'เคทีซี' ฝ่าวิกฤติดันกำไร 5,332 ล้านบาท ขานรับ ธปท.เตรียมขยายเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้
19 Jan 2021

 

'เคทีซี' รายงานผลประกอบการปี 2563 ตามมาตรฐาน TFRS9 กำไรสุทธิเท่ากับ 5,332 ล้านบาท ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้าน บัญชีสินเชื่อรวมขยายตัวเพิ่มขึ้นในขณะที่ NPL รวมลดต่ำต่อเนื่องอยู่ที่ 1.8% ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดวิกฤติโควิด-19 (Covid-19) ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูง เดินหน้าแผนปี 2564 สร้างความแข็งแกร่งในพอร์ตลูกหนี้คุณภาพทั้ง 3 ธุรกิจหลัก บัตรเครดิต สินเชื่อบุคคลและสินเชื่อทะเบียนรถ พร้อมตรึงฐานสมาชิกเดิมผูกพันกับเคทีซี ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์ ออฟไลน์ และร่วมแบ่งเบาภาระเคียงข้างสมาชิก    

 

ระเฑียร ศรีมงคล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เคทีซี” หรือ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ได้ส่งผลกระทบรุนแรงกับระบบเศรษฐกิจทั่วโลกอย่างที่ไม่มีใครคาดคิด ต่อเมื่อเศรษฐกิจไทยเริ่มมีการฟื้นตัวต่อเนื่องจากแรงกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐตั้งแต่ปลายไตรมาสที่ 2 เป็นต้นมา ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเคทีซีเริ่มส่งสัญญาณที่ดีขึ้น รวมทั้งพอร์ตลูกหนี้ของเคทีซีสามารถขยายตัวได้เพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ภายใต้เกณฑ์ใหม่ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่ประกาศปรับลดเพดานการคิดอัตราดอกเบี้ยในธุรกิจบัตรเครดิตและสินเชื่อบุคคล ได้ส่งผลกระทบกับรายได้ของบริษัทเต็มไตรมาสสุดท้ายของปี บริษัทจึงปรับกลยุทธ์โดยให้ความสำคัญกับการคัดกรองลูกค้ามากขึ้น เพื่อให้สามารถดูแลคุณภาพของสินทรัพย์ได้ดี รวมทั้งสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ที่สอดรับกับพฤติกรรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป อีกทั้งปรับกระบวนการทำงานในองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และบริหารต้นทุนทางการเงินให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมถึงใช้มาตรการบริหารจัดการความเสี่ยงของลูกหนี้ให้เหมาะสม และการตัดหนี้สูญเพื่อให้พอร์ตลูกหนี้สะท้อนภาพความเป็นจริง โดยมีรายได้หนี้สูญได้รับคืนอยู่ในระดับที่น่าพอใจ”  

 

เคทีซียังร่วมสนับสนุนมาตรการของกระทรวงการคลังและธนาคารแห่งประเทศไทยอย่างเต็มที่ในการช่วยเหลือด้านสินเชื่อสำหรับลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจาก Covid-19 ทั้งการปรับลดเพดานดอกเบี้ยและเพิ่มวงเงินให้กับลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อบุคคล การเปลี่ยนสินเชื่อเป็นระยะยาว เลื่อนการชำระค่างวดหรือเงินต้น การลดค่างวด เป็นต้น โดยข้อมูล วันที่ 31 ธันวาคม 2563 มีกลุ่มลูกหนี้สมัครเข้าร่วมมาตรการช่วยเหลือในการปรับโครงสร้างกับเคทีซีมียอดหนี้คงเหลือ 813 ล้านบาท (10,812 บัญชี) ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2563 ธนาคารแห่งประเทศไทย ได้ประกาศขยายระยะเวลามาตรการช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยออกไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ซึ่งเคทีซีจะได้ปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าวต่อไป” 

 

สำหรับแผนในปี 2564 ท่ามกลางสถานการณ์ความไม่แน่นอนของการแพร่ระบาด Covid-19 ที่ยังส่งผลต่อเนื่อง และเกิดการระบาดระลอกใหม่ในประเทศไทย บริษัทจะปรับแผนธุรกิจเพื่อสร้างความแข็งแกร่งในพอร์ตลูกหนี้คุณภาพทั้ง 3 ธุรกิจหลัก โดยมุ่งรักษาพอร์ตลูกหนี้ให้มีคุณภาพดีและผูกพันกับเคทีซี ผ่านกิจกรรมส่งเสริมการตลาดทั้งออนไลน์และออฟไลน์ รวมทั้งแบ่งเบาภาระเคียงข้างสมาชิกทุกกลุ่ม โดยธุรกิจบัตรเครดิต จะร่วมมือกับพันธมิตรคู่ค้าอย่างใกล้ชิด เน้นส่งเสริมการตลาดที่เป็นออนไลน์มากขึ้นในทุกหมวดการใช้จ่ายซึ่งเหมาะกับสถานการณ์ปัจจุบัน เพื่อตอบรับกับความจำเป็นทุกความต้องการของสมาชิก ธุรกิจสินเชื่อบุคคล จะให้ความสำคัญกับการตอกย้ำทุกฟังก์ชันการใช้งานของบัตรกดเงินสดเคทีซี พราวที่เพิ่มความสะดวกให้กับสมาชิกผู้ถือบัตรทั้งรูด โอน กด ผ่อนในบัตรเดียว  ธุรกิจสินเชื่อทะเบียนรถเคทีซี พี่เบิ้ม” เคทีซีจะมุ่งขยายตลาดในปีนี้เป็นหลัก โดยตั้งเป้าหมายเติบโตที่ 1,000 ล้านบาท เป็นฐานสนับสนุนการเติบโตในระยะต่อไป สำหรับแผนโครงการที่เกี่ยวข้องกับระบบการชำระเงิน “Payment System” อยู่ในระหว่างการศึกษาข้อมูลและวิธีการดำเนินการ  ซึ่งบริษัทเชื่อว่าจะเป็นธุรกิจใหม่ที่มาเสริมธุรกิจหลัก และสร้างโอกาสให้บริษัทเติบโตอย่างยั่งยืนและมั่นคงในระยะยาว”  

 

 

ผลประกอบการของเคทีซี วันที่ 31 ธันวาคม 2563 ภายใต้มาตรฐาน TFRS9 เปรียบเทียบกับปี 2562 มีดังนี้ กำไรสุทธิ 5,332 ล้านบาท (ปี 2562 เท่ากับ 5,524) เงินให้สินเชื่อแก่ลูกหนี้และดอกเบี้ยค้างรับรวมเท่ากับ 90,149 ล้านบาท (เติบโต 4.3%)  NPL ต่อเงินให้สินเชื่อรวมเท่ากับ 1.8%  ฐานสมาชิกรวม 3.4 ล้านบัญชี (ใกล้เคียงปี 2562) แบ่งเป็นธุรกิจบัตรเครดิต 2,575,684 บัตร (เพิ่มขึ้น 2.6%) สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิตรวม 60,235 ล้านบาท  อัตราเติบโตของปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตลดลงที่ -7.7% หรือมีมูลค่ารวม 197,087 ล้านบาท NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้บัตรเครดิต 1.3% ธุรกิจสินเชื่อบุคคล (รวมสินเชื่อธนวัฏและสินเชื่อเจ้าของกิจการ) มีจำนวนทั้งสิ้น 814,329 บัญชี (ลดลง -8.3%) จากการปิดบัญชีที่ไม่เคลื่อนไหว ยอดลูกหนี้สินเชื่อบุคคลรวม 29,915 ล้านบาท  NPL ต่อเงินให้สินเชื่อลูกหนี้สินเชื่อบุคคลเท่ากับ 2.7% 

 

ในปี 2563 บริษัทฯ มีรายได้รวม22,056 ล้านบาท ลดลง -2.5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากรายได้ดอกเบี้ยลูกหนี้บัตรเครดิตและลูกหนี้สินเชื่อบุคคลที่เพิ่ม 5.7% และ 2.8% ตามลำดับ เป็นอัตราเพิ่มที่ชะลอตัวลง เพราะผลกระทบจากสถานการณ์ Covid-19 และการลดเพดานอัตราดอกเบี้ยของธนาคารแห่งประเทศไทย ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียม (ไม่รวมค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน) มีอัตราที่ -11.0% จากรายได้ค่าธรรมเนียม Interchange Fee รายได้ค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินสด และรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจร้านค้า (Acquiring Business) ที่ลดลง  ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวมเท่ากับ 15,400 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าใช้จ่ายการบริหารงาน 7,260 ล้านบาท ลดลง -6.0% จากรายการทางการค้าและกิจกรรมการตลาดที่ลดลง  ผลขาดทุนด้านเครดิตที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 6,605 ล้านบาท (หนี้สูญ 4,920 ล้านบาท และหนี้สงสัยจะสูญ 1,685 ล้านบาท) เพิ่มขึ้น 2.7% และต้นทุนทางการเงิน 1,534 ล้านบาทตามลำดับ

โดยมีสัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้สุทธิ  (Operating Cost toIncome Ratio)   เท่ากับ 25.4% เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 25.3% ในขณะที่สัดส่วนค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวม (Cost to Income Ratio) เท่ากับ 32.9% ลดลงจาก 34.1% เนื่องจากลดกิจกรรมการตลาดด้านการจัดหาสมาชิกบัตรใหม่ และหันไปเน้นส่งเสริมการตลาดใช้จ่ายผ่านบัตรออนไลน์มากขึ้น  

 

[อ่าน 1,785]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
“ซีพี ออลล์” ร่วมรำลึกพระคุณครู เชิดชูครูผู้สร้างการเปลี่ยนแปลง
Valentine’s Item! สมูทอีคอลแลปส์หลิง-ออม เปิดตัว “Smooth E x Ling-Orm Exclusive Valentine’s Box Set”
LPN มุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน เดินหน้าสร้าง Carbon Neutrality
SCG ร่วมกับสภาอุตฯ ชวนผู้ประกอบการสัมผัสนวัตกรรม Low Carbon และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม 4.0
ไฮเออร์ ประเทศไทย ยิ้มรับปี 68 กวาดรายได้ปี 67 โต 11,000 ล้านบาท
เอ็ม ดิสทริค จับมือพันธมิตรสร้าง มอบอภิมหาโปรโมชั่น ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีมะเส็งสุดยิ่งใหญ่
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved