บราเดอร์รวมหัวใจสีเขียวของผู้บริหาร พนักงานและพันธมิตรทางธุรกิจร่วมจัดโครงการ“บราเดอร์อาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ ป่าชายเลน”เดินหน้าฟื้นคืนชีวิตชุมชนป่าชายเลน ร่วมปลูกป่าโกงกางและปักไม้ไผ่ชะลอคลื่นจากชายฝั่งทะเล ภายใต้แนวคิดการพัฒนาป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูธรรมชาติอย่างยั่งยืน สานต่อนโยบายการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (CSR) เพื่อสร้างประโยชน์อย่างยั่งยืนให้กับสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ซึ่งบราเดอร์ได้ทำกิจกรรมนี้อย่างต่อเนื่อง ป็นปีที่ 11 แล้ว
พรภัค อุไพศิลป์สถาพร ผู้จัดการทั่วไปฝ่ายการเงินและบริหาร บริษัท บราเดอร์ คอมเมอร์-เชี่ยล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ปีที่ผ่านมา โครงการ “บราเดอร์อาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติ ป่าชายเลน” สามารถปลูกป่าโกงกางได้มากถึง 1,400 ต้น ซึ่งเป็นจำนวนต้นไม้ที่ปลูกมากที่สุดตลอด 10 ปีที่บริษัทฯ ได้ดำเนินโครงการดังกล่าว โดยโครงการนี้ สามารถคืนกลับประโยชน์แบบองค์รวมทั้งต่อ ‘ชุมชนและสิ่งแวดล้อม’ ซึ่งบราเดอร์เชื่อว่า 2 ปัจจัยดังกล่าว ถือเป็นหนึ่งรากฐานสำคัญที่จะนำพาธุรกิจและสังคมให้สามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
“ชุมชนและสิ่งแวดล้อม ถือเป็นหัวใจสำคัญในการดำเนินธุรกิจของบราเดอร์ บริษัทฯไม่ได้มุ่งหวังความเป็นเลิศทางธุรกิจเพียงมุมเดียว แต่การคืนกลับสู่สังคมก็ถือเป็นอีกมุมหนึ่งที่องค์กรความสำคัญ ไม่แพ้กัน” พรภัค อุไพศิลป์สถาพร กล่าว
“การฟื้นฟูป่าชายเลนเป็นกิจกรรมที่บราเดอร์ทำมา อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 11 แล้ว ในพื้นที่ 2 จังหวัด ได้แก่ จ.สมุทรปราการ และ จ.สมุทรสาคร นอกจา เป็นไปตามปรัชญาในการดำเนินธุรกิจแล้ว ยังเป็นการสนองนโยบายรัฐด้านการอนุรักษ์และฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ด้วยเช่นกัน”
“ซึ่งในอดีตพื้นที่ป่าชายเลนของโครงการดังกล่าวในจังหวัดสมุทรปราการ และ จังหวัดสมุทรสาครถูกทำลายไปกว่า 50% บราเดอร์จึงได้เข้าไปร่วมกับชุมชนท้องถิ่นและภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการดำเนินการปลูกป่า เพื่อฟื้นคืนสภาพแวดล้อมและสร้างวงจรชีวิตของป่าชายเลนให้ค่อยๆ คืนกลับสู่ความสมบูรณ์เหมือนดังเดิม ซึ่งการที่บราเดอร์ไม่ลงพื้นที่ไปปลูกป่าชายเลนในจุดอื่นๆ ของประเทศไทยเพิ่มเติม เพราะเราอยากเห็น การเจริญเติบโตของพื้นที่ป่าชายเลน ที่เกิดขึ้นจากความร่วมมือของหลายภาคส่วนได้อย่างชัดเจน สามารถวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของสภาพป่าชายเลน และปรับแผนการฟื้นฟูได้อย่างเหมาะสม
อีกทั้งยังได้มอบสิ่งที่จำเป็นหรือสิ่งที่ชุมชนท้องถิ่นต้องการอย่างแท้จริงการที่เราได้เข้าไปทำกิจกรรมนี้ด้วยความมุ่งมั่นและตั้งใจ เสมือนว่าเราเป็นหนึ่งในสมาชิกของชุมชนนั้นๆ บราเดอร์จึงจัดแผนลงพื้นที่ทำกิจกรรมนี้ใน 2 จังหวัด สลับกันปีเว้นปี” พรภัค อุไพศิลป์สถาพร กล่าวเสริม
ทั้งนี้ โครงการ “บราเดอร์อาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติป่าชายเลน” ในปีนี้ จะเข้าไปฟื้นฟูอาคารและพื้นต้นโกงกางในโครงการศูนย์อนุรักษ์ป่าชายเลน จังหวัดสมุทรสาคร ที่ได้รับความเสียหายจากพายุปลาบึกเมื่อต้นปีที่ผ่านมา รวมทั้งร่วมปลูกป่าชายเลนเสริมในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากพายุดังกล่าวด้วยเช่นกัน
ล่าสุดโครงการ“บราเดอร์อาสาอนุรักษ์และฟื้นฟูธรรมชาติป่าชายเลน”ได้รับประกาศนียบัตร“NIJUUMARU” PROJECT ระดับ Double circle จาก International Union for Conservation of Nature (IUCN-J) ประเทศญี่ปุ่น ที่แสดงถึงความเป็นเลิศในการดำเนินโครงการ Mangrove Forest อย่างต่อเนื่อง เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสร้างสมดุลย์วงจรชีวิตในระบบนิเวศน์ป่าชายเลนให้กลับมาสมบูรณ์อีกครั้ง
นับเป็นความสำเร็จสูงสุดอีกครั้งที่บราเดอร์ได้รับจากการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ภายใต้ 6 ปัจจัยหลักที่นำสู่ความสำเร็จ ได้แก่ กลุ่มลูกค้า พนักงาน ผู้ถือหุ้น พันธมิตรทางธุรกิจ ชุมชน และสิ่งแวดล้อม โดยประกาศนียบัตรดังกล่าว สะท้อน ให้เห็นถึงความร่วมมือของภาคส่วนต่างๆ ในสังคมที่รวมพลังสร้างสรรค์กิจกรรมอันเป็นประโยชน์ร่วมกัน อย่างต่อเนื่อง ซึ่งจำนวน circle ในประกาศนียบัตรนั้นแสดงถึงความต่อเนื่องและผลลัพธ์ของโครงการที่ดียิ่งขึ้นในทุกๆ ปี ซึ่งบราเดอร์ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงความมุ่งมั่นดังกล่าวได้เป็นอย่างดี