‘อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์' ลุยจัดงานใหญ่ ProPak Asia 2021 ระหว่าง 16 - 19 มิถุนายนนี้ ที่ไบเทค บางนา เผยปีนี้ยังจัดแน่ พร้อมใช้เทคโนโลยี VR, AI และ Digital Experience ส่งมอบประสบการณ์การจัดงานจัดแสดงสินค้าหรือ ‘เอ็กซิบิชั่น’ ยุค New Normal ในรูปแบบผสมผสาน ออนกราวด์ - ออนไลน์ - ไฮบริด พร้อมสร้างแพลตฟอร์มหนุนผู้ประกอบการเชื่อมโยงคู่ค้าทั่วโลกฝ่าวิกฤติโควิด-19
การจัดงานเทรดโชว์ ProPak Asia 2021 หรือ Premier Processing & Packaging Exhibition for Asia 2021 กลับมาอีกครั้งในปีนี้ ระหว่างวันที่ 16 - 19 มิถุนายนนี้ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา ฮอลล์ 98 – 103 จำนวน 5 ฮอลล์ ด้วยพื้นที่การจัดงานประมาณ 1 หมื่นตารางเมตร
ทั้งนี้ รุ้งเพชร ชิตานุวัตร์ ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการ-ภูมิภาคอาเซียน อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ เปิดเผยถึงการจัดงานจัดแสดงสินค้า ProPak Asia ว่า
“ในปี 2563 ธุรกิจการจัดแสดงสินค้า หรือ ‘เอ็กซิบิชั่น’ ต้องเผชิญความท้าทายจากวิกฤติโควิด-19 ทำให้บรรดานักธุรกิจเดินทางข้ามประเทศมาร่วมงานไม่ได้ แต่ในช่วงต้นปี 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งคาดการณ์กันว่า สถานการณ์น่าจะเริ่มฟื้นตัวอีกครั้งช่วงมีนาคม ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของอุตสาหกรรมการจัดแสดงสินค้า และหลังจากที่ไทยควบคุมการระบาดในรอบใหม่ได้อาจได้เริ่มต้อนรับนักเดินทางในกลุ่มไมซ์ (MICE) อีกครั้งในไตรมาส 2 และ 3 ของปีนี้ เนื่องจากนักท่องเที่ยวกลุ่มธุรกิจมีความพร้อมที่จะเข้าถึงวัคซีนมากกว่านักท่องเที่ยวทั่วไป และการเจรจาธุรกิจยังต้องการการสื่อสารแบบ In-Person
สำหรับตัวแปรที่สำคัญของนักท่องเที่ยวกลุ่มธุรกิจที่จะมาร่วมงานในครั้งนี้มาจากการจองตัวเดินทางที่รัฐบาลในหลายประเทศกำหนดให้เป็นแบบ One Route – One Flight อีกทั้งในการเดินทางล้วนต้องเผชิญกับการกักตัวกับประเทศปลายทางอย่างประเทศไทยที่กำหนดไว้ 14 วัน แล้วเมื่อกลับประเทศตนเองเช่นจีนได้กำหนดให้กักตัว 21 วัน ทำให้นักธุรกิจที่จะมาร่วมงานต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มอีกประมาณ 8 หมื่นบาท ทำให้นักธุรกิจเหล่านี้ไม่อยากเดินทางและแม้จะมีการใช้วัคซีนพาสปอร์ต แต่สุดท้ายก็จะเป็นประเด็นทางด้านค่าใช้จ่ายอยู่ดี”
ในฐานะที่ ‘อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์’ เป็นผู้จัดงานธุรกิจการจัดแสดงสินค้า หรือเอ็กซิบิชั่นมาอย่างคร่ำหวอดทางบริษัทฯได้ปรับตัวและรูปแบบการจัดแสดงงานที่มีลักษณะผสมผสาน ได้แก่ การจัดงานนิทรรศการทั้งแบบ ‘ออนกราวด์ - ออนไลน์ - ไฮบริด’ โดย 5 หมวดที่ได้รับความสนใจในปี 2563 คือ หมวดออโตเมชั่น /Drives & Control, หมวดบาร์โค้ด, RFID, องค์เจ็ท, การพิมพ์และการทำฉลาก, หมวด Filling, หมวด Converting/การพิมพ์บรรจุภัณฑ์, หมวดวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์/บรรจุภัณฑ์สำเร็จรูป ส่วนกิจกรรมทางธุรกิจที่สำคัญ 5 กลุ่มคือ หมวดผู้ผลิตอาหาร, หมวดผู้ผลิตเครื่องดื่ม, หมวด Filling, หมวดบรรจุภัณฑ์อาหาร, หมวดผู้ผลิต/OEM/Contractor และกลุ่มนักธุรกิจที่เข้ามาเยี่ยมเยียนในงานมากที่สุด คือกลุ่มเจ้าของธุรกิจ และผู้บริหารระดับสูงถึง 29.89% รองลงมา คือ ฝ่ายจัดซื้อ (19.75%), ฝ่ายผลิต/ผู้จัดการโรงงาน (16.19%)
รุ้งเพชร กล่าวถึงการจัดงาน ProPak Asia 2021 ว่า “สำหรับปีนี้ ลักษณะการจัดงานยังคงเป็นแบบผสมผสานทั้ง แบบ ‘ออนกราวด์ - ออนไลน์ - ไฮบริด’ โดยบริษัทได้สร้างแพลตฟอร์มเพื่อให้นักธุรกิจได้พบปะแลกเปลี่ยนบนออนไลน์ ในรูปแบบ Virtual Event และ Hybrid Event รวมทั้ง Webinar โดยเนื้อหาที่จะนำมาเสนอเพื่อสัมมนาออนไลน์นั้น ทางบริษัทจะนำข้อมูลจาก Big Data ที่บริษัทมีถึง 3 แสนธุรกิจ เพื่อนำมาจัดเป็นเซ็กเม้นท์ตามกลุ่มธุรกิจ อาทิ ไก่สด เครื่องดื่ม อาหาร ผลไม้ ฯลฯ ทั้งนี้ เนื้หาต่างๆ ที่จะนำมาจัดสัมมนาจะจัดต่อเนื่องใน 3 สัปดาห์
ทั้งนี้ จากการสำรวจกับผู้ที่เคยเข้าร่วมงานเทรดโชว์พบว่า กว่า 50%เลือกการเข้าร่วมงานแบบ In-person แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการจัดงานแบบออนกราวด์และการเชื่อมโยงระหว่างบุคคล การจัดงาน ProPak ครั้งนี้จึงมุ่งสร้างประสบการณ์ดิจิทัลที่น่าประทับใจและเพิ่มรูปแบบการสื่อสารแบบ In-person ให้กับคู่ค้าต่างชาติ โดยเฉพาะในกลุ่มอาเซียน โดยได้จัดเตรียม Personal Assistant ที่มีความรู้ภาษาต่างๆ ไว้อำนวยความสะดวกในการเข้าชมนิทรรศการแบบไฮบริดและออนไลน์”
การจัดงาน ProPak Asia 2021 ปีนี้ได้ผสานการจัดงานทั้งสามรูปแบบ ได้แก่
ตัวอย่างหัวข้อ Webinar ชอง ProPak Asia 2021 ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ 9 มีนาคม 2564
https://www.propakasia.com/ppka/2021/en/press_dt.asp?id=1009
Sustainable Packaging
The Power of Packaging Design
Packaging Disruption and Game Changing Innovations
สำหรับแนวโน้มอุตสาหกรรมการจัดแสดงสินค้า รุ้งเพชร กล่าวว่า นอกจากการยกระดับมาตรการดูแลความปลอดภัย และควบคุมการระบาดแล้ว คาดว่า งานเทรดโชว์คงไม่มีการกลับไปแบบ Old Normal อีกแล้ว เพราะทุกงานจะพัฒนาให้มีความเป็นไฮบริดมากขึ้น มีการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีที่หลากหลาย เพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้เข้าชมงาน โดยเทคโนโลยีที่น่าจับตามองจะเข้ามามีบทบาทในธุรกิจนิทรรศการดังนี้
1.Digital Experience การส่งมอบประสบการณ์นอกจากจะทำในรูปแบบ Vi rtual Event และ Hybrid Event แล้วยังเป็นการสร้างประสบการณ์เชิงบวก และการสร้างความสัมพันธ์อย่างแน่นแฟ้น (Engagement) ทางออนไลน์กับผู้ร่วมงาน เพราะจากผลสำรวจพบกว่า 65% ของผู้เข้าชม และ 57% ของผู้จัดงานเชื่อว่า สื่อดิจิทัลจะยังมีบทบาทภายในงานอยู่อย่างแน่นอน แม้โรคระบาดจะหายไปแล้วก็ตาม ซึ่งไม่ใช่แค่ผู้จัดงานแสดงสินค้าเท่านั้น แต่แบรนด์ต่างๆ ทั่วโลกก็กำลังปรับตัวเพื่อสร้าง Digital Experience ในรูปแบบต่างๆ เช่น โชว์รูมดิจิทัล เป็นต้น
2. VR (Virtual Reality) หรือ ‘ประสบการณ์เสมือนจริง’ ซึ่งธุรกิจจัดแสดงสินค้าจะสามารถใช้ VR เพื่อสร้างภาพจำลองแบบ 3 มิติ อาทิ สาธิตการทำงานของเครื่องจักรในโรงงาน, จำลองการทำงาน และรูปแบบการผลิต, ช่วยอธิบายเรื่องที่ซับซ้อนให้เห็นเป็นภาพจำลองเข้าใจได้ง่ายๆ ซึ่งในงาน ProPak Asia ครั้งที่ผ่านมาก็เริ่มใช้ VR เพื่อสาธิตสินค้าและบริการเช่นกัน
3. AI และ Data เช่น การใช้ระบบจดจำใบหน้า (Facial Recognition) แทนการใช้ป้ายเข้างาน เพื่อลดขั้นตอนให้ผู้ที่ลงทะเบียนสามารถเข้าร่วมงานได้ทันที การใช้ข้อมูลติดตามจำนวนผู้เข้าชม ตลอดจนใช้ตรวจวัดความรู้สึก ความสนใจของผู้เข้าชม การใช้ระบบจดจำเสียง (Voice Recognition) เป็นเครื่องมือแปลภาษา เพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็ว และลดข้อจำกัดทางภาษาในนิทรรศการระดับนานาชาติ และค่าจ้างล่ามแปลภาษา จนถึงการใช้ AI ช่วยวิเคราะห์และจับคู่เจรจาธุรกิจให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ซึ่งงาน ProPak Asia จะใช้ข้อมูลของคู่ค้าทั้งในและต่างประเทศช่วยคัดกรองและจับคู่ด้วยระบบ AI เช่นกัน