AIS เดินหน้าปั้น AIS 5G Eco-System สร้างโอกาส เชื่อมไอทีกับทุกภาคอุตสาหกรรม
16 Aug 2021

 

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี 5G ต้องยอมรับว่า เอไอเอส หรือ บมจ. แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส เป็นค่ายที่มีคลื่นความถี่ที่ครอบคลุมที่สุด ทั้ง Low Band 700 MHz - 30 MHz, Mid Band 2600 MHz - 100 MHz และ High Band 26 GHz - 1200 MHz อีกทั้งมีเครือข่ายครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศ รวมทั้งพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นชัยภูมิสำคัญอีกกว่า 95%ก้าวต่อๆ ไป ของ เอไอเอส อีกทั้งเป็นก้าวที่ต้องเร่งแข่งกับเวลาในสถานการณ์โควิด-19 ที่มีทั้งมาตรการล็อกดาวน์และการรักษาระยะห่างทางสังคมนั้นส่งผลกระทบการทำงานของภาคอุตสาหกรรมครั้งใหญ่ ทำให้เอไอเอส มุ่งนำศักยภาพของเทคโนโลยี AIS 5G มาช่วยเสริมประสิทธิภาพและยกระดับให้กับภาคอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย 

 

 

ความท้าทายของภาคอุตสาหกรรม

ความเปลี่ยนแปลงกับสรรพสิ่งล้วนมีความท้าทาย ไม่เว้นแม้แต่ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ

ทั้งนี้  ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย หัวหน้าคณะผู้บริหาร กลุ่มลูกค้าองค์กร AIS Business ได้กล่าวถึงความท้าทายที่โรงงานอุตสาหกรรมไทยจะต้องก้าวข้ามให้ได้ เพื่อสู่การเป็น Smart Factory ว่า ประกอบด้วย

1) Mindset ชุดความคิดของผู้บริหารหรือผู้คนที่มักจะสกัดกั้นความเปลี่ยนแปลง หรือการลองทำสิ่งใหม่ๆโดยอัตโนมัติตามธรรมชาติ เช่น ทำไม่เป็น หรือการปฏิเสธการใช้เทคโนโลยีใหม่ เพราะคิดว่า เป็นแค่โรงงานเล็กๆ ทำไมจะต้องใช้ขนาดนี้ด้วย ฯลฯ

2) People ปัญหาขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนบุคลากรเองก็ไม่มีความรู้ความเข้าใจที่จะใช้หรือประยุกต์เทคโนโลยีเหล่านี้

3) Fund ในส่วนของเงินทุนนี้ นับว่า ระบบในปัจจุบันกลับเอื้อกับธุรกิจต่างๆ มากขึ้น ทำให้ธุรกิจต่างๆ สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ ด้วยคอนเซ็ปท์ของ Pay per Use, Cloud ฯลฯ ทำให้ลูกค้าสามารถจ่าย Cost to Income Ratio (ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเทียบกับสัดส่วนรายได้) ได้ดีขึ้น โดยไม่ต้องลงทุนซื้อระบบ, ซื้อฮาร์ดแวร์ด้วยตนเองทั้งหมด และปัจจุบันกลายเป็นบริษัทเล็กๆ ที่กล้าตัดสินใจดำเนินการได้เร็วกว่าบริษัทใหญ่ๆ

4) Starting Point จุดเริ่มต้นของความเปลี่ยนแปลง (Transform)ตนเองนั้นขึ้นอยู่กับการเริ่มต้นและการวางโจทย์ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงอาจเริ่มที่ความเรียบง่าย ไม่ซับซ้อนได้ก่อน เช่น การควบคุมการทำงานด้วยระบบอัตโนมัติ (Automated System) หรือเป็นการเข้าทำงานในโรงงาน ด้วยระบบทำงานระยะไกล (Remote Working System)ฯลฯ ไม่จำเป็นต้องถึงกับใช้เทคโนโลยีระดับซูเปอร์ไฮเทคกันทั้งหมด เพียงแต่ควรจะเริ่มจากตัวเราแล้วขยายวงออกไป โดยอาจจะเริ่มจากธุรกิจหลัก (Core Business) ของเราแล้วขยายตัวออกไป

5) Strategic Alliance ธุรกิจจะต้องมองหาพันธมิตรเชิงยุทธศาสตร์ที่ไว้ใจได้ เชื่อใจได้ และมีฝีมือ สามารถที่จะช่วยให้ธุรกิจของตนเองเปิดรับ (Adopt) เทคโนโลยีได้ ซึ่งเทคโนโลยีต่างๆ ก็มีพัฒนาการมาเรื่อยๆ

 

เมื่อนำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีของพันธมิตรผสานกับองค์ความรู้ในธุรกิจนั้นๆที่เจ้าของธุรกิจย่อมมีความรู้ในอุตสาหกรรมของตนเองดีอยู่แล้วนี่จึงเป็น Wisdom และ Solution

 

บทบาทของ เอไอเอส

ธนพงษ์กล่าวถึงบทบาทของ AIS Business เพื่อยกระดับอุตสาหกรรมไทยว่า

"สำหรับเอไอเอสเอง เราเน้นที่การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาขับเคลื่อนเศรษฐกิจดิจิทัลในประเทศไทยเพื่อช่วยให้ลูกค้าเปลี่ยนผ่าน​(Transform) อย่างไรก็ตามต้องเข้าใจด้วยว่าเอไอเอสก็ไม่มีเจ้าของเทคโนโลยีในทุกๆ ด้าน เพราะในโลกใหม่นี้ไม่มีใครรู้ทุกเรื่อง เก่งทุกเรื่อง ดังนั้น เราจึงต้องจับมือและขับเคลื่อนร่วมกับพันธมิตรต่างๆ ที่มีความเชี่ยวชาญอย่างจริงจัง เพื่อทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดการกระจายโซลูชั่นที่จะค่อยๆ เป็นวิวัฒนาการแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่ใช่การเปลี่ยนแปลงแบบปุบปับราวกับการปฏิวัติ

 

แล้วเมื่อนำองค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีของพันธมิตรกับองค์ความรู้ในธุรกิจนั้นๆ ที่เจ้าของธุรกิจย่อมมีความรู้ในอุตสาหกรรมของตนเองดีอยู่แล้ว นี่จึงเป็นWisdom (ภูมิปัญญา, ความรอบรู้) และSolution (ทางออกของปัญหา) ไม่มีอะไรที่สำเร็จรูปไปเสียทั้งหมด แม้จะมีสำเร็จรูปบ้าง ฉะนั้น เจ้าของธุรกิจซึ่งรู้จักอุตสาหกรรมของตนเองดีอยู่แล้วก็ย่อมจะทราบว่า เทคโนโลยีอะไรที่จะตอบโจทย์และแก้ปัญหาให้กับตนเองได้ เช่นในสายการผลิตที่มีอัตราความผิดพลาด 15% ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ทำอย่างไรจึงจะทำให้อัตราความผิดพลาดลดลงอีก 5% ก็นำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยได้ ซึ่งอาจจะไม่ต้องซื้อกล้อง 4K มาจับความผิดพลาด แต่เป็นการพัฒนากระบวนการทำงานใหม่ (Re-Process) เพื่อป้องกันปัญหาแล้วนำสินค้าที่ผลิตผิดพลาดมาใช้ใหม่ (Re-Use) ฯลฯ

 

นี่คือประเด็นที่ว่า หากธุรกิจปรับตัวได้ก็จะสามารถอยู่รอดได้ แต่ทั้งนี้ ธุรกิจก็จะต้องเปิดใจรับอะไรใหม่ๆ ไม่ใช่คิดไปก่อนว่า สิ่งนี้ทำยาก นี่ไม่ใช่ลูกค้าของเรา หรือราคานี้ถูกไป ฯลฯ แต่คู่แข่งของเราเดินหน้าไปกันแล้ว ดังนั้น การที่มี End-to-End Solution จึงเป็นการตอบโจทย์  ขณะเดียวกัน ทางเอไอเอสก็ผลักดันการพัฒนาบุคลากรของเราเองด้วย โดยให้พันธมิตรของเราฝีกอบรมบุคลากรของเรา เพื่อที่จะอยู่แนวหน้าและทำหน้าที่ได้ตามพันธกิจ เพื่อสนับสนุนลูกค้าของเรา และพยายามทำให้ลูกค้าสามารถปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองได้อย่างรวดเร็วขึ้น ครบถ้วน หลากหลาย End-to-End รวมถึงการให้บริการด้วยบุคลากรที่มีความเป็นมืออาชีพ"

 

 

ต่อยอด 5G Vertical & Horizontal  

ดังได้กล่าวมาแล้วว่า พัฒนาการของ 5G โดยเฉพาะในส่วนของเอไอเอสนั้นได้ผ่านระดับพื้นฐานและการลงทุนทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมาแล้ว นับจากนี้ โฟกัสของ AIS Business จึงเป็นการต่อยอดเพื่อเติมเต็มในส่วนของ 5G Vertical & Horizontal ทั้งนี้  ธนพงษ์กล่าวว่า

"ในส่วนของโครงสร้างพื้นฐาน ของ 5G (5G Infrastructure) กล่าวได้ว่า เอไอเอสลงทุนทางด้านเทคโนโลยี 5G เป็นรายแรกๆ ของประเทศไทย โดยโฟกัสกับการวางแผนรากฐาน ซึ่งขณะนี้ก็ครอบคลุม 77 จังหวัดทั่วประเทศแล้ว รวมทั้งครอบคลุมพื้นที่ EEC มากกว่า 95% และปัจจุบันเรามีคลื่นความถี่ครอบคลุมมากที่สุดแล้ว ซึ่งเอไอเอสมีคลื่นความถี่หลากหลายจึงทำให้ลูกค้าสามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของการใช้งาน ดังนี้

  • Low Band 700 MHz - 30 MHz คลื่นความถี่ต่ำ พื้นที่ครอบคลุม (Coverage) จึงมีความกว้างของสัญญาณมาก แต่มีปริมาณการดาวน์โหลด (Capacity) น้อยมาก จึงเหมาะกับการใช้งานด้าน IoT เนื่องจากอุปกรณ์ IoT มีขนาดเล็ก จึงใช้ปริมาณข้อมูลในการรับส่งน้อย
  • Mid Band 2600 MHz - 100 MHz เคลื่นความถี่กลางที่มีพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณไม่มากไม่น้อยเกินไปและมีปริมาณการดาวน์โหลดที่เหมาะสมต่อการใช้งาน ทำให้เหมาะกับการใช้งานของลูกค้าทั่วไป ซึ่งคลื่นความถี่ย่าน 2600MHz ควรมีปริมาณคลื่นอย่างน้อย 100 MHz เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • High Band 26 GHz - 1200 MHz คลื่นความถี่สูงที่มีพื้นที่ครอบคลุมสัญญาณน้อยมาก แต่มีปริมาณการดาวน์โหลดมหาศาลสามารถส่งผ่านข้อมูลจำนวนมหาศาลในระยะเวลาที่รวดเร็ว

 

ในส่วนของพัฒนาการ 5G ซึ่งจะต้องต่อยอดกันไปทั้ง Vertical & Horizontal นั้น ธนพงษ์กล่าวว่า

"สำหรับ 5G Horizontal Solutions นั่นคือ AR/VR, AI (Artificial Intelligent), Video Analytics, Robotics, 5G Vertical Solutions ซึ่งเป็นโซลูชั่นที่สามารถประยุกต์ได้กับทุกอุตสาหกรรม ยกตัวอย่างเช่น ช่วงโควิด-19 เราได้จับมือกับ DoCoMo ญี่ปุ่น ด้วยการทำ Remote Assistant ด้วยการใช้ 5G ทำให้คนที่อยู่ทางไกลสามารถทำงานเสมือนอยู่ On-Site, Machine Vision การใช้กล้องเพื่อจับภาพ ความหน่วงต่ำ เพื่อจับภาพ, จับอุปกรณ์, ทำคิวซี หรือการทำ Video Analytics Streaming แบบเรียลไทม์ ซึ่งเป็น 5G Horizontal ที่สามารถนำไปใช้งานกับแต่ละ 5G Vertical 

 

 

ขณะที่ 5G Vertical Solutions เมื่อมองในแต่ละอุตสาหกรรม อาทิ การผลิต, การขนส่ง, รีเทล, โลจิสติกส์ ฯลฯ ซึ่งหากเรานำเอาสิ่งต่างๆ เหล่านี้มาประยุกต์ให้เหมาะสมกับแต่ละ 5G Vertical เช่น การใช้โดรนบินเพื่อสแกนสิ่งของแทนแรงงานคนจด หรือใช้อุปกรณ์ไปสแกน เมื่อได้ภาพ Video Analytics ก็สามารถอัพเดทข้อมูลได้แบบเรียลไทม์ หรือตัวอย่างธุรกิจที่เพิ่งเปิดตัวกันไม่นานนี้ เช่น

 

ออมรอน (OMRON) พันธมิตรที่มีความแข็งแกร่งด้านวิศวกรรมบนระบบอัตโนมัติและหุ่นยนต์อุตสาหกรรมเพื่อการผลิต ที่เราเปิดดัวไปเป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสาร ประยุกต์การเชื่อมต่อเทคโนโลยีการผลิต ผนวก Information Technology (IT) กับ Operation Technology (OT) อย่างไร้ขีดจำกัด และจะได้ร่วมกันสร้างโซลูชั่นใหม่ ยกระดับภาคการผลิตสู่การเป็น Smart Manufacturing อย่างสมบูรณ์ เพิ่มคุณภาพ ลดต้นทุนการผลิต บนโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล AIS 5G ที่มีออกแบบได้ตามความต้องการใช้งานในรูปแบบเครือข่ายเฉพาะ (Private Network) เพิ่มคุณสมบัติด้านความปลอดภัยของข้อมูล เพิ่มความเร็ว ลดความหน่วง (Latency) เพื่อการรองรับการทำงาน IoT ได้อย่างเต็มรูปแบบโดยได้นำมาทดสอบและใช้ได้จริง เป็นสายการผลิตที่มีความยืดหยุ่น (Flexible) เนื่องจากไม่ต้องลากสาย ทำให้สามารถวางอุปกรณ์ที่ไหนก็ได้ ทำให้ลูกค้าสามารถวางเลย์เอาท์สายการผลิตได้อย่างอิสระมากขึ้น นอกจากนี้ ยังใช้กับ AMR (Autonomous Mobile Robots) ซึ่งตัวอย่างง่ายๆ ของการใช้งาน เช่น ฐานของการส่งของ จากแต่เดิมที่ต้องขีดเส้นให้มันทำงานแล้วควบคุม แต่เมื่อไม่มีสาย ดังนั้น การใช้งานของ AMR จึงง่ายขึ้นโดยใช้สัญญาณเซนเซอร์เป็นตัวจับ

 

 

หรืออีกตัวอย่างที่เพิ่งเปิดตัวไปอย่างการจับมือของเอไอเอสกับ บริษัท มิตซูบิชิ อีเล็คทริค แฟคทอรี่ ออโตเมชั่น (ประเทศไทย) จำกัด และ บริษัท ทีเคเค คอร์ปอเรชั่น จำกัด ซึ่งเป็นการทำงานนอกโรงงาน และเป็นการทำงานทางไกลทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็น Remote Monitoring เพื่อตรวจสอบสถานะการผลิต/สถานะเครื่อง/ประสิทธิภาพการผลิตได้จากทุกที่ มองเห็นปัญหาในภาพรวมเพื่อแก้ไขต่อไป, Remote Maintenance สามารถลดระยะเวลาการเข้าหน้างานไปซ่อมบำรุงรักษา/ตรวจสอบการทำงานเครื่องจักร จากที่บ้านได้ ทำให้ลดต้นทุนค่าเสียโอกาสที่สายการผลิตจะต้องหยุดลง, Remote Development – เพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภาพรวมในการประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ภายในโรงงาน/ระหว่างแผนกได้อย่างต่อเนื่อง โดยทำงานจากที่ไหนก็ได้, Remote Service – บริการให้คำปรึกษาแบบทางไกลได้ทันทีผ่าน Mobile Network 

 

นอกจากนี้เอไอเอส ก็ยังมีกรอบการทำงานด้าน Idealization เพื่อร่วมกันศึกษาและคิดค้นด้วยกันกับลูกค้าแต่ทั้งนี้ ต้องมีจุดเริ่มต้นจากลูกค้ามาก่อนเพื่อร่วมกันพัฒนา สำหรับปีนี้จะเป็นปีแห่งการทำโครงการนำร่อง ตลอดจนการใช้เทคโนโลยีต่างๆ อย่าง Private Network เป็นต้น แล้วค่อยๆ พัฒนาออกไป"

 

 

เกณฑ์การคัดเลือกพันธมิตร

จากการที่เอไอเอสมุ่งหาโซลูชั่นที่สามารถใช้งานได้จริง ต้องตอบโจทย์และสามารถสร้างแต้มต่อ รวมทั้งมูลค่าเพิ่มให้กับองค์กรได้ ดังนั้น การมองหาพันธมิตรก็เป็นยุทธศาสตร์ที่จะเติบโตร่วมกัน หากมีการแชร์ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญให้เป็นเกิดเป็นพลังผนึก (Synergy) เพื่อสร้างโอกาส และความสามารถทางการแข่งขัน ทั้งนี้ นพงษ์เปิดเผยว่า พันธมิตรของ AIS Business นั้นมีหลายระดับ นับแต่สตาร์ทอัพราว 30-50 รายที่เอไอเอสให้การสนับสนุน, พันธมิตรในกลุ่มของ Solution Providerในประเทศ รวมทั้งผู้เล่นในระดับโลก(Global Player) ซึ่งในแต่ละเซ็กเม้นท์ก็จะมีพื้นที่ให้เล่นในระดับที่แตกต่างกันไป    

ธนพงษ์กล่าวว่า "พันธมิตรที่เราคัดสรรจะต้องมีความตั้งใจจริงๆ ที่จะลงทุนในประเทศไทย  มีการสนับสนุนทางด้านบริการ (Service Support) มีความเป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยี และมีวิสัยทัศน์ - โรดแมปที่สอดคล้องกัน ตลอดจนการพิจารณาถึงโจทย์ทางด้านธุรกิจในประเทศไทย ทั้งนี้ เราก็จะมีการศึกษากับลูกค้าตลอดเวลา เพื่อให้ทราบว่า แนวทางและโซลูชั่นจะเป็นอย่างไร แพลตฟอร์มและโซลูชั่นจะเป็นอย่างไร เพื่อนำเข้ากรอบการทำงาน (Framework) เพื่อเข้ากระบวนการ Co-Invest, Idealization สำหรับการสร้างโซลูชั่นออกมา ซึ่งต้องเป็นโซลูชั่นที่มีดีมานด์และมีความสามารถที่จะให้บริการในประเทศไทยได้ นอกจากนี้ โซลูชั่นจะต้องสามารถทำเพิ่มเติมได้อีก (Replicate) ได้ ซึ่ง Replicate ในที่นี้หมายถึงต้องเป็นโซลูชั่นที่สามารถสเกลได้ เพราะการเปลี่ยนผ่าน (Transformation) หลายครั้ง ในขั้นตอนของ POC (Proof of Concept) ผ่าน แต่ในขั้นตอนของ POS (Proof of Scale) ไม่ผ่าน นอกจากนี้ เราก็เน้นโซลูชั่นที่จะสามารถเอื้อกันได้ และสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้ในแง่ของ 5G และการเป็นผู้นำทางด้านเทเลคอม ผมยังเน้นว่า 1+1=11 ซึ่งจะทำให้เอไอเอสมีความแข็งแกร่งมากขึ้นเมื่อมี Global Player มีโซลูชั่นที่แข็งแรงและกล้าลงทุนในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ต้องบอกว่า เรายังคงต้องคัดสรรพันธมิตรเพิ่มเติมไปเรื่อยๆ ซึ่งตอนนี้ก็ยังไม่ครอบคลุมและคิดว่า คงใช้เวลาอีกหลายปี เพราะแต่ละกลุ่มอุตสาหกรรมมีระยะเวลาของตนเองที่แตกต่างกัน อย่างการผลิตจะมีการตื่นตัวระดับต้นๆ รวมทั้งกลุ่มเฮลธ์แคร์ รีเทล กลุ่มมีเดียและบรอดคาสต์ที่มีการเปิดรับมากขึ้น ขณะที่กลุ่มพลังงานก็อาจจะช้ากว่า"

 

[อ่าน 3,217]
ข่าวที่เกี่ยวข้อง
SCB EIC ชี้อุตสาหกรรมยานยนต์ไทย จะผ่านจุดต่ำสุดช่วงครึ่งหลังของปีหน้า
Seamless Living, One Tap Away: How Meituan Powers the Lazy Lifestyle
สร้าง Personal Branding อย่างไรให้ปัง
Technology: The Ultimate Life-Hack or The Ultimate Laziness Trap ?
Freshket: The Lazy Entrepreneur's Best Friend for Restaurant Success!
เจาะลึกบทบาทผู้ผลิตไฟฟ้า เมื่อโลกเกิดภัยพิบัติ
MAGAZINE UPDATE
Owner
DOUBLE D CREATION Co.,Ltd.
เอเวอร์กรีนวิว ทาวเวอร์ ชั้น 4
เลขที่ 22/43 ซอยบางนา-ตราด 56 ถนนบางนา-ตราด
แขวงบางนา เขตบางนา กรุงเทพมหานคร 10260
Tel : 0-2751-4995-6
Mobile : 062-194-4561
Advertising
ติดต่อโฆษณา และ การตลาด
คุณศุภากร ยาตพงศ์ (บู)
Mobile : 08-1355-3636
Tel : 0-2751-4995-6
E-mail : market-plus@hotmail.com
info@marketplus.in.th
PR News
ส่งข่าวประชาสัมพันธ์
E-mail : info@marketplus.in.th,
market-plus@hotmail.com,
marketplus@hotmail.co.th
Copyright © 2016 DOUBLE D CREATION Co.,Ltd. All rights Reserved