ผู้บริโภค ยุคดิจิทัล กับสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค
02 Jan 2020

 

เราเห็นข่าวพาดหัวตามสื่อต่างๆ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแบบพลิกโฉมของธุรกิจค้าปลีกตลอดเวลา และเราทุกคนต่างทราบดีว่าสาเหตุเกิดจากพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงไป การใช้งานผ่านโทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้น การเข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น ความโปร่งใสอันเนื่องมาจากการใช้อินเทอร์เน็ตและอื่นๆ เมื่อพิจารณาถึงร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคแล้ว การช็อปปิ้งในร้านเหล่านี้ยังคงเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงถึง 1 ใน 3 ของการใช้จ่ายทั้งหมดและเป็นส่วนสำคัญของงบประมาณและเวลาที่เรากำหนดไว้ ขณะที่การเปลี่ยนแปลงทางดิจิทัลที่เพิ่มขึ้นกำลังทำให้ประสบการณ์ของผู้บริโภคเปลี่ยนไป ด้านล่างนี้คือ 3 วิถีดิจิทัลที่ไม่เพียงส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกเท่านั้น แต่ยังส่งผลถึงระบบซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภคอีกด้วย

 

  1. การเพิ่มขึ้นของดิจิทัลและความต้องการข้อมูล

 

ในขณะที่กำลังตัดสินใจซื้อผู้บริโภคมีความคาดหวังว่าจะได้รับข้อมูลมากขึ้น ต้องการข้อมูลข่าวสารเพิ่มขึ้น แทนที่จะหลับหูหลับตาเชื่อในสิ่งที่แบรนด์ใหญ่ๆ พูดถึงเรื่องราวของตน ผู้บริโภคฝึกตนเองให้ค้นหาข้อมูลของสิ่งที่พวกเขากำลังจะซื้อ และไม่เพียงแต่จะค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์เท่านั้น แต่ผู้บริโภคยังคาดหวังที่จะเข้าถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ มากกว่า ในอดีตผู้บริโภคไม่ได้พอใจเพียงแค่ฉลากทั่วๆ ไป ที่มีจำนวนแคลอรี่ และส่วนผสมเท่านั้น แต่ยังต้องการทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้าว่าขนส่งมาอย่างไร และตอบโจทย์ข้อกำหนดด้านสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน ถ้าจำเป็นต้องมี หรือไม่ สิ่งนี้คือสิ่งที่ผู้ขายสินค้าบริโภค และผู้ผลิตอาหารที่รู้เท่าทันความต้องการของผู้บริโภค จะต้องถือเป็นเรื่องสำคัญต้องแจ้งรายละเอียดเหล่านี้ ให้ผู้บริโภคในยุคดิจิทัลรับทราบ

 

  1. การเชื่อมต่อกับผู้บริโภค

 

ยิ่งผู้บริโภครู้เท่าทัน และฉลาดมากขึ้น ยิ่งหมายถึงโอกาสสำหรับผู้ขายสินค้าที่จะเข้าถึงและเชื่อมต่อกับผู้บริโภคมากขึ้น ในยุคดิจิทัลนี้ ผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภค และผู้ที่อยู่ในอุตสาหกรรมซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภคจะได้รับโอกาสที่จะเชื่อมต่อกับผู้ซื้อได้ดียิ่งขึ้น มีความเข้าใจและความใกล้ชิดกับลูกค้าปลายทางมากขึ้น

 

อีกไม่นานผู้บริโภคอาจจะได้รับข้อความดิจิทัลจากแบรนด์อาหารชั้นนำต่างๆที่เป็นสูตรอาหารเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการซื้อสินค้าชนิดนั้นๆ หรือผู้ผลิตผลิตภัณฑ์นมจะสามารถเพิ่มฉลากอัจฉริยะที่สื่อสารกับสมาร์ทโฟนของผู้บริโภคเพื่อเตือนถึงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ว่าอยู่ในสถานะใด สินค้านั้นๆ จะถึงวันหมดอายุเมื่อใด เป็นต้น

 

  1. ระบบซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภคจะทำงานได้ชาญฉลาดขึ้น

 

ระบบซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภคที่มีการนำระบบดิจิทัลมาใช้มากขึ้น จะทำให้เกิดความมั่นใจในความปลอดภัยสามารถตรวจสอบกระบวนการทั้งหมดได้ และมีประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้น เช่นเดียวกันกับซัพพลายเชนของธุรกิจหรืออุตสาหกรรมอื่นๆ การนำเทคโนโลยีมาใช้มากขึ้นนำไปสู่การมองเห็นภาพรวมที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งหมายถึงการจัดการที่ดีขึ้น และซัพพลายเชนที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

ปัญหาความท้าทายด้านซัพพลายเชนของสินค้าเพื่อการบริโภค คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าที่อาจเน่าเสียได้ง่าย และไวต่อสิ่งกระทบภายนอก เช่น สภาพอากาศ การกระทบกระแทก และการจัดการ ระหว่างขนส่งหรือขนถ่ายสินค้า ผู้ขายและซัพพลายเออร์จำเป็นต้องพึ่งพาระบบดิจิทัล เพื่อควบคุมและจัดการกับผลที่เกิดขึ้น เช่น การจัดส่งสินค้าเพื่อการบริโภคจากแหล่งผลิตไปจนถึงชั้นวางสินค้าในเมืองที่ห่างไกล ตลอดระยะทางจะต้องมีการจัดวางในคอนเทนเนอร์สำหรับส่งสินค้า การส่งผ่านรถบรรทุกหรือช่องทางคมนาคมอื่นๆ และการเก็บรักษาสินค้าไว้ในห้องเย็นจนกว่าจะไปถึงชั้นวางสินค้าของร้านในเป็นขั้นตอนสุดท้าย สิ่งที่กล่าวมาทั้งหมดล้วนเป็นเคล็ดลับที่ทำให้สินค้าเพื่อการบริโภคนั้นมาถึงชั้นวางสินค้าในเวลาที่เหมาะสม กระบวนการทั้งหมดนี้มีความเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดผ่านการจัดการทางดิจิทัล เพื่อทำให้ผู้ผลิตมั่นใจได้ว่าสามารถส่งสินค้าเพื่อการบริโภคนั้นๆ ในจำนวนสูงสุดถึงชั้นวางสินค้าได้ในเวลาที่เหมาะสม

 

แม้ว่าเทคโนโลยีจะไม่ใช่สิ่งมหัศจรรย์ แต่เทคโนโลยีก็ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทุกประเภท สำหรับธุรกิจอาหาร และธุรกิจด้านสินค้าอุปโภคบริโภค เทคโนโลยีช่วยให้ซัพพลายเชนของธุรกิจประเภทนี้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ที่สำคัญที่สุดคือมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

 


ฟาบิโอ ทิวิติ

รองประธานบริษัท อินฟอร์ อาเชียน


 

[อ่าน 2,392]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
‘Miguo’ สตาร์ทอัพตัวจี๊ดจากจีน อัจฉริยะทางลัด หรือหายนะของศิลปิน?
"น่าอยู่" ปิดระดมทุนพรี ซีรีส์ A พร้อมขยายทั่วไทย-บุกอาเซียนปี 2572
InnoSpace Thailand จัดงาน InnoSpace Summit 2025 เดินหน้าขยายการลงทุนใน DeepTech Startup
ออมสิน ช่วย SME เร่งเครื่องธุรกิจด้วย ESG สู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน “SME Gear Up ติดปีกธุรกิจด้วย ESG”
Google Workspace ขับเคลื่อนอนาคตของการทำงานด้วยพลัง AI สำหรับทุกธุรกิจ
เกาหลีใต้เปิดศูนย์ KTSC ในไทย เชื่อมโยงนวัตกรรม Travel Tech
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved