ภายใต้บริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทั้งปัจจัย ด้านเศรษฐกิจ การเมือง วัฒนธรรม เทคโนโลยี และด้านอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ทุกภาคส่วนต้องพร้อมตั้งรับ เพื่อปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ภาคธุรกิจเองนอกเหนือจากการต้องพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบโจทย์ผู้บริโภคแล้ว การจัดเตรียมกำลังพลในแง่ของทรัพยากรบุคคลก็เป็นความสำคัญลำดับต้นๆ ที่องค์กรควรนึกถึงเช่นกัน
นั่นจึงเป็นเหตุผลที่ AIS Academy ลุกขึ้นมามีบทบาทต่อภาคการศึกษาไทยอีกครั้ง ด้วยการมองไปที่บุคลากรต้นน้ำของระบบการศึกษาอย่างวิชาชีพครู จึงจับมือกับกระทรวงศึกษาธิการ และบุคลากรวงการศึกษาชั้นนำของประเทศ เพื่อเชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย พัฒนาหลักสูตรต่อยอดทักษะการออกแบบสื่อการเรียนการสอนยุคใหม่ให้สอดรับกับการศึกษาในยุคดิจิทัลแบบครบวงจรตั้งแต่ การวางโครงสร้างหลักสูตร เครื่องมือสื่อการสอน และการวัดประเมินผลผู้เรียน ในโครงการ “THE EDUCATORS THAILAND”
โดยโครงการ “THE EDUCATORS THAILAND” นับเป็นครั้งแรกที่ได้เปิดเวทีให้บุคลากรด้านการศึกษากว่า1,000 คน ทั้งจากภาครัฐ และเอกชน ไม่ว่าจะเป็น นักการศึกษา, ครูผู้สอน, บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกสอน มาเข้าร่วม Un Learn และ Re Learn ทักษะการสอน ผ่านหลักสูตรที่ถูกออกแบบและพัฒนาโดย AIS Academy ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรชั้นนำในวงการ ที่มีเนื้อหาในการพัฒนาทักษะ การสร้างนวัตกรรมการสอน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษายุคใหม่ให้สอดคล้องกับการบ่มเพาะนักเรียนยุค LFH ที่จะเป็นจุดเริ่มต้นของบุคลากรที่ร่วมสร้างประเทศในอนาคตจนท้ายที่สุดจะได้มาซึ่งผลงานจากผู้เข้าร่วมโครงการในลักษณะต้นแบบของสื่อการสอนที่จะสามารถนำไปต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อภาคการศึกษาในปัจจุบันและอนาคต
ดร. ดิศกุล เกษมสวัสดิ์ เลขาธิการคุรุสภา กล่าวว่า “ด้วยวิสัยทัศน์ของคุรุสภาคือการเป็นองค์กรที่มุ่งสนับสนุน พัฒนาวิชาชีพครู และบุคลากรทางการศึกษาให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มีศักยภาพเพื่อส่งต่อองค์ความรู้ใหม่ๆ ให้คุณภาพของการศึกษาไทยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการจะทำให้แนวทางดังกล่าวสัมฤทธิ์ผลได้นั้นต้องเกิดจากความตั้งใจและความร่วมมือของหลายภาคส่วนทั้งรัฐ และเอกชน อย่างการทำงานร่วมกับ AIS ก็เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นที่ดีในการนำเอาเทคโนโลยีรวมถึงองค์ความรู้ใหม่ๆ ด้านดิจิทัลมาเสริมทักษะให้กับบุคลากรทางการศึกษา ในยุคที่เราทุกคน และครูทุกคน ไม่ว่าจะรุ่นเก่า หรือรุ่นใหม่ ก็ต้องเรียนรู้ที่จะใช้เครื่องไม้เครื่องมือรวมถึงสื่อการสอนแบบใหม่ๆ เพื่อให้การจัดการเรียนการสอนตอบโจทย์และช่วยพัฒนาผู้เรียนได้อย่างแท้จริง สอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ ในหลายเรื่องทั้งการส่งเสริมแหล่งเรียนรู้และนวัตกรรมเพื่อการประกอบวิชาชีพอย่างมีคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาองค์ความรู้ใหม่ๆ เพื่อพัฒนาการสอนให้มีคุณภาพภายใต้สถานการณ์ปัจุบัน”
สมชัย เลิศสุทธิวงค์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร AIS กล่าวถึงที่มาของโครงการ THE EDUCATORS THAILAND ว่า
“AIS มองเห็นผลกระทบที่เกิดจากสถานการณ์ COVID-19 ไม่ใช้แค่ในมุมของเศรษฐกิจ สังคม แต่ภาคการศึกษาก็ได้รับผลกระทบไม่แพ้กัน ห้องเรียนถูกปรับมาเป็นแบบออนไลน์เกือบ 100% ทำให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาต้องปรับตัวเข้ามาเทคโนโลยีดิจิทัล ซึ่งแน่นอนว่า ความไม่คุ้นชินกับชีวิตวิถีใหม่ย่อมส่งผลให้ต้องมีการปรับตัว ดังนั้น AIS ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มุ่งมั่นนำเอาศักยภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลไปยกระดับการทำงานของภาคส่วนต่างๆ เพื่อส่งเสริมให้คุณภาพชีวิตของคนไทยดีขึ้น จึงตั้งใจที่จะเข้ามาร่วมเชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย สนับสนุนภาคการศึกษา ที่ถือว่าเป็นหัวใจหลักของการบ่มเพาะ “คน” ที่จะเป็นพลังของสังคมต่อไป”
“ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราเชื่อว่าท่ามกลางบริบทของสังคมที่เปลี่ยนไปในทุกด้านบุคลากรจะต้องมีการพัฒนาทักษะ เสริมองค์ความรู้ ติดอาวุธใหม่ตลอดเวลา จึงเป็นที่มาของการจัดตั้ง AIS Academy เพื่อเป็นศูนย์กลางของการรวบรวมองค์ความรู้ทั้งเพื่อภายในองค์กรเอไอเอส จนถึงร่วมคิดเผื่อให้แก่ประเทศไทยด้วยผ่านการจัดกิจกรรมต่างๆมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการยกระดับภาคการศึกษาของไทยให้ก้าวทันโลกแห่งการเปลี่ยนแปลงด้วยศักยภาพของดิจิทัลเทคโนโลยี ดังเช่นโครงการ “THE EDUCATORS THAILAND”
กานติมา เลอเลิศยุติธรรม หัวหน้าคณะผู้บริหารด้านทรัพยากรบุคคล กลุ่มบริษัท AIS และกลุ่มอินทัช กล่าวเสริมว่า
“ภารกิจคิดเผื่อ เพื่อคนไทย ของ AIS Academy ยังคงเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการยกระดับการเรียนรู้ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ วันนี้บริบทภาคการศึกษามีการปรับเปลี่ยนไปค่อนข้างมากการจะพัฒนาระบบ ต้องเริ่มจากการพัฒนาศักยภาพของคนเวที THE EDUCATORS THAILAND จึงเกิดขึ้น ด้วยความตั้งใจของเราคือการนำเอาทักษะ องค์ความรู้ใหม่ๆ รวมถึงศักยภาพความเป็นผู้นำด้านดิจิทัล เทคโนโลยี เข้ามาช่วยผลักดันตามแนวทางที่ AIS Academy เดินหน้าเรื่อง EdTech มาตลอด เพื่อช่วยพัฒนาให้เหล่าบุคลากรทางการศึกษา ครูอาจารย์ผู้ที่สมัครเข้าร่วมโครงการ ได้ร่วมสร้างความแข็งแกร่งและนำศักยภาพการศึกษาโดยการพัฒนาวิธีการสอน และเสริมทักษะการสร้างสรรค์ผลงานสื่อการสอน ภายใต้แนวคิด “มากกว่าความเป็น…ครูผู้สอน นวัตกรรมการสอนของครูไทยในอนาคต”
THE EDUCATORS THAILAND
“มากกว่าความเป็น…ครูผู้สอน นวัตกรรมการสอนของครูไทยในอนาคต”
โดยได้ทำงานร่วมกับกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา คณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิระดับประเทศ พัฒนาหลักสูตรผ่านการเรียนรู้แบบออนไลน์ บนแพลตฟอร์ม LearnDi พร้อมกิจกรรมกระบวนการพัฒนาผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ Professional Learning Community (PLC) ทั้งภาคทฤษฏีและเรียนรู้จากประสบการณ์ผ่านกิจกรรมออนไลน์ THE EDUCATORS THAILAND จะเป็นอีกหนึ่งโครงการที่จะปลุกพลังของภาคการศึกษา บุคลากร และครูไทย ที่จะมาร่วมเปลี่ยนหน้าตากระบวนทัศน์การศึกษาในยุคดิจิทัลให้มีความสามารถอย่างไร้ขีดจำกัด โดย AIS จะเดินหน้าใช้ความแข็งแกร่งของเราที่จะเชื่อมต่อ ช่วยเหลือ เพื่อครูไทย ไปพร้อมกับคนไทย”
เนื้อหาหลักสูตร
หลักสูตรของโครงการ 'THE EDUCATORS THAILAND' ได้ถูกออกแบบ และพัฒนาโดย 'AIS Academy' ร่วมกับสำนักงาน เลขาธิการคุรุสภา กระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วยบุคลากรชั้นนำ ในวงการ ที่มีเนื้อหาในการพัฒนาทักษะ การสร้างนวัตกรรมการสอน เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภาคการศึกษายุคใหม่ ซึ่งมีเนื้อหาภาคทฤษฎีทั้งหมด 5 หลักสูตร ได้แก่
ซึ่งเป็นหลักสูตรเฉพาะ ผู้ที่เข้าร่วมโครงการ THE EDUCATORS THAILAND เท่านั้น โดยจะได้เรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์บนแพลตฟอร์ม LearnDi และ เมื่อผู้เรียนผ่านการอบรมหลักสูตร จะได้รับใบประกาศนียบัตร และ Digital Credential Badge จาก AIS Academy ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคุณวุฒิระดับสากล
นอกจากนี้ โครงการฯ ยังมีเวิร์คช๊อปการผลิตสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนรู้ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการได้มีโอกาสในการฝึกฝนการผลิตสื่อการสอน และเตรียมความพร้อมในการผลิตผลงานในการแข่งขัน
กำหนดการโครงการฯ
หมายเหตุ : กำหนดการ วัน เวลา และสถานที่ อาจมีการเปลี่ยนแปลง และจะแจ้งให้ทราบอีกครั้งแก่
ผู้สมัคร/ผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ
ณ เฟสบุ๊คกลุ่มโครงการฯ : https://www.facebook.com/groups/educatorsthailand
คุณสมบัติผู้สมัคร หรือ ผู้ส่งผลงาน
1. เป็นนักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีที่ 4-5 หรือนักศึกษาฝึกสอน ในทุกกลุ่มสาระวิชา และในทุกหน่วยงานการศึกษา อาทิ
2. เป็นนักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาและนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีที่ 4-5 หรือนักศึกษาฝึกสอน ที่มีผลงานวิชาการ ด้านสื่อนวัตกรรมการสอนในรูปแบบคลิปวิดีโอ ที่นักเรียนสามารถดูและศึกษาได้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นผลงานที่สร้างสรรค์ด้วยตนเอง
3. มีสถานะเป็น นักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรด้านการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูปีที่ 4-5 หรือนักศึกษาฝึกสอนในหน่วยงานการศึกษา, โรงเรียน, วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย ณ วันที่สมัคร, วันที่ทำกิจกรรมฯ วันที่ประกาศผล และวันที่รับรางวัล โครงการนำเสนอผลงานวิชาการ THE EDUCATORS THAILAND
**ผู้สมัคร-ผู้ส่งผลงาน หมายถึง นักการศึกษา ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษาทุกสังกัด และนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู ปีที่ 4 - 5 หรือนักศึกษาฝึกสอน
รายละเอียดการสร้างสรรค์ผลงาน
1. ผลงานอยู่ในรูปแบบคลิปวิดีโอ ภายใต้แนวคิด “มากกว่าความเป็น...ครูผู้สอน “นวัตกรรมการสอนของครูไทยในอนาคต”
2. ผลงานที่ส่งต้องแนบเอกสาร “แผนการสอน” หรือ “หลักสูตร” เพื่อการพิจารณาของคณะกรรมการฯ
3. คลิปวิดีโอโดยผู้สมัคร-ผู้ส่งผลงาน ต้องดำเนินการสอนและผลิตด้วยตนเอง และต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของบุคคลอื่น รวมถึงต้องไม่มีข้อจำกัดด้านทรัพย์สินทางปัญญาในการเผยแพร่ผลงาน
4. คลิปวิดีโอ : ความยาวรวม Title และ End Credit พร้อมรูปแบบ คณะกรรมการฯ จะแจ้งให้ทราบภายหลังการสมัคร และเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ โครงการฯ
5. ไม่จำกัดรูปแบบ และเทคนิคการถ่ายทำ
6. องค์ประกอบที่ใช้ในการผลิตผลงาน เช่น ผู้สอน ภาพวิดีทัศน์ที่ใช้, ภาพประกอบ, ภาพกราฟฟิก, เพลงและดนตรีประกอบ หรืออื่นๆ ต้องได้รับสิทธิมาโดยถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และต้องไม่เข้าข่ายการกระทำอื่นใดที่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ.2550 และพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 หากตรวจสอบพบภายหลัง จะถือว่าผลงานดังกล่าว เป็นโมฆะ และจะต้องส่งรางวัลที่ได้รับคืนทั้งหมด ทั้งนี้ โครงการฯและคณะกรรมการโครงการฯ ตลอดจนผู้จัดทำโครงการฯ ไม่มีส่วนรับผิดชอบในการกระทำของผู้ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการฯ
7. ผลงานที่ส่งเข้าร่วมโครงการฯ ผู้สมัคร-ผู้ส่งผลงาน ต้องผลิตผลงานขึ้นเอง โดยมิได้ลอกเลียน ดัดแปลง หรือ ตัดต่อมาจากผลงานของบุคคลอื่นและต้องไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาใดๆ ของบุคคลอื่น