FIVE STAR & STAR COFFEE แฟรนไชส์ปั้นเถ้าแก่น้อยจาก CPF
14 Jan 2021

แฟรนไชส์ 'ห้าดาว' ของค่าย CPF หรือ บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร ถือเป็นธุรกิจเก่าแก่ที่อยู่คู่สังคมไทยและสร้างรายได้ สร้างคนไทยมานาน ด้วยรสชาติของเมนูไก่และเมนูอื่นๆ ที่คัดสรรมาเสิร์ฟคนไทย ล่าสุด CPF ประกาศรีแบรนด์ 'ห้าดาว' เป็น FIVE STAR อีกทั้งหนุนยุทธศาสตร์เดินคู่กับแฟรนไชส์เครื่องดื่ม STAR COFFEE เพื่อที่จะทำแคมเปญร่วมกันแบบ Cros-Selling ได้ง่าย กับมีบริการ STAR DELIVERY เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคยุค New Normal

 

        

 

FIVE STAR โฉมใหม่

ด้วยเป้าหมายของการรีแบรนด์ 'ห้าดาว' เป็น FIVE STAR ที่ต้องการให้คนรุ่นใหม่ บัณฑิตจบใหม่เข้ามาลงทุนสร้างธุรกิจและสร้างรายได้ของตนเองร่วมกับ CPF อีกทั้งทายาทของผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์เดิมก็มีความภูมิใจที่จะสานต่อกิจการของคนรุ่นพ่อแม่ ซึ่งการรีแบรนด์ครั้งนี้ถือเป็นการยกเครื่องก็ว่าได้ เพราะเป็นการปรับภาพลักษณ์ ปรับยุทธศาสตร์ทุกมิติแบบ 360 องศาทั้งตัวเฟรนไชส์ บุคลากร ระบบโลจิสติกส์และบริษัท ทำให้สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนของ FIVE STAR คือ ภาพลักษณ์ของความทันสมัย และภาพลักษณ์ทางด้านสุขอนามัย ตลอดจนเมนูที่เพิ่มเติมจากผลิตภัณฑ์ที่มีในเครือข่ายของ CPF เอง

"เรามีความคาดหวังด้วย เราจะสามารถสร้างธุรกิจครอบครัวที่มีการรับช่วงธุรกิจ จากรุ่นสู่รุ่นในกลุ่มคนที่ซื้อแฟรนไชส์ของเรา ด้วยโจทย์ของการสร้างแบรนด์ FIVE STAR ให้เป็นแบรนด์ที่คนเหล่านี้มีความภาคภูมิใจเมื่อกล่าวถึง" สุนทร จักษุกรรฐ์  รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธุรกิจห้าดาว บมจ. เจริญโภคภัณฑ์อาหาร กล่าว

 

 

ทั้งนี้ คนรุ่นใหม่ที่เข้ามาเป็นทำแฟรนไชส์ FIVE STAR ปัจจุบันมีสองกลุ่ม คือ กลุ่มที่เรียนจบแล้วมาซื้อแฟรนไชส์เป็นผู้ประกอบการ และกลุ่มทำงาน ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มที่ยังทำงาน แต่ต้องการหารายได้เสริม กับกลุ่มที่ออกจากงานแล้ว ซึ่งกลุ่มหลังมีไม่มากนัก

ผลลัพธ์ของการปรับใหญ่ในช่วงสองปีที่ผ่านมา ทำให้ FIVE STAR ปรับลดร้านค้าแบบรถเข็นและทำร้านในสองรูปแบบคือ แบบ Restaurant ขนาด 20-50 ตารางเมตร และแบบ Premium Kiosk ขนาด 9 ตารางเมตร        

 

 

เดินคู่ STAR COFFEE

นอกจากความได้เปรียบของ CPF จะอยู่ที่ความหลากหลายของอาหารแล้ว CPF ยังเป็นบริษัทที่มีแฟรนไชส์ทั้งอาหารและเครื่องดื่มทำให้มองยุทธศาสตร์ในองค์รวม ด้วยการผนึกทั้ง FIVE STAR และ STAR COFFEE สองแฟรนไชส์นี้ให้เดินเคียงคู่กัน เสริมแรงซึ่งกันและกัน

สุนทรกล่าวว่า ร้านที่จะทำได้ทั้งสองแนวคิดนี้จะต้องเป็นร้านที่มีพื้นที่ 80-100 ตร.ม.ขึ้นไป สาเหตุที่เรามองว่า สองธุรกิจนี้จะต้องเดินคู่กัน เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจปัจจุบัน ธุรกิจเครื่องดื่มได้รับผลกระทบมากกว่าธุรกิจอาหาร โดยเฉพาะกลุ่มเครื่องดื่มกลุ่มชานม กาแฟ โดยผู้บริโภคอาจจะประหยัดด้วยการซื้อชา กาแฟในราคาที่ถูกลงหรือชงเอง ดังนั้น การใช้แบรนด์ FIVE STAR ที่เป็นที่รู้จักดีอยู่แล้วเข้ามาช่วยแบรนด์ STAR COFFEE เสมือนเป็นแบรนด์แม่ที่เข้ามาช่วยแบรนด์ลูก และทำโปรโมชั่นร่วมกัน เช่นใช้บิลของไก่ย่างมาแลกซื้อกาแฟหรือแลกเป็นส่วนลด เนื่องจากพฤติกรรมคนที่เข้าร้านกาแฟจะเลือกนั่งร้านที่ไม่มีกลิ่นอาหาร ร้านต้องมีบรรยากาศ  ฉะนั้น ในอนาคตเราจะไม่ทำร้านแบบ 'ช้อปอินช้อป' แล้ว แต่ให้เป็นร้านที่ตั้งข้างๆ กัน หรือสามารถเชื่อมทะลุถึงกันได้ แต่จะให้ดีที่สุดคือกั้นให้แยกกัน 

 

 

ราคาประเมินงบลงทุน ของ  STAR COFFEE แบบเคาน์เตอร์ 3.06 แสนบาท และร้าน 6.06 แสนบาท ประกอบด้วย

  • ค่าธรรมเนียม (Franchise Fee) 5,000 บาท (ไม่มีค่าต่อสัญญา)
  • ค่าเปิดบริการจุดใหม่ 1,000 บาท 
  • ฟรี ค่าออกแบบร้านมูลค่า 10,000 บาท และ ค่าฝึกอบรม 500 บาท
  • ค่าก่อสร้าง งานตกแต่ง งานระบบ เฟอร์นิเจอร์  เคาน์เตอร์ 3 แสนบาท,ร้าน 6 แสนบาท (ขื้นกับพื้นที่ใช้งาน)
  • ค่าการตลาด 1.5% (มูลค่าสินค้า) + ค่าการตลาดธุรกิจกาแฟ 2,000 บาท/เดือน

 ทั้งนี้ เงินลงทุนไม่รวมเงินทุนหมุนเวียน สินค้าและอุปกรณ์ชุดแรก Barista Tool 50,000 บาท

 

        

อนาคตลิขิตร่วมกัน   

การลิขิตอนาคตกับค่าย CPF นั้น สุนทรกล่าวว่า "เป็นการลงทุนที่ใช้เงินไม่มากคืนทุนได้เร็วที่สำคัญเรามีองค์ความรู้เรื่องของการหาและวิเคราะห์ทำเล ฉะนั้นความเสี่ยงตรงนี้จะต่ำ นอกจากนี้เรายังมี 'กลยุทธ์ 3 เปลี่ยน' เปลี่ยนธุรกิจ - เปลี่ยนผู้ประกอบการ - เปลี่ยนทำเล เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเฟรนไชส์อีกด้วย โดยเราจะคิดว่าทำอย่างไรให้เสียหายน้อยที่สุด จุดไหนที่ไม่ประสบความสำเร็จ เราก็มาใช้กลยุทธ์ 3 เปลี่ยน ทำให้คนที่เข้ามาเป็นผู้ประกอบการแฟรนไชส์ประสบความสำเร็จเกือบทั้งหมด ยกเว้นบางกรณีที่ผู้ประกอบการเค้าไม่เอาแล้ว - พอแล้ว ทั้งนี้ คนที่เข้ามาแล้วมีปัญหา เราไม่ได้ทิ้ง สำหรับจุดไหนที่มียอดขายเริ่มไม่ค่อยดี เราก็จะไปเจรจาว่าย้ายดีหรือไม่ มาปรับเป็นรูปแบบใหม่ดีหรือเปล่า มีความพร้อมหรือไม่ ฯลฯ ประเด็นพวกนี้ เราจะพยายามเข้าไปช่วยเหลือ ไม่ทอดทิ้งผู้ที่ซื้อแฟรนไชส์"  

'กลยุทธ์ 3 เปลี่ยน' ที่ CPF ใช้เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ คือ

  • เปลี่ยนธุรกิจ เช่น บางทำเลอาจไม่เหมาะกับข้าวมันไก่ อาจจะเอา FIVE STAR ไปแทน ถ้าหากพิจารณาแล้วเห็นว่า ธุรกิจนั้น โอเค  
  • เปลี่ยนผู้ประกอบการ เนื่องจากผู้ประกอบการบางคนไม่มีเวลาที่จะให้กับการทำธุรกิจ เมื่อต้องทำธุรกิจจริงๆ ดังนั้น เมื่อไม่มีความพร้อม เราก็จะหาคนที่จะเข้ามาแทน เนื่องจากบางคนอาจจะไม่ชอบการบริการ หรือเมื่อต้องทำร้านอาหารแล้วทำไม่เป็น ทำไม่ได้      
  • เปลี่ยนทำเล หลังจากนี้  CPF จะพยายามเปิดให้เร็ว ก่อสร้างต้องเสร็จภายใน 10 วัน ด้วยรูปแบบของชิ้นส่วนที่ทำให้เป็นน็อกดาวน์ให้มากที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถย้ายทำเลไปได้สะดวก

 


สำหรับผู้ที่สนใจทำธุรกิจกับ Five Star

สอบถามรายละเอียดได้ที่ www.fivestar.in.th หรือโทร 02-800-8000

นอกจากนี้ ยังสามารถค้นหาแรงบันดาลใจและความรู้ในการทำธุรกิจจากบทเรียนอื่นๆ ได้ที่ 

www.fivestar-class.com

[อ่าน 7,492]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
เกาหลีใต้เปิดศูนย์ KTSC ในไทย เชื่อมโยงนวัตกรรม Travel Tech
KXVC เปิดตัว KX Horizon โปรแกรมส่งเสริมสตาร์ทอัพ AI และ Web3 ระยะเริ่มต้น
True Space: จากพื้นที่กิจกรรมสู่เส้นทางสตาร์ทอัพสำหรับชมรมเล็กในมหาวิทยาลัย
สร้างประสบการณ์พูดคุยเสมือนจริงมากขึ้น ด้วยโฮโลแกรม 3 มิติ ขนาดเท่าคนจริงจาก Proto
Succession + Passion ธุรกิจครอบครัวสไตล์ “ตระกูลสุโกศล”
AIS ยืนหนึ่งวงการสตาร์ทอัพไทย คว้ารางวัล Prime Minister Award ในหมวด National Startup 2024
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved