ถ้าเทียบกับวิกฤติครั้งต่างๆ ที่ผ่านมา ระหว่าง วิกฤติต้มยำกุ้ง วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ จนถึงครั้งนี้ วิกฤติโควิด-19 ครั้งใดรุนแรงกว่ากัน แล้วผู้ประกอบการควรปรับมุมมองและกลยุทธ์อย่างไร เพื่อก้าวข้ามช่วงเวลายากลำบากเช่นนี้ที่ไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดเมื่อใด จรัมพร โชติกเสถียร กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพฯ และอดีตผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และอดีต ดีดี การบินไทย ได้ให้มุมมองนี้กับเสวนาของ TechSauce เรื่อง "ถอดบทเรียนการเผชิญวิกฤติจากอดีตสู่ COVID-19" พร้อมกับแนะทางรอดให้เอสเอ็มอีได้มีรันเวย์ที่ยาวขึ้น รอวันฟ้าใสจะได้ทะยานบินได้อย่างสวยงาม
ความแตกต่างของแต่ละวิกฤติ
สภาพคล่อง ตัวแปรสำคัญ
จรัมพรให้มุมมองถึงวิกฤติโควิด -19 ว่า "สภาพคล่องทางการเงิน" คือตัวแปรสำคัญที่จะช่วยหล่อลื่นให้ระบบเศรษฐกิจทั้งมหภาคและจุลภาคเดินหน้าต่อไปได้อย่างราบรื่น โดยในระดับมหภาคนั้น ภาครัฐก็ได้ใช้มาตรการเยียวยาต่างๆ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน โดยถือว่า เป็นมาตรการที่ดำเนินการได้เร็วและลงที่ Real Sector จริงๆ เพียงแต่อาจมีบ้างที่ไม่ทั่วถึง ซึ่งตรงนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ก็ออกมาตรการต่างๆ เพื่อเยียวยาและทำให้ทั้งองค์กรธุรกิจ และเอสเอ็มอีส่วนใหญ่มีสภาพคล่องพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างต่อเนื่อง และสามารถจ้างพนักงานของตนเองต่อไปได้แต่อย่างไรก็ตาม ก็อาจจะมีธุรกิจอีกราว 30% ที่อาจได้รับผลกระทบอย่างหนักจนไปไม่ได้และต้องปิดตัวในที่สุด
"สำหรับผู้ประกอบการหรือเอสเอ็มอี ถ้าหากสามารถเลือกได้ ก็ต้องใช้กลยุทธ์ Cash is King เพราะการเก็บเงินสดไว้สำคัญมาก อะไรที่ไม่สำคัญก็ชะลอการตัดสินใจไปก่อน ซึ่งประเด็นนี้ ธปท.ก็ได้ดำเนินมาตรการเกี่ยวกับการลดดอกเบี้ยและเงินกู้ซอฟต์โลน ภขถ หมื่นล้านบาท ให้กับเอสเอ็มอี เพื่ออัดฉีดสภาพคล่องให้เอสเอ็มอีเดินหน้าได้ เพราะธปท.เห็นความสำคัญของ "เงินสด" เพราะถ้าหากต้องปิดกิจการสามเดือนก็ตองมเงินสดเพียงพอที่จะอยู่ได้สามเดือน เป็นต้น"
ธุรกิจที่จะฟื้นตัวได้เร็ว/ช้า
พลิกมุมคิดกับวิกฤติใหม่
จรัมพรให้มุมมองถึงการรับมือกับวิกฤติโควิด -19 ดังนี้
1) การแบ่งทีมต้องเล็กจึงจะเวิร์ค สำหรับธนาคารกรุงเทพ หรือองค์กรใหญ่ล้วนมีแผนสำรองกรณีมีเหตุฉุกเฉิน แต่ส่วนใหญ่จะเป็นแผนสำรองที่มีปัญหาจากสถานที่ทำงานมีปัญหามากกว่า เช่น น้ำท่วม เกิดภัยพิบัติ แต่โควิด-19 เป็นกรณีที่เกิดกับคนแลเมื่อเกิดแล้ว คนไม่สามารถทำงานได้ 14 วันเป็นอย่างน้อย ที่ผ่านมา กรณีฉุกเฉินเราจะแบ่งทีมงานเป็นสองทีม แต่หากทีมหนึ่งเกิดติดเชื้อโควิด-19 แม้จะมีการคลีนสถานที่เพื่อฆ่าเชื้อ แต่คนกลับมาทำงานไม่ได้ นั่นเท่ากับต้องเสียกำลังคนไปครึ่งหนึ่ง แล้วหากทีมที่เหลือติดเชื้ออีกก็จะกลายเป็นไม่มีกำลังพล ดังนั้น ในสถานการณ์โควิด-19 การตัทีมให้เล็กที่สุดจึงจะเป็นวิธีที่เวิร์คที่สุด เพราะสามารถกระจายความเสี่ยงได้ดีกว่าการแบ่งทีมงานเป็นสองทีม
2) เทรนด์ไร้สัมผัสมาแน่ ผลพวงของโควิด -19 ที่ทำให้ผู้คนเปลี่ยนพฤติกรรมทั้งการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล เพื่อช็อปปิ้ง การทำธุรกรรมต่างๆ รวมทั้งการเปิดบัญชีธนาคารบนสมาร์ทโฟน รวมทั้งการจ่ายเงินผ่านระบบอีเพย์เม้นท์ต่างๆ แม้ว่าการจ่ายเงินด้วยระบบคิวอาร์โค้ดจะยังไม่แพร่หลายมากนักก็ตาม
3) ซอฟต์โลนช่วยเอสเอ็มอีได้ มาตรการที่รัฐช่วยอุดหนุนในส่วนของซอฟต์โลนนั้นเป็นการช่วยเอสเอ็มอีในแง่ของต้นทุน จากการที่รัฐบาบช่วยอุดหนุนดอกเบี้ยให้ส่วนหนึ่ง เนื่องจากทุนนั้นมีความเกี่ยวข้องโดยตรงกับกำไร และหมายถึงการเป็นสภาพคล่องทีจะทำให้ธุรกิจเดินหน้าต่อไปได้
4) หา New Normal ช่วง Post Covid-19 ให้เจอ ในช่วงโควิด -19 ที่พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงอาจจะยังไม่เซ็ตตัว แต่ถ้าผู้ประกอบการหรือเอสเอ็มอีมองเห็นความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นเป็น New Normal ในช่วงหลังโควิด -19 ก็จะทำให้สามารถสร้างความได้เปรียบทางธุรกิจได้