Trade War: Global Cost, Local Risks มหาสงครามการค้า 'เกมแพงของโลก เดิมพันเศรษฐกิจไทย’
10 Apr 2025

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย เปิดเผยว่า คืนวันที่ 9 เมษายน 2568 ตามเวลาประเทศสหรัฐ ทรัมป์ประกาศเลื่อนเก็บภาษีตอบโต้ประเทศต่างๆ ออกไป 90 วัน ส่วนจีนโดนภาษีที่ 125% เนื่องจากจีนตอบโต้เก็บภาษีนำเข้าจากสหรัฐ 84%

สำหรับประเทศไทย ที่แม้จะโดนเลื่อนเก็บภาษีนำเข้า 36% ออกไปก่อน เหลือการจัดเก็บเพียง 10% เท่ากับประเทศอื่นส่วนใหญ่ แต่ก็นับว่ามีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากนโยบายการค้าสหรัฐ ความไม่แน่นอน และความตึงเครียดที่ยืดเยื้อ สำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย จึงได้ปรับลดคาดการณ์ GDP ปี 2568 จาก 2.7% ลงเหลือ 1.8% อย่างไรก็ดี บนความไม่แน่นอน หากมีการจัดเก็บภาษีสูงขึ้น เศรษฐกิจไทยอาจเข้าสู่ภาวะถดถอยทางเทคนิคใน Q3-Q4 และโตเพียง 1.4% แต่ถ้าเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยแม้เพียงเล็กน้อย และความผันผวนทั่วโลก เศรษฐกิจไทยอาจชะลอลงหนักกว่าคาด

 

ดร.อมรเทพ จาวะลา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ผู้บริหารสำนักวิจัย ธนาคาร ซีไอเอ็มบี ไทย

 

มาตรการภาษีทรัมป์จะทำการค้าโลกชะลอ การส่งออกอาจโตเพียง 1.4% การผลิต-การนำเข้าวัตถุดิบและเครื่องจักรลดลง การลงทุนชะลอตัว รายได้แรงงานและนอกภาคเกษตรมีแนวโน้มอ่อนตัว สำหรับกลุ่มอุตสาหกรรมที่เปราะบาง ได้แก่ เหล็กและอะลูมิเนียม ยานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ ยาและเวชภัณท์ อาจได้รับผลกระทบมากกว่ากลุ่มอื่น

เศรษฐกิจเติบโตชะลอ เงินเฟ้อต่ำ อาจเปิดทางให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม ในกรณีนี้คาดว่า ธปท. จะไม่ลดดอกเบี้ยรุนแรง เพราะข้อจำกัดหลายประการที่ไม่เอื้อต่อการผ่อนคลายแบบครอบคลุม คาดการณ์ดอกเบี้ยนโยบายปีนี้ 1.25%  หากเศรษฐกิจอ่อนแอกว่าคาด อาจมีการลดดอกเบี้ยลงถึงระดับ 1.00% ถ้าแรงกดดันจากภาษียังอยู่ เงินเฟ้อเร่งตัว ธปท. อาจใช้มาตรการเฉพาะจุด เช่น ช่วยเหลือหนี้  SMEs และอัดฉีดสภาพคล่อง แทนการเน้นลดดอกเบี้ย

ขณะที่มาตรการการคลังจะมีบทบาทมากขึ้นในการกระตุ้นเศรษฐกิจ จากความกังวลต่อสินเชื่อที่อ่อนแอ และความเสี่ยงภาวะกับดักสภาพคล่อง โดยเฉพาะหากความเชื่อมั่นภาคธุรกิจและผู้บริโภคยังไม่ฟื้น

ค่าเงินบาท คาดว่าจะอ่อนค่าช่วงกลางปี ก่อนจะทรงตัวปลายปี จากปัจจัยที่ดอลลาร์แข็งค่าในภาวะตลาดผันผวน กดดันค่าเงินประเทศเกิดใหม่รวมถึงค่าเงินบาท ดังนั้น เงินบาทอาจอ่อนค่า Q2 จากการไหลออกของเงินทุน การนำเงินปันผลกลับประเทศ รายได้ท่องเที่ยวทรงตัวหรือชะลอลง นอกจากนี้ ส่วนต่างดอกเบี้ยที่กว้างขึ้น ระหว่างไทยกับสหรัฐ กดดันเงินบาทเพิ่มเติม อยากให้ระวังเงินบาทผันผวนอ่อนค่าอีกครั้งช่วงปลายปีหากมีความไม่แน่นอนในการเก็บภาษีที่สูงขึ้น

ฐานท่องเที่ยวไทยที่แข็งแกร่ง และผลกระทบจากสงครามการค้าที่จำกัด อาจช่วยให้เงินบาทเป็น ‘สินทรัพย์ปลอดภัย’ ระดับภูมิภาคได้บางส่วน ภาคการท่องเที่ยว คาดว่านักท่องเที่ยวยังคงเพิ่มขึ้น แต่เพิ่มเพียงเล็กน้อย คาดว่าจะมี 37.1 ล้านคนปีนี้ เทียบกับ 35.5 ล้านคนปีก่อน

ย้อนกลับไปดู ไทม์ไลน์ วันที่ 2 เมษายน 2568 ทรัมป์ประกาศเก็บภาษี 'ตอบโต้เท่าเทียม' (Reciprocal Tariffs) กับหลายประเทศ โดยให้เหตุผลว่าชาติเหล่านั้นได้รับสิทธิประโยชน์ทางการค้าอย่างไม่เป็นธรรม และเรียกว่าเป็น 'วันปลดแอก' ของสหรัฐฯ เขายืนยันจะใช้แนวทาง 'ตาต่อตา' หากใครเก็บภาษีจากสหรัฐฯ สหรัฐฯ จะเก็บคืนในอัตราเท่ากัน ระบุว่าจะนำรายได้จากภาษีไปลดหนี้ประเทศและสนับสนุนประชาชนอเมริกัน



อยากชวนวิเคราะห์ว่า ทรัมป์ต้องการอะไรกันแน่ และทรัมป์ต้องการอะไรจากเรา?

  • สหรัฐต้องการลดการพึ่งพาจีนและพันธมิตรที่ไม่แท้จริงของสหรัฐฯ
  • มองว่าปัญหานี้เป็นระยะยาว หากไม่ทำอะไร ผลิตภาพของสหรัฐฯ จะถดถอย
  • มองว่าระบบการค้ามีความไม่เป็นธรรม โดยอ้างอิงจากรายงาน “อุปสรรคการค้าต่างประเทศ” ของ USTR ซึ่งระบุว่าหลายประเทศเก็บภาษีสินค้าจากสหรัฐฯ ในอัตราสูง
  • ตั้งใจนำรายได้จากภาษีมาลดหนี้สาธารณะ และเตรียมแผนลดภาษีภายในประเทศ
  • เสนอทางออกของสงครามการค้า ได้แก่ ลดภาษีนำเข้า ยกเลิกมาตรการกีดกันที่ไม่ใช่ภาษี หยุดแทรกแซงค่าเงิน นำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ มากขึ้น ลงทุนในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น

 

แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐฯ อยู่บนทางแยก มี 2 แนวโน้มที่เป็นไปได้ในอนาคต

แนวโน้มที่ 1 : เศรษฐกิจโตช้า (Slow Growth) GDP สหรัฐลดลงจาก 2.1% มาอยู่ที่ 1.4% ชาวอเมริกันบริโภคน้อยลง เก็บออมมากขึ้น เลื่อนการลงทุนใหม่ เงินเฟ้อพุ่งจาก 3% ไปที่ 3.7% ด้านดอกเบี้ย เฟดอาจไม่ลดดอกเบี้ยเร็ว ๆ นี้ หรือ ลดดอกเบี้ยครั้งเดียวช่วง Q4 ปี 2568 ค่าเงินดอลลาร์จะแข็งค่าขึ้น เมื่อเทียบกับยูโรและสกุลเงินกลุ่ม G7 แต่แข็งค่าไม่มากเทียบตลาดเกิดใหม่ แนวโน้มนี้มีความน่าจะเป็น 80%

 

แนวโน้มที่ 2 : เศรษฐกิจถดถอยเล็กน้อย (Mild Recession) GDP สหรัฐ หดตัว -0.2% จากผลกระทบของ reciprocal tariff ความไม่แน่นอนทางนโยบาย และการตอบโต้ ด้านภาคครัวเรือนชั้นกลางถึงรายได้สูง อาจลดการใช้จ่ายลง เงินเฟ้ออยู่ราว ๆ 5% ในปี 2568 Fed อาจกลับมาเพิ่มอัตราดอกเบี้ย หรืออย่างน้อยก็จะคงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับเดิมไปถึงปี 2569 เงินดอลลาร์จะแข็งค่าอย่างมากและถูกมองว่าเป็นสินทรัพย์ที่ปลอดภัยในช่วงวิกฤต การลดการพึ่งพาโลกาภิวัตน์อาจทำให้การค้าระหว่างประเทศลดลงอย่างมาก กระทบต่อ GDP ในระยะยาว แนวโน้มนี้มีความน่าจะเป็น 20%

คู่มืออยู่รอดในยุคความผันผวนทรัมป์ 

  • การลงทุน – เน้นเชิงรับ รักษาเงินต้น เช่นพันธบัตรรัฐบาล หุ้นกู้ที่มีความน่าเชื่อถือดีในอุตสาหกรรมที่เสี่ยงต่ำ เพิ่มเงินสดสำรอง กระจายลงทุนข้ามภูมิภาค
  • การบริโภค – ใช้จ่ายอย่างมีสติ เก็บออมเผื่อฉุกเฉิน เลี่ยงการกู้เกินจำเป็น
  • SMEs – วางแผนระยะสั้น คุมต้นทุน ใช้เทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์
  • ธุรกิจขนาดใหญ่ – ป้องกันความเสี่ยง ใช้ซัพพลายเชนในประเทศ ขยายสู่ตลาดอาเซียน

“โดยสรุป หลักการสำคัญคือ รักษาสภาพคล่องให้ดี ดูแลควบคุมต้นทุน ลดความเสี่ยง และไม่สร้างหนี้โดยไม่จำเป็นครับดร.อมรเทพ กล่าวทิ้งท้าย.

[อ่าน 1,064]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
AIS ร่วมกับ กสทช. ยืนยันความพร้อมระบบ Cell Broadcast บน Android และ iOS
อลิอันซ์ เปิดบทวิเคราะห์เศรษฐกิจโลกหลังนโยบายทรัมป์
ทีทีบี ร่วมเปิดโชว์การแสดงระดับโลก Disney On Ice ที่กลับมาสร้างความประทับใจอีกครั้ง
KJL เขย่าตลาดไฟฟ้า! เปิดตัว “Pull Box ชุบกัลวาไนซ์”
การเสริมสร้างความมั่นคงของ Cybersecurity ของประเทศไทย ด้วยโซลูชันการระบุตัวตนทางดิจิทัล
Lady Gaga, Post Malone นำทีมศิลปินทำโชว์สุดไอคอนิกใน Coachella 2025 Week 1

MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved