คอร์สเรียนออนไลน์ ประกันภัย หรือซอฟต์แวร์ ลูกค้าไม่สามารถเห็นหรือทดลองใช้ได้อย่างเต็มที่ก่อนซื้อ ทำให้การตัดสินใจซื้อมักขึ้นอยู่กับประสบการณ์ รีวิวจากผู้ใช้ ความน่าเชื่อถือของแบรนด์ และความมั่นใจในคุณภาพของบริการ
ควรใช้กลยุทธ์การตลาดแบบไหน ให้เหมาะกับแต่ละประเภทสินค้า?
สินค้าที่จับต้องได้ (Tangible Product) กลยุทธ์การตลาดที่เจ้าของกิจการและนักการตลาดควรให้ความสำคัญของสินค้ากลุ่มนี้ คือ เรื่องของคุณภาพสินค้า การออกแบบสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ที่ดึงดูดให้ลูกค้าเกิดความสนใจและการกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยโปรโมชั่นหรือส่วนลดต่างๆ เป็นต้น ตัวอย่างของ สินค้าที่จับต้องได้ (Tangible Product) และกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ เช่น
iPhone (Apple)
สมาร์ทโฟนรูปลักษณ์ชัดเจน สามารถสัมผัส ถือ และใช้งานได้ โดยกลยุทธ์การตลาดที่ Apple ใช้ เช่น
สินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) ไม่มีรูปร่าง จับต้องไม่ได้ เจ้าของกิจการและนักการตลาดจึงต้องเน้นการสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่นและมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าเพื่อรักษาความสัมพันธ์ในระยะยาว เช่น การรีวิวสินค้าบริการจากผู้ใช้จริง เป็นต้น ยกตัวอย่างของสินค้าที่จับต้องไม่ได้ (Intangible Product) และกลยุทธ์การตลาดที่ใช้ เช่น
Netflix
บริการสตรีมมิ่ง ลูกค้าไม่สามารถจับต้อง Netflix ได้ แต่สามารถ ‘รับชมและสัมผัสประสบการณ์’ ผ่านการชมภาพยนตร์และซีรีส์ที่ชื่นชอบในเรื่องต่างๆ สำหรับกลยุทธ์ทางการตลาดที่ Netflix ใช้ เช่น
จากกลยุทธ์การตลาดของ Netflix จึงทำให้สามารถรักษาฐานสมาชิกเดิมและดึงดูดสมาชิกใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ทำให้แพลตฟอร์มนี้ ยังคงเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมสตรีมมิ่งในปัจจุบัน
บทความจากนิตยสาร MarketPlus ฉบับที่ 174