เป๊ปซี่โคยึดถือนโยบาย “ผลงานดี สำนึกดี” ส่งเสริมการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน
22 Mar 2021

 

'น้ำ' คือปัจจัยสำคัญทั้งต่อการดำรงชีวิตและเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เป๊ปซี่โคจึงได้ส่งเสริมแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อสร้างความยั่งยืนในทุกมิติทั้งในกระบวนการผลิตและการเกษตรให้แก่พี่น้องเกษตรกรทุกคน 

 

นายปริญญา กิจจาธนพันธ์ กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่ม ประจำภูมิภาคเอเชีย และประธานกรรมการบริหารการพาณิชย์ ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เป๊ปซี่โค กล่าวว่า เป๊ปซี่โค ในฐานะผู้นำอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม บริษัทฯ ตระหนักดีถึงบทบาทสำคัญในการสร้างระบบห่วงโซ่อาหารอย่างยั่งยืน เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นวิสัยทัศน์อันกว้างไกลขององค์กรที่ว่าผลงานดี สำนึกดี (Winning with Purpose) โดยเป๊ปซี่โคมุ่งเน้นที่จะยกระดับบริษัทฯ ให้ดียิ่งขึ้นโดยการบูรณาการเป้าประสงค์นี้ผสานเข้าไว้กับการประกอบธุรกิจและผลิตภัณฑ์ของเรา นโยบายความยั่งยืนในด้านการบริหารจัดการน้ำ คือความพยายามที่จะยกระดับมาตรฐานการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ สำนึกรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป๊ปซี่โคได้ให้ความสำคัญกับการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำในธุรกิจของเราเน้นการใช้มาตรฐานการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบและความชำนาญของตนในการวางนโยบายและแนวปฏิบัติต่างๆ ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการช่วยรักษาลุ่มน้ำในชุมชน เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงทรัพยากรน้ำได้อย่างปลอดภัย

 

 

นายสุดิปโต โมซุมดา กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจอาหารอินโดจีน กล่าวว่า กว่า 25 ปีที่ผ่านมา เรามุ่งปรับปรุงประสิทธิภาพและพัฒนากระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำ ในปัจจุบันโรงงานเลย์ จังหวัดลำพูนและจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถบริหารจัดการทรัพยากรน้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามพันธกิจของเป๊ปซี่โค ทีจะลดการใช้น้ำของการดำเนินการผลิตให้ได้ 25% ภายในปี 2568 หลังจากที่ได้บรรลุการลดการใช้น้ำ 25% ไปแล้วในปี 2549 รวมถึงมุ่งเน้นด้านการปลูกฝังจิตสำนึกให้แก่พนักงานของเป๊ปซี่โคให้ตระหนักถึงการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างประหยัดและเกิดประโยชน์อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

ในภาคเกษตรกรรม บริษัทฯ มีเป้าหมายที่ชัดเจนในการที่จะส่งเสริมให้เกษตรกรไทยทำการเกษตรอย่างยั่งยืน มีคุณภาพชีวิตที่ดีและอยู่กับสิ่งแวดล้อมได้อย่างสมดุลตามพันธสัญญาการทำการเกษตรยั่งยืนของเป๊ปซี่โค ภายใต้การส่งเสริมสนับสนุนการใช้เทคโนโลยีช่วยในการพัฒนารูปแบบการปลูกด้วยระบบน้ำหยด คือการปลูกที่ให้น้ำและสารอาหารพืชในปริมาณที่เหมาะสม ช่วยให้เกษตรกรควบคุมทั้งปริมาณน้ำและสารอาหารที่พืชต้องการได้ ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรลดลงอย่างเห็นได้ชัด ผลผลิตต่อไร่มีปริมาณที่สูงกว่าค่าเฉลี่ยของแปลงปลูกมันฝรั่งทั่วไปเกือบ 2 เท่าและสามารถลดปริมาณการใช้น้ำได้ถึง 30%

และจากการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจและสังคมในช่วงที่ผ่านมา ได้ก่อให้เกิดการขยายตัวของพื้นที่เกษตรกรรม การใช้ทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ เพื่อการผลิตอย่างรวดเร็วและขาดการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะป่าต้นน้ำ เสื่อมโทรม จากการสนับสนุนของเป๊ปซี่โคผ่านมูลนิธิรักษ์ไทยตั้งแต่ปี 2556  จึงได้ริเริ่มโครงการ CSR ที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำและสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ภาคเหนือจากการดำเนินงานที่ผ่านมาเกษตรกรและชุมชนในพื้นที่ที่เราเข้าไปสร้างฝายปรับปรุงพัฒนาแหล่งน้ำต่างได้รับการบรรเทาปัญหาน้ำป่าไหลหลาก และมีน้ำเพียงพอในการทำการเกษตร อุปโภคและบริโภค เป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

 

 

โดยกิจกรรมมีความหลากหลายและปรับให้เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมในพื้นที่ อาทิ การสร้างฝาย การทำแผนการบริหารจัดการน้ำร่วมกับเกษตรกรผู้ปลูกมันฝรั่งและชุมชน 2556 เพื่อช่วยฟื้นฟูพื้นที่ป่าต้นน้ำและคืนความสมดุลให้กับระบบนิเวศในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทย โดยในปี พ.ศ. 2556-2558 ได้สร้างฝายชะลอน้ำทั้งแบบฝายแม้ว ฝายกึ่งถาวร จำนวน 500 ฝาย ในบริเวณป่าต้นน้ำแม่ตีบ จังหวัดลำพูน ปี พ.ศ. 2559-2560 ได้จัดทำแผนการบริหารจัดการน้ำ พร้อมสร้างฝายอีกเกือบ 500 ฝาย บริเวณป่าต้นน้ำแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ และปี พ.ศ. 2561-2562 เป๊ปซี่โค ประเทศไทย ได้ขยายพื้นที่ไปในอีก 3 ชุมชนในจังหวัดลำพูน เชียงรายและพะเยาเพื่อสร้างฝายมากกว่า 100 ฝาย และซ่อมแซมฝายปู่แซ ที่อำเภอทุ่งหัวช้าง จังหวัดลำพูน

 

และในปี 2563 จากการประมวลผลพบว่าหลังจากที่สร้างฝายเสร็จแล้วกลับเกิดภัยแล้งทำให้ไม่มีน้ำให้เก็บกักไว้ใช้ เราจึงตระหนักได้ถึงความสำคัญของป่าต้นน้ำที่เปรียบเสมือนฟองน้ำที่กักเก็บความชุ่มชื้น เป๊ปซี่โคจึงได้ริเริ่มกิจกรรม “PepsiCo Grow More สร้างป่า รักษ์น้ำ” เพื่อปลูกป่าต้นน้ำ ซึ่งมีการวางแผนการดำเนินงานไว้ประมาณ 3-5 ปี โดยได้ผนึกกำลังกับทั้งทางภาครัฐฯ ผู้ว่าราชการจังหวัดลำพูน สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 กลุ่มเกษตรกรชุมชนในพื้นที่ และที่สำคัญที่สุดคือนักวิชาการจากชมรมผู้รับพระราชทานทุนมูลนิธิอานันทมหิดล ซึ่งเป็นผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ที่มีการเติมสปอร์เห็ดเผาะให้กับกล้าไม้เพื่อสร้างความสัมพันธ์ของพืชและจุลินทรีย์ในกลุ่มเห็ดราตามธรรมชาติ เมื่อปลูกป่าไปได้สัก 2-3 ปีเห็ดที่มีราคาแพงก็จะงอกออกมาโดยที่ไม่จำเป็นต้องรอให้ต้นไม้โต ไม่ต้องเผาป่าหาเห็ดอีกต่อไป เป็นการปลูกป่าแบบผสมผสาน และด้วยศาสตร์แห่งพระราชาในการบริหารจัดการน้ำที่จะทำให้สามารถเพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำลำธารสีเขียว และลดปัญหาเรื่องการเผาป่าที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหาฝุ่น PM2.5 โดยความร่วมมือในครั้งนี้เกิดขึ้นได้เนื่องจากทางเป๊ปซี่โค ประเทศไทย และชมรมฯ มีพื้นที่เป้าหมายในบริเวณเดียวกัน ได้แก่ ชุมชนบ้านก้อ อ.ลี้ และชุมชนบ้านไม้สลี อ.ทุ่งหัวช้าง จ.ลำพูน

และในปีนี้ เป๊ปซี่โค ได้มอบเงินจำนวน 6 ล้านบาทแก่ มูลนิธิรักษ์ไทย  เพื่อดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม บริหารจัดการและฟื้นฟูทรัพยากรน้ำ อย่างต่อเนื่อง เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน นายสุดิปโต กล่าวเสริม

 

[อ่าน 1,460]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
Valentine’s Item! สมูทอีคอลแลปส์หลิง-ออม เปิดตัว “Smooth E x Ling-Orm Exclusive Valentine’s Box Set”
LPN มุ่งสู่องค์กรแห่งความยั่งยืน เดินหน้าสร้าง Carbon Neutrality
SCG ร่วมกับสภาอุตฯ ชวนผู้ประกอบการสัมผัสนวัตกรรม Low Carbon และเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม 4.0
ไฮเออร์ ประเทศไทย ยิ้มรับปี 68 กวาดรายได้ปี 67 โต 11,000 ล้านบาท
เอ็ม ดิสทริค จับมือพันธมิตรสร้าง มอบอภิมหาโปรโมชั่น ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีมะเส็งสุดยิ่งใหญ่
ORI โชว์พอร์ต Joint Venture พาร์ทเนอร์แกร่ง ตอกย้ำกว่า 7 ปี - 119 โครงการ - 1.86 แสนล้านบาท
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved