ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ประกาศทิศทางธุรกิจปี 2564 มุ่งสู่ 'ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน' ตามแนวทาง SDGs และ ESG ตั้งเป้าเพิ่มการขายผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (Green Polymer) 2 แสนตันภายในปี 2568
ทั้งนี้ ธนวงษ์ อารีรัชชกุล กรรมการผู้จัดใหญ่ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี เปิดเผยว่า
ในปีที่ผ่านมาธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี มีการปรับตัวในหลายๆ ด้านเพื่อรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งธุรกิจสามารถดำเนินงานได้ตามเป้าหมายโดยโครงการสำคัญๆ อย่างเช่น โครงการขยายกำลังการผลิตของโรงงานมาบตาพุดโอเลฟินส์หรือ MOCD ที่มีความคืบหน้าตามแผนที่วางไว้ และพร้อมดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ภายในต้นไตรมาสที่ 2 นี้ โดยจะมีกำลังการผลิตโอเลฟินส์เพิ่มอีก 3.5 แสนตันต่อปี
สำหรับปี 2564 นี้ ธุรกิจปิโตรเคมี มีความท้าทายทางธุรกิจใหม่ๆ ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจทั้งระยะสั้นและระยะยาว โดยมีความท้าทายที่สำคัญ ได้แก่
ทั้งนี้ เพื่อรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ ทางธุรกิจ รวมทั้งตอบโจทย์ความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs : Sustainable Development Goals) ขององค์การสหประชาชาติ และแนวทาง ESG (Environmental, Social, Governance) ธนวงษ์ เปิดเผยถึงเป้าหมายการเดินหน้าสู่การเป็น “ธุรกิจปิโตรเคมีเพื่อความยั่งยืน” (Chemical Business for Sustainability) ของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ว่าประกอบด้วย
1) เพิ่มการขายผลิตภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ Green Polymer 2 แสนตัน ภายในปี 2568
2) ขยายการขายสินค้ามูลค่าเพิ่มสูง (HVA) เป็น 50% ภายในปี 2573
3) ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน และขับเคลื่อนด้วย 3 กลยุทธ์หลัก ได้แก่
ร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจ Circular Economy เพื่อส่งเสริมการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ลดภาวะโลกร้อน พร้อมตอบโจทย์ลูกค้า เจ้าของแบรนด์สินค้า และผู้บริโภคที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม โดยมีโรดแมปขับเคลื่อนเศรษฐกิจหมุนเวียน 4 ด้าน ครอบคลุมตลอดทั้งโซ่อุปทาน ได้แก่
1) การพัฒนานวัตกรรมเม็ดพลาสติกและโซลูชัน โดยออกแบบให้รีไซเคิลได้ง่าย (Design for Recyclability) และคงคุณสมบัติด้านอื่นๆ ไว้อย่างครบถ้วนเป็นขั้นตอน ตั้งแต่การออกแบบเพื่อให้พลาสติกสามารถรีไซเคิลได้ 100% เช่น การพัฒนาโซลูชันสำหรับบรรจุภัณฑ์แบบ Mono-Material ออกแบบให้ชั้นแผ่นฟิล์มในการผลิตบรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นวัสดุชนิดเดียวกันทั้งหมด จึงนำกลับมารีไซเคิลได้ง่าย โดยเบื้องต้น เอสซีจีได้คิดค้นโซลูชันสำหรับบรรจุภัณฑ์ที่ป้องกันการซึมผ่านระดับปานกลาง หรือ Medium Barrier Packaging สามารถใช้ทดแทนวัสดุไนลอนชั้นกลางในบรรจุภัณฑ์จำพวก ถุงน้ำยาล้างจาน สบู่เหลว ถุงข้าวสาร หรือบรรจุภัณฑ์แบบสุญญากาศ เช่น ถุงไส้กรอก ซึ่งโซลูชันนี้ช่วยให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกรีไซเคิลได้ 100% ส่งผลให้การจัดการหลังการใช้งานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ร่วมกับเจ้าของแบรนด์สินค้าหลายราย
2) การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง หรือ PCR (Post-Consumer Recycled Resin)โดยขณะนี้ เอสซีจี ได้วิจัยพัฒนาสูตรการผลิตเม็ดพลาสติกรีไซเคิล PCR ชนิด HDPE ภายใต้แบรนด์ SCG Green PolymerTM สำหรับบรรจุภัณฑ์สินค้าอุปโภคบริโภคและสินค้าที่ใช้ภายในบ้าน ช่วยลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาต้นแบบ PCR Booster สารปรับแต่งเพื่อยกระดับคุณภาพบรรจุภัณฑ์ให้สามารถมีส่วนผสมของเม็ดพลาสติกชนิด PCR เพิ่มขึ้นได้ โดยยังคงประสิทธิภาพของบรรจุภัณฑ์ไว้เช่นเดิม
3) การนำพลาสติกใช้แล้วมาผลิตเป็นวัตถุดิบตั้งต้นสำหรับธุรกิจปิโตรเคมี (Chemical Recycling)โดยพัฒนาเทคโนโลยีและกระบวนการผลิตที่ทันสมัย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อเปลี่ยนพลาสติกใช้แล้วกลับมาเป็นวัตถุดิบตั้งต้น หรือ Recycled Feedstock สำหรับโรงงานปิโตรเคมีเพื่อนำกลับมาผลิตเป็นเม็ดพลาสติกใหม่ รวมถึงสามารถผลิตเป็น Food Grade ได้ด้วย โดยได้ก่อสร้างโรงงานทดสอบการผลิต หรือ Demonstration Plant แห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่บริเวณโรงงาน จังหวัดระยอง ด้วยกำลังการผลิต Recycled Feedstock ประมาณ 4,000 ตันต่อปี และพร้อมที่จะขยายกำลังผลิตในอนาคต เมื่อเทียบกับการนำขยะไปเผาหรือฝังกลบ กระบวนการรีไซเคิลในรูปแบบนี้ มี Carbon Footprint น้อยกว่ามาก
4) การพัฒนานวัตกรรมพลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเจรจาความร่วมมือกับพันธมิตร
เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจ HVA ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้พัฒนานวัตกรรมสินค้าและบริการมูลค่าเพิ่มสูง หรือ HVA มาอย่างต่อเนื่อง โดยเน้น 4 กลุ่มอุตสาหกรรม ได้แก่ บรรจุภัณฑ์ สุขภาพ ยานยนต์ และการก่อสร้าง ทั้งนี้ ได้วิจัยพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ ทั้งในรูปแบบ In-House และ Open Innovation ดังนี้
o ร่วมมือกับเครือข่ายด้านวิจัยพัฒนาสถาบันการศึกษาและสถาบันวิจัยต่างๆ ทั่วโลกทั้งในประเทศไทย เอเชียและยุโรป ซึ่งในปีนี้ ธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้ตั้งงบ R&D เป็นเงินกว่า 1,600 ล้านบาท
o ก่อตั้งศูนย์นวัตกรรมและพัฒนาต้นแบบสินค้าหรือ “i2P Center” (Ideas to Products) แห่งแรกและแห่งเดียวในภูมิภาคอาเซียนตั้งแต่ปี 2562 เพื่อเป็นโซลูชันด้าน Material Selection, Design และ Process
o มีศูนย์พัฒนาต้นแบบสินค้า จึงช่วยจุดประกายความคิดให้กับลูกค้าและเจ้าของแบรนด์สินค้า รวมทั้งมีกระบวนการเร่งให้เกิดนวัตกรรมและการพัฒนาสินค้าต้นแบบได้รวดเร็วขึ้นเป็น 3 เท่าจากที่ผ่านมา
เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของธุรกิจ ทั้งด้านความเร็วและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยเอสซีจีได้เสริมความแข็งแกร่งภายในองค์กรด้วยการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้ดำเนินธุรกิจตลอดห่วงโซ่อุปทาน สร้าง Single Data Platform ทำให้ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมดเห็นข้อมูลชุดเดียวกันแบบเรียลไทม์ เช่น การใช้ดิจิทัลในการขั้นตอนการจัดหาวัตถุดิบ ให้มีประสิทธิภาพและเหมาะสมตามสถานการณ์ตลาดมากขึ้น การใช้ดิจิทัลเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและป้องกันปัญหาในกระบวนการผลิต (Reliability) ใช้ Predictive Model เพื่อแจ้งเตือนความผิดปกติของเครื่องจักรล่วงหน้าก่อนเกิดความเสียหาย และการนำ AI Simulation เข้ามาใช้ในกระบวนการผลิต นอกจากนี้ ยังได้จัดทำ Digital Commerce Platform หรือ DCP เพื่อเชื่อมต่อข้อมูลจากคำสั่งซื้อของลูกค้าเข้ากับข้อมูลการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน ทำให้ลูกค้าสามารถติดตามสถานะคำสั่งซื้อได้ทุกที่ทุกเวลา และสามารถลดเวลาได้ถึง 70%”
ทั้งนี้ กลยุทธ์เชิงรุกทั้ง 3 ด้านของธุรกิจเคมิคอลส์ เอสซีจี ได้แก่
1. เร่งการขยายเข้าสู่ธุรกิจ Circular Economy
2. เร่งการขับเคลื่อนธุรกิจ HVA
3. เร่งการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้
นอกจากจะส่งเสริมให้ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืนแล้วยังตอบโจทย์ SDGs และ ESG ซึ่งช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตผู้คน ชุมชน สังคม และดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน ผ่านนวัตกรรมและโซลูชันที่เอสซีจีมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้ง และพร้อมที่จะร่วมมือกับทุกภาคส่วนเพื่อสร้างความยั่งยืนไปด้วยกัน